นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 78

เยาวภาพแห่งเดือนตุลา

ธาตุลักษณะของความเยาว์วัยอยู่ที่ความบริสุทธิ์ สดใส ร่าเริง กระตือรือร้น เสียสละ และเปี่ยมพลัง แม้ในวัยหนุ่มสาวหรือสูงอายุสักปานใด หากยังรักษาธาตุลักษณะนี้ไว้ก็ได้ชื่อว่ามี “เยาวภาพ” ในตนเอง

ชวนตะลึง! ลึงคบูชา ราชันย์ภิเษก (๒)

ห้องศิลป์อีศาน ฉบับที่แล้ว ผมเล่าเรื่องลัทธิบูชาเทวลึงค์ในฐานะที่เป็นบุคลิกภาพอันศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์กัมพูชา ในยุครุ่งเรืองสมัย เมืองพระนคร (Angkor Period) ด้วยความเชื่อว่าความรุ่งเรืองของอาณาจักรขึ้นอยู่กับราชลึงค์อันสำคัญนี้ วิหารที่เก็บศิวลึงค์ต้องอยู่บนยอดเขา เป็นทำนอง “ภูเขาวิหาร” อาจเป็นภูเขาธรรมชาติ หรือจำลองขึ้นก็ได้ โดยตั้งอยู่กลางนครหลวง ที่ตรงนี้จะได้รับการเชื่อถือว่าเป็นแกนแห่งจักรวาล

การส่งส่วยในภาคอีสาน

การส่งส่วย คือ การส่งภาษีของไพร่หลวงที่อยู่ห่างไกลเมืองหลวงให้รัฐบาลนั่นเอง ภาคอีสานมีความสำคัญต่อรัฐบาลมากที่สุดในการส่งส่วย เพราะมีเมืองที่ส่งส่วยมากที่สุดในประเทศ กล่าวคือมีถึง ๗๒ เมือง ในขณะที่ภาคกลางมี ๓๗ เมือง ภาคตะวันออก ๑๕ เมือง ภาคใต้ ๑๒ เมือง ภาคตะวันตก ๘ เมือง ภาคเหนือ ๖ เมือง (สุวิทย์ ธีรศาศวัต ๒๕๔๘:๑๒๖)

อมตะอีสาน ไม่รู้จบ

ผมเป็นคนอีสานที่เข้ากรุงเทพฯ ในยุคนี้ ยังสงสัยและคิดหาเหตุผลว่าทำไม บัตรประจำตัวประชาชนของเราก็บ่งบอกว่า เชื้อชาติสัญชาติไทย แต่ทำไมคนภาคอื่นจึงผลักไสให้เราเป็นลาว...

ตระกูลภาษา “ไท-กะได” กับ ไป่เยวี่ย

ปัจจุบันนี้ วงวิชาการยอมรับกันแล้วว่าชน “ไป่เยวี่ย” สายหนึ่งเป็นบรรพชนของชนชาติในตระกูลภาษา ไท-กะได ก็เลยเกิดปรากฏการณ์ มีการไปเรียกพวกไป่เยวี่ย สาขาที่อยู่ตอนเหนือ คือ แถบเจ้อเจียง-เซี่ยงไฮ้ (เรื่องราวของ โกวเจี้ยน ฟูไช นางไซซี) ว่าเป็นคนไท/ไต

อุรังคธาตุ – นิทานพเนจร : พญานาคเกเรแห่งรอยพระพุทธบาท หมายเลข ๓ (๔)

หลวงพ่อเจริญเจ้าอาวาสวัดป่าแห่งหนึ่งในอำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี ที่ฉันให้ความเคารพเคยบอกไว้ตั้งแต่ยังเป็นเพียงเด็กสาวอ่อนเดียงสา เพราะเห็นว่าชอบอ่านนิทานพื้นบ้านตำนานต่าง ๆ ราวกับท่านได้เล็งเห็นว่าหากมีวิชาความรู้ก็เหมือนมีทรัพย์ที่จะได้ใช้ในอนาคต

วิถีกินอยู่คนอีสาน อาหารภัตตาคารในเถียงนาน้อย ลาบเทา

วันนี้ข้าพเจ้าจะพาทุกคนมารู้จักกับ เมนูอาหารอีสานพื้นบ้านซึ่งมีมาแต่โบราณกาล ส่งต่อกันมาจากรุ่นบรรพบุรุษเลยก็ว่าได้ เมนูที่ว่านั่นคือ ลาบเทา

ดอกขะเจียวจากโคกขี้แลน – บทนำ

“ทวดคือพ่อของปู่” สีโหเอ่ยชื่อบรรพบุรุษ “จารย์บุญคือ ทวดของปู่เฮือง...” “ถูกต้องแล้ว” แกบอกสีโห “ผมคือหลานแท้ ๆ ของจารย์แก้วกับย่าแพง”

นิตยสาร “ทางอีศาน” ฉบับที่ ๗๘
ปีที่ ๗ ประจำเดือนตุลาคม ๒๕๖๑
นิตยสารรายเดือนของชาวอีสานและคนไททุกภูมิภาค
ลึกซึ้งรากเหง้า เข้าใจปัจจุบัน รู้ทันอนาคต

เนื้อหาในเล่ม :
๑ เขียนมนุษย์ | ช่วง มูลพินิจ แก้วมณี
๓ บทบรรณาธิการ | ปรีดา ข้าวบ่อ เยาวภาพแห่งเดือนตุลา
๖ สาส์นจากทางอีศาน
(๑) เรื่องสั้น ๆ กาไรในความขาดทุน
(๒) นิตยสาร “ทางอีศาน” รับรางวัลสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ยอดนิยม
(๓) สุจิตต์ วงษ์เทศ บนแผ่นดินที่ราบสูงประเทศไทย
(๔) สิริรัตน์ฎา น้อยวิชัย มอบผลงานประดับปก “ทางอีศาน” อีกครั้ง
๙ ห้องศิลป์อีศาน | ธีรภาพ โลหิตกุล ชวนตะลึง! ลึงคบูชา ราชันย์ภิเษก (๒)
๑๒ รายงานทางอีศาน | สุมาลี โพธิ์พยัคฆ์ บ้านดงบังไม่ได้มีแค่ “ฮูปแต้ม” ที่วัดโพธาราม
๑๙ จดหมาย | ไพรัตน์ แย้มโกสุม, เกษม โพธิขา, พุทธิ์นันทะ ผลชัยอรุณ
๒๔ อะคาเดมีชีวิต | รศ.ดร.เสรี พงศ์พิศ ภาษา วัฒนธรรมและเอกลักษณ์
๒๗ บทกวี | “อักษราวุธ” “โลก สัตว์ คน พลเมือง”
๒๘ ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไท | ชลธิรา สัตยาวัฒนา (๑๐) จาก ‘สิบหกเจาไท’ สู่ ‘สิบสองจุไท’
๓๖ ชาติพันธุ์ | พรพล ปั่นเจริญ ตระกูลภาษา “ไท – กะได” กับ ไป่เยวี่ย
๔๐ อุรังคธาตุ-นิทานพเนจร | นัทธ์หทัย วนาเฉลิม (๔) พญานาคเกเรแห่งรอยพระพุทธบาท หมายเลข ๓
๔๖ บทความ | ธวัชชัย พิณะพงษ์ (๕) บันทึกการสำรวจวิถีชีวิตลุ่มน้ำเสียวใหญ่
๕๘ อาหารพื้นบ้าน | “ดวงจันทร์ ศรีหยก” วิถีกินอยู่คนอีสาน อาหารภัตตาคารในเถียงนาน้อย ลาบเทา
๖๐ รายงานพิเศษ | กมล หอมกลิ่น ที่ทำการชาวนา : สง่า ด่วนรับรัมย์ ศูนย์บัญชาการเพื่อทางรอดของชุมชน
๖๔ นักสู้ลูกข้าวเหนียว | นิเวศน์ กันไทยราษฎร์ มัสยา ดวงศรี สาวตีนหนักเหรียญทอง ๓ สมัย จากเอเชียนเกมส์
๖๕ รายงานพิเศษ | ขวัญชิต โพธิ์กระสังข์ เมืองคง โรงเรียนสร้างคน
๖๙ บทความพิเศษ | “โชติช่วง นาดอน” ชื่อเก่าของแขวง “อัตตะปือ เมืองลุ่ม – เมืองลาวหลง – รามะลักองกาน – บ้านเก่าหาดขี้ควาย – แอกะปือ – อัตตะปือ”
๗๒ ภูมิบ้านนามเมือง | “เขาบังภู” ตะไนย – สะนาย – สะไมย์ – สะไม
๗๖ ไผว่าอีศานฮ้าง | “สมปอง ดวงไสว” สาวเมืองสรวง : ปรากฏการณ์ที่เมืองสรวง
๗๙ รายงานทางอีศาน | ปรีชญา ข้าวบ่อ Supermarket ที่ (เราควร) รัก
๘๕ รายงานทางอีศาน | “ผู้ไท บ้านทุ่ง” พลังสื่อ พลังฝัน สร้างสังคมอีสาน
๙๒ เสียงเมือง | “ทิดโส สุดสะแนน” “ดุลยพินิจ” คำธรรมดาที่ไม่ใช่ธรรมดา
๙๕ ลูกเถ้าแก่บ้านนอก | สุรินทร์ ภาคศิริ (๓๖) อมตะอีสาน ไม่รู้จบ
๙๘ มนต์เพลงสองฝั่งโขง | “บรรณวัชร” “มหาพูมี จิตตะพง” กับตำนาน “เพลงชาติลาว” และ “จำปาเมืองลาว”
๑๐๑ ผญาสมัย | ชาตรี เสงี่ยมวงศ์ เสียงม่วนลายแคน
๑๐๓ บทความพิเศษ | ธันยพงศ์ สารรัตน์ เมื่อทินกรจะลาโลกไปไกล ยามนี้จาต้องพรากจากดวงใจ ไกลแสนไกลสุดห่วงยอดดวงตา
๑๑๔ ศัพท์เพเหระ | ประสิทธิ์ ไชยชมพู ชั่วช้า ป่าช้า ป่าเร่ว เฉลว
๑๑๕ บทกวี | ตุลยา ตัณฑ์กำเหนิด อำนาจมืดดำ ทำให้รุ้งหายไป
๑๑๖ นักเขียนอีสาน | “เจน อักษราพิจารณ์” สโมสรนักเขียนภาคอีสาน : ตำนานคนวรรณกรรมจากที่ราบสูง (๑)
๑๒๒ แม่ช้อยนางรำ | สันติ เศวตวิมล (๒๓) อาหารสมัย “พระนารายณ์” (๒)
๑๒๕ สาส์นลึบให้สูญ | “บุญมา ภูเม็ง” แสนอาลัย น้าหว่อง คาราวาน ตำนานพิณพนมไพร แห่งกองเกวียนคาราวาน
๑๒๖ เรื่องสั้น | ชาคริต แก้วทันคำ ไม่มีวันพรุ่งนี้ได้ไหม?
๑๓๑ นวนิยาย | อุดร ทองน้อย ดอกขะเจียวจากโคกขี้แลน – นำเรื่อง –
๑๓๕ บทความ | สุวิทย์ ธีรศาศวัต การส่งส่วยในภาคอีสาน
๑๔๐ รายงานทางอีศาน | “แคน ลำโขง” ไขป่องเอี้ยมเยี่ยมเบิ่งลาว ตามฮอยศรัทธาญาคูขี้หอม (๒)
๑๔๕ ตามรอยโลกมลายู | ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ รัฐโมโลยู – ที่ตั้งอาณาจักรมลายูโบราณ
๑๕๒ เฮฮาสาระ | สหภพ ปานทอง ยกพลโยธา
๑๕๔ มรดกวัฒนธรรมจากบ้านจิมฯ | “ศิรเทพ๑๑๐๗๘” พระยืนทวารวดี นิยมแบบจีวรเรียบ
๑๕๘ เขียนแผ่นดิน | เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เสน่ห์เรณู
๑๖๐ ปิดเล่ม | กอง บ.ก.

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com