นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 79

เฮ็ดกิ๋นแซบ

ผู้คนในภาคอีสาน มีฝีมือในการปรุงอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นได้อย่างยอดเยี่ยม การปรุงอาหารของคนในภาคอีสาน จะมีการถ่ายทอดสืบต่อกันแบบรุ่นสู่รุ่น แม่บ้านบางคนคิดสูตรเด็ดจนสามารถเปิดร้านขายอาหารอีสาน สร้างฐานะให้ครอบครัวได้ มีร้านอาหารบางแห่งคิดสโลแกนเขียนขึ้นป้ายให้ผู้ที่เข้าไปในร้านได้อ่านและเข้าใจ มีตัวอย่างที่เคยพบ เช่นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มีร้านอาหารแห่งหนึ่งเขียนว่า “ได้ดื่มน้ำเย็น ได้เห็นรอยยิ้ม ได้อิ่มอาหาร ได้รับบริการประทับใจ” ก็นับว่าเป็นยุทธศาสตร์ทางธุรกิจอีกอย่างหนึ่ง

การเมืองเรื่องส่วยในภาคอีสาน

การเก็บส่วยในอีสานสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยรัชกาลที่ห้า รัฐบาลเก็บเป็นสิ่งของซึ่งมีมากในท้องถิ่น เว้นเสียแต่ว่าไพร่ส่วยหาสิ่งของที่กำหนดไม่ได้จึงยอมให้จ่ายเงินแทนคนละ ๔ บาทต่อปี ที่ว่าเป็นเรื่องการเมืองก็เพราะในระบบส่วยมีการแย่งชิงส่วยระหว่างเจ้าเมืองกับเมืองหลวงระหว่างเจ้าเมืองกับเจ้าเมืองด้วยกัน ระหว่างเจ้าเมืองกับกรมการเมือง

ตระกูลภาษา “ไท-กะได” กับ ไป่เยวี่ย (๒)

คุณเหลียงถิงหวั่ง เชื่อว่า บรรพชนของชาวเผ่าจ้วง (ขณะที่ยังมิได้แยกเป็นชาติพันธุ์ตระกูลภาษาตระกูลต้ง-ไถ) มีความเกี่ยวพันกับชนเผ่าโบราณที่ปรากฏชื่อในบันทึกโบราณของจีน เช่น ชนเผ่าซีโอว 西瓯 ลั่วเยวี่ย 路越 ชางอู่ 仓吾 ซุ่นจื่อ 损子 กุ้ยกั๋ว 桂国 จวี้ถิง 句町 เย่หลาง 夜郎 ผู่ 濮 โล่วว่อ 漏卧 อู่เลี่ยน 毋敛 เป็นต้น

ศิวนาฏราช ณ พนมรุ้ง ขอท้าว่าไม่ควรพลาดชม

“ศิวนาฏราช” หรือ พระศิวะร่ายรำเป็นภาพที่ชาวฮินดูลัทธิไศวนิกายนิยมประดับไว้ ที่ศาสนสถานเพื่อยกย่องพระศิวะในฐานะเทพ ผู้ทรงอานุภาพทั้งสาม คือ ผู้ให้กำเนิดโลก ผู้ปกป้องคุ้มครองโลก และผู้ทำลายเมื่อโลกถึง ยุคเข็ญ การร่ายรำของพระศิวะทำให้โลก หมุนเวียนเปลี่ยนกาลเวลา เช่น เมื่อโลกก้าวสู่ สหัสวรรษใหม่ ชาวฮินดูอธิบายว่าเกิดจาก “ศิวนาฏราช” ซึ่งหากพระองค์ทรงร่ายรำใน จังหวะที่พอดีโลกจะสงบสุข แต่หากพระองค์ทรง ร่ายรำด้วยจังหวะร้อนเร่า รุนแรง โลกก็จะเกิดกลียุค…

การเปลี่ยนผ่าน

จากสังคมทาส การเกณฑ์แรงงาน เลกไพร่ ส่งส่วย มาถึงสังคมทุนนิยมที่มีการกินส่วนต่าง ส่วนเกิน ใช้เงินต่อเงิน ถึงวันนี้สภาพชีวิตผู้คนใน เกือบแสนหมู่บ้านทั้งประเทศไทย ไม่เหมือนสมัย ปู่ย่าตายายอีกแล้ว คนหนุ่มสาวคนวัยแรงงาน แทบไม่มีเหลือในหมู่บ้าน แถมยังมีชีวิตอย่างไร้ หลักประกันความมั่นคงในทุกด้าน ยิ่งตลกร้ายที่ ให้คนประกอบการภาคอุตสาหกรรมผูกขาดมา สอนการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ให้คนในระบบ ราชการมาสอนนวัตวิถีแก่คนรากหญ้า ซ้ำเติม หมู่บ้านเข้าไปอีกเมื่ออภิมหาทุนรุกเข้าไปกินป่า ครอบครองทำลายภูเขาแม่น้ำ และได้สัมปทาน ขุดผลาญแร่ธาตุใต้พิภพยิ่งขึ้น

พระพุทธรูปยืนทวารวดีในภาคกลาง (๑)

นักปราชญ์ท่านสรุปลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวารวดี แบ่งออกเป็น ๓ ยุค คือ ๑. มีลักษณะของอินเดียแบบคุปตะและ หลังคุปตะ บางครั้งก็มีอิทธิพลของอมราวดีอยู่ ด้วย ลักษณะวงพักตร์แบบอินเดีย ไม่มีรัศมี จีวร เรียบเหมือนจีวรเปียก พระพุทธรูปนั่งจะขัด สมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุในราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๒

บทบาทของท้าวพมแห่งอัตตะปือ ในการช่วยเจ้าฟ้างุ่มรวบรวมดินแดนล้านช้าง

กองทัพของเจ้าฟ้างุ่มยกขึ้นไปจากอาณาจักรพระนครหลวง จะต้องผ่านดินแดนลาวใต้ก่อน ข้อมูลประวัติศาสตร์ช่วงนี้ ยังมีน้อยในเอกสารภาษาไทย ข้าพเจ้าจึงปริวรรตถ่ายคำข้อมูลเหล่านี้จากเอกสารภาษาลาว “ปะวัดติสาด และกานเคื่อนไหวปะติวัด อัตตปือ” เขียนโดย ท่านบุนทัน จันทะกาลี หน้า ๔๕ - ๔๘ ดังต่อไปนี้

อุรังคธาตุ – นิทานพเนจร : บุกดอยนันทกังฮี – ๑ (๕)

เมื่อ ๖ เดือนก่อน...ฉันได้รับอีเมลสำเนาเอกสารใบลานเรื่อง “ตำนานธาตุหัวอกพระเจ้า” ของวัดใหม่สุวรรณภูมาราม เมืองหลวงพระบาง จากพระอาจารย์ไพวัน มาลาวง

นิตยสาร “ทางอีศาน” ฉบับที่ ๗๙
ปีที่ ๗ ประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๑
นิตยสารรายเดือนของชาวอีสานและคนไททุกภูมิภาค
ลึกซึ้งรากเหง้า เข้าใจปัจจุบัน รู้ทันอนาคต

เรื่องเด่น :
– ธีรภาพ โลหิตกุล ท้าชวนชมความงามศิวนาฏราช ณ พนมรุ้ง
– อำนวย ปะติเส ตามรอย”แอมมอนิเย”นักสำรวจโลกที่ย่ำอีสานเมื่อร้อยปีก่อน
– สหภพ ปานทอง เฮฮาสาระเรื่อง “ความเชื่อและความจริง”
– สันติ เศวตวิมล จาระไนขนมสมัยพระนารายณ์
– สมปอง ดวงไสว ยืนยัน มงคล อุทก : เพลงพิณพนมไพร – พลังใจพลิกชีวิต
– เมื่อกุฏิกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ในวัดป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
– การเมืองเรื่องส่วยฯ
– เปิดประตูเมืองโบราณ “ศรีฐาน”บนโดมเกลือ
– “มลายู” คือใครกันแน่?
– เริ่มแล้วตอนที่ -หนึ่ง- นวนิยาย “ดอกขะเจียวจากโคกขี้แลน” โดย อุดร ทองน้อย

เนื้อหาในเล่ม :
๑ เขียนมนุษย์ | ช่วง มูลพินิจ เพิงพุทรา
๓ บทบรรณาธิการ | ปรีดา ข้าวบ่อ การเปลี่ยนผ่าน
๖ สาส์นจากทางอีศาน
(๑) ตระเวนเที่ยวป่าปราสาทอีสานใต้
(๒) งานวัฒนธรรมงานพัฒนาที่มั่นคงยั่งยืน
(๓) “เมโลดีเลย” อัครสถานศิลป์จากหัวใจ
(๔) ศ.สุวิทย์ ธีรศาศวัต เมธีวิจัยอาวุโสของ สกว.
(๕) “นางไอ่ผู้เลอโฉม” จากฝีแปรง สิริรัตน์ฎา น้อยวิชัย
๙ ห้องศิลป์อีศาน | ธีรภาพ โลหิตกุล ศิวนาฏราช ณ พนมรุ้ง ขอท้าว่าไม่ควรพลาดชม
๑๓ ตามรอยโลกมลายู | ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ “มลายู” คือใครกันแน่?
๑๘ อะคาเดมีชีวิต | รศ.ดร.เสรี พงศ์พิศ คนรุ่นใหม่
๒๒ ด้า แถน กำเนิดรัฐไท | ชลธิรา สัตยาวัฒนา (๑๑) วิถีชน ‘ไททรงดำ’ ‘ลาวโซ่ง’ ‘ผู้เต๊า’ ‘ตระกูลเลือง’ ในภูมิรัฐศาสตร์เดียนเบียนฟู กับ ลัทธิล่าอาณานิคมภายใน – ภายนอก
๒๙ ชาติพันธุ์ | พรพล ปั่นเจริญ ตระกูลภาษา “ไท – กะได” กับ ไป่เยวี่ย (๒)
๓๔ อุรังคธาตุ-นิทานพเนจร | นัทธ์หทัย วนาเฉลิม (๕) บุกดอยนันทกังฮี – ๑
๔๐ บทความ | อำนวย ปะติเส แอมมอนิเย นักสำรวจและนักโบราณคดีชั้นนำของโลก เยือนบ้านนาข่า เมืองพยัคฆ์ฯ เมื่อ ๑๔๓ ปีก่อน (พ.ศ.๒๔๒๗)
๔๕ บทความพิเศษ | ธันยพงศ์ สารรัตน์ จิบน้ำชาใต้ต้นลำดวน : ตามรอย “อารยธรรมแห่งศรัทธา มนตราศรีพฤทเธศวร” มิติใหม่แห่งการแสดงละครประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ศรีสะเกษ
๕๖ ภูมิบ้านนามเมือง | “เขาบังภู” ดงประคำ (พิษณุโลก) ปะคำ (บุรีรัมย์) ปะโค (โคราช) ปะโค (ชัยภูมิ) ปะโค (หนองคาย) ปะโค (กุดจับ, กุมภวาปี จ.อุดรธานี) พะโค (พม่า) ปะโกะ (ลาว) – (๑)
๖๒ บทกวี | “มีนา ฟ้าศุกร์” “คุณค่า(ฆ่า)ชีวิต”
๖๓ รายงานทางอีศาน | สุมาลี โพธิ์พยัคฆ์ เปิดประตูเมืองโบราณ “ศรีฐาน” บนโดมเกลือ
๗๕ สุภาษิตขแมร์ ฉบับ พ.ศ.๒๔๖๗ | กอง บ.ก. สุภาษิตโบราณ (๒)
๗๖ บทความ | ภัทระ ไมตระรัตน์ และทรงยศ วีระทวีมาศ เมื่อกุฏิกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ในวัดป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
๘๖ ศัพท์เพเหระ | ประสิทธิ์ ไชยชมพู โยม
๘๗ บทกวี | กิตติ อัมพรมหา โลกกว้างใหญ่เกินปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ
๘๘ นักเขียนอีสาน | “เจน อักษราพิจารณ์” สโมสรนักเขียนภาคอีสาน : ตำนานคนวรรณกรรมจากที่ราบสูง (๒)
๙๕ ผญาสมัย | ชาตรี เสงี่ยมวงศ์ โลกในแดนหิวโหยและอันตราย
๙๖ เสียงเมือง | “ทิดโส สุดสะแนน” คนแก่โลก
๙๘ ลูกเถ้าแก่บ้านนอก | สุรินทร์ ภาคศิริ เส้นทางเดินของดนตรีพื้นเมืองอีสาน
๑๐๒ มนต์เพลงสองฝั่งโขง | “บรรณวัชร” บทเรียน “ศิลปินลาว” ใต้เงามายาโซเชียล
๑๐๔ สาส์นลึบให้สูญ | “บุญมา ภูเม็ง” โคเล
๑๐๕ เวทีพี่น้อง | รติรัตน์ รถทอง “คนเข้าคลอง” วิถีชีวิตที่กำลังถูกลืม
๑๐๘ วิถีผู้ไท | เพ็ญศรี นิลโสม (๒๘) เรื่องเล่าจากราวตากผ้าของแม่ (๑)
๑๑๒ นักสู้ลูกข้าวเหนียว | นิเวศน์ กันไทยราษฎร์ คลื่นลูกใหม่วงการลูกหนัง ศศลักษณ์ ไหประโคน
๑๑๔ บทความ | ธวัชชัย พิณะพงษ์ (๖) บันทึกการสารวจวิถีชีวิตลุ่มน้ำเสียวใหญ่
๑๒๑ บทความ | สุวิทย์ ธีรศาศวัต การเมืองเรื่องส่วยในภาคอีสาน
๑๒๕ นวนิยาย | อุดร ทองน้อย ดอกขะเจียวจากโคกขี้แลน – หนึ่ง –
๑๓๑ บทกวี | “เพลงแพรวา” มาจากขอลอคอควาย
๑๓๒ แม่ช้อยนางรำ | สันติ เศวตวิมล (๒๔) ขนมสมัย “พระนารายณ์”
๑๓๕ ไผว่าอีศานฮ้าง | “สมปอง ดวงไสว” มงคล อุทก : นักเพลงมือพิณพนมไพร เพลงสร้างพลังใจพลิกชีวิต
๑๓๘ บทความ | “โชติช่วง นาดอน” บทบาทของท้าวพมแห่งอัตตะปือในการช่วยเจ้าฟ้างุ่มรวบรวมดินแดนล้านช้าง
๑๔๒ ลานข่วงคำกวี | “บุญผลา แสงดาวดั้ง” รอคอย, ตีนซ้าง, มื้อตาเว็นอ้อมข้าว, ติบเข้า ก่องเข้า
๑๔๕ อาหารพื้นบ้าน | “ดวงจันทร์ ศรีหยก” ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การทำอาหารพื้นบ้านโบราณ “เข่าแพะ”
๑๕๒ เฮฮาสาระ | สหภพ ปานทอง ความเชื่อและความจริง
๑๕๔ มรดกวัฒนธรรมจากบ้านจิมฯ | “ศิรเทพ๑๑๐๗๘” พระพุทธรูปยืนทวารวดีในภาคกลาง (๑)
๑๕๘ เขียนแผ่นดิน | เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ไพรพิหาร
๑๖๐ ปิดเล่ม | กอง บ.ก.

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com