ทางอีศาน 28: เบิ่งไทย

e-shann28_เบิ่งไทย

คอลัมน์: เบิ่งไทย
นิตยสาร “ทางอีศาน” ฉบับที่ ๒๘
ปีที่ ๓ ประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๕๗

สำหรับในประเทศไทย กิจการรถไฟกำเนิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ ไทยได้ให้สัมปทานแก่บริษัทชาวเดนมาร์กสร้างทางรถไฟ เส้นทางจากกรุงเทพฯ ถึงสมุทรปราการ ระยะทาง ๒๑ กิโลเมตร

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้นสังกัดกระทรวงโยธาธิการ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ เริ่มสร้างทางรถไฟแล้วเปิดเดินรถไฟระหว่างกรุงเทพ – พระนครศรีอยุธยา ระยะทาง ๗๑ กิโลเมตร เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ ซึ่งทางการได้ถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟหลวง

ปัจจุบันการรถไฟฯ มีระยะทางที่เปิดการเดินรถแล้ว รวมทั้งสิ้น ๔,๓๔๖ กิโลเมตร โดยเป็นทางคู่ช่วง กรุงเทพ – รังสิต ระยะทาง ๓๑ กิโลเมตร และเป็นทางสามรางช่วงรังสิต – ชุมทางบ้านภาชี ระยะทาง ๕๙ กิโลเมตร โดยมีเส้นทาง ดังนี้

๑. ทางสายเหนือถึง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง ๗๕๑ กิโลเมตร

๒. ทางสายใต้ ถึง จังหวัดนราธิวาส (สุไหงโก-ลก) ระยะทาง ๑,๑๔๓ กิโลเมตร และสถานีปาดังเบซาร์ ระยะทาง ๙๗๔ กิโลเมตร

๓. ทางสายตะวันออกถึง จังหวัดสระแก้ว (อรัญประเทศ) ระยะทาง ๒๕๕ กิโลเมตร และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ
ทาง ๒๐๐ กิโลเมตร เริ่มจากสถานีกรุงเทพ ผ่าน ฉะเชิงเทรา, ปราจีนบุรี สุดปลายทางที่อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (กม. ๒๕๕)

๔. ทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถึง จังหวัดอุบลราชธานี ระยะทาง ๕๗๕ กิโลเมตร และจังหวัดหนองคาย ระยะทาง ๖๒๔
กิโลเมตร

๕. ทางสายตะวันตก ถึง สถานีนํ้าตกจังหวัดกาญจนบุรี ระยะทาง ๑๙๔ กิโลเมตร

๖. ทางสายแม่กลองช่วงวงเวียนใหญ่ – มหาชัย ระยะทาง ๓๑ กิโลเมตร และช่วงบ้านแหลม – แม่กลอง ระยะทาง ๓๔ กิโลเมตร

ไม่ได้เริ่มต้นที่สถานีกรุงเทพ โดยเริ่มต้นที่สถานีวงเวียนใหญ่ ไปสุดปลายทางที่มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ระยะทาง ๓๓ กม. ช่วงหนึ่ง และเริ่มต้นที่สถานีบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสาคร ไปสุดปลายทางที่สถานีแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ระยะทาง ๓๑ กม. อีกช่วงหนึ่ง ยังมีการสร้างทางอีกหลายเส้นทาง อาทิ คลองสิบเก้า – บ้านภาชี – แก่งคอย – ศรีราชา – แหลมฉบัง – เขาชีจรรย์ – มาบตาพุด เพื่อให้รับโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกอีกด้วย เส้นทางที่มีการขนส่งสินค้ามากที่สุด คือ ช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา-ชุมทางศรีราชา รองลงมา ได้แก่ ช่วงไอซีดีลาดกระบัง-ชุมทางฉะเชิงเทรา ช่วงชุมทางศรีราชา-ท่าเรือแหลมฉบัง ช่วงชุมทางบ้านภาชี-ชุมทางแก่งคอย ช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา-ชุมทางคลองสิบเก้า และชุมทางคลองสิบเก้า-ชุมทางแก่งคอย ตามลำดับ ข้อมูลจากการรถไฟแห่งประเทศไทยพบว่า สินค้าที่นิยมขนส่ง ได้แก่ กลุ่มสินค้านํ้ามันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รองมาคือ ปูนซีเมนต์ผง หินและปูนซีเมนต์ถุง และกลุ่มสินค้าอื่น ๆ จำพวก แร่ยิปซั่ม ข้าวสาร แป้ง ยางพารา และเส้นหมี่, ก๋วยเตี๋ยว, วุ้นเส้น (แห้ง) สัดส่วนของข้าวที่ขนส่งโดยทางรถไฟยังมีสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับสินค้าประเภทอื่น

หากมองระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เปรียบเทียบในประชาคมอาเซียน ประเทศไทยอยู่ในอันดับสอง

๑. ประเทศสิงคโปร์ ระยะทางรวม ๑๔๗ กิโลเมตร จำนวน ๘๙ สถานี เริ่มเปิดให้บริการเมื่อ ค.ศ. ๑๙๘๗

๒. ประเทศไทย ระยะทางรวม ๘๑ กิโลเมตร จำนวน ๕๖ สถานี เริ่มเปิดให้บริการเมื่อ ค.ศ. ๑๙๙๙

๓. ประเทศมาเลเซีย ระยะทางรวม ๕๖ กิโลเมตร จำนวน ๔๙ สถานี เริ่มเปิดให้บริการเมื่อ ค.ศ. ๑๙๙๖

…………………..

ติดตามเนื้อหาในเล่มได้ที่…
ร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป ซีเอ็ด นายอินทร์
สั่งซื้อ: 02-552-4070
อีเมล: e-shann@hotmail.com

อีบุคราคาเพียง 60 บาท ที่
www.mebmarket.com
www.4dbook.com
www.openserve.co.th

นิตยสาร “ทางอีศาน” เปิดให้ผู้สนใจเข้าไปอ่านหัวข้อข่าว เรื่องราวเด่น ๆ หรือดาวน์โหลดใบสมัครสมาชิก รวมถึงร่วมเสนอความคิดเห็น อ่านรายละเอียดและสมัครเป็นสมาชิกได้ที่ https://e-shann.com/

Related Posts

เมืองเพีย : แหล่งผลิตเกลือและโบราณคดี
เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๑๑)
ปิดเล่ม

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com