นิตยสาร “ทางอีศาน” ฉบับที่ ๘๐
ปีที่ ๗ ประจำเดือนธันวาคม ๒๕๖๑
นิตยสารรายเดือนของชาวอีสานและคนไททุกภูมิภาค
ลึกซึ้งรากเหง้า เข้าใจปัจจุบัน รู้ทันอนาคต
รูปทรงทันสมัยของอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ ได้ใจนักเดินทางให้ต้องแวะชม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์
ไม่ไป ไม่ผิด แต่น่าเสียดาย
เรื่องและภาพ : ธีรภาพ โลหิตกุล
อิสตรีรูปโฉมโนมพรรณดีปานใด ทว่าแต่งกายไร้รสนิยม ย่อมไม่ชวนชมฉันใด พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นงามล้ำเลอค่า แต่ไม่ใส่ใจศิลปะการนำเสนอ อันได้แก่กลวิธีจัดวางแย่ แถมเทคนิคการจัดแสงและเงาเข้าขั้นงานวัด ย่อมไม่ได้รับความสนใจ เพียงแค่เปิดให้เปลืองงบเล่นไปวัน ๆ เท่านั้น
แต่นั่นไม่ใช่ภาพลักษณ์ของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ ที่ผมได้ไปเห็นมา เพียงแค่แลดูรูปทรงสถาปัตยกรรมของตัวอาคาร ก็ได้ใจ ชวนให้เข้าไปชมอย่างไม่ลังเลใจเลย
เข้าไปแล้วก็ไม่ผิดหวัง เพราะนำเสนอความเป็นมาจากอดีตถึงปัจจุบันของสุรินทร์อย่างตั้งอกตั้งใจ ไม่ใช่แค่เอาของเก่ามาวางกองให้ดูรก ๆ แล้วเข้าใจว่านั่นคือสิ่งที่เรียก “พิพิธภัณฑ์” …

การจัดวางและการกำหนดแสงและเงา ก็มีส่วนสำคัญ ในการดึงดูดใจให้เข้าชม

แบบจำลองปราสาทศีขรภูมิอันอลังการ ด้วยทับหลังศิวนาฏราช อันเป็นที่เลื่องลือในความงาม
***อ่านฉบับเต็มเรื่อง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ ไม่ไป ไม่ผิด แต่น่าเสียดาย ได้ในคอลัมน์ ห้องศิลป์อีศาน นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ ๘๐ เดือนธันวาคม ๒๕๖๑
• วรรณศิลป์ : ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๑
• วรรณศิลป์ : หมาเก้าหาง..ดนตรีอีศานคลาสสิก
• วรรณศิลป์ : ทางอีศาน 82 : เมืองนครจำปาศักดิ์ – ๓ –
• วรรณศิลป์ : ทางอีศาน 82 : ศิลปะลพบุรี
• วรรณศิลป์ : ทางอีศาน ๘๒ : (๘) ที่จุดเริ่มต้นคือที่สุดท้าย – ๑
• วรรณศิลป์ : กราบพระธาตุพนม
• วรรณศิลป์ : วิชาความรู้จะมีค่า ก็ต่อเมื่อถูกถ่ายทอด
• วรรณศิลป์ : เทียวทางให้สุดเส้น อย่าถอยหลังให้คนย่ำ ตายกะตายหน่าพุ้น คนจั๊งญ่องว่าหาญ
• วรรณศิลป์ : ประกาศระดมทุนพิมพ์หนังสือ “ภูมิบ้านนามเมือง คำใคร ไทย – มอญ – เขมร”
• นิตยสารทางอีศาน : 82