นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 81

“เมรุนกหัสดีลิงค์” อริยะประเพณีในแผ่นดินอีสาน

คติการปลงศพด้วยนกของชาวอุษาคเนย์ มีหลักฐานทางโบราณคดียืนยันได้ว่ามีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฏภาพพิธีกรรมส่งผีขวัญที่มีองค์ประกอบภาพที่สำคัญ คือภาพนกอยู่บนหน้ามโหระทึก ด้วยเหตุที่คนโบราณเชื่อว่า นกเป็นสัตว์ที่สามารถเดินทางไปบนฟ้า อันเป็นดินแดนที่มนุษย์ในยุคบรรพกาลเชื่อว่าเป็นที่ตั้งของเมืองแถน ซึ่งเป็นโลกศักดิ์สิทธิ์ในคติทวิภูมิ ก่อนที่คติไตรภูมิจากชมพูทวีปจะแพร่เข้ามาในดินแดนอุษาคเนย์เมื่อประมาณ พ.ศ.๑๐๐๐

หมาน

การดำเนินชีวิตของชาวอีสานนั้น ค่อนข้างจะเรียบง่าย การทำมาหากินตามทุ่งนา ป่าเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ล้วนแต่เป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ และคนอีสานกินได้สารพัด พืชผักตามท้องไร่ท้องนา ข้างรั้วบ้านมีให้เลือกกินได้อย่างสบาย ยิ่งเป็นพวกแมลงก็เป็นอาหารของชาวอีสานเกือบทุกชนิด เห็ดที่ขึ้นตามป่าหรือตามท่อนไม้ คนอีสานเลือกกินได้ทั้งนั้น แม้ในกระเป๋าไม่มีเงินสักบาทคนอีสานก็ไม่อดตาย

คำโตงโตย : “ฮ้อนกว่าไฟ ใสกว่าแก้ว แล้วก่อนทำ”

ฮ้อนกว่าไฟ ได้แก่ใจ ปกติของใจ นึกจะ ทำอะไรก็อยากจะทำเร็ว ๆ อยากจะให้เสร็จ เร็ว ๆ ที่ว่าไฟฮ้อนก็ไม่ฮ้อนเท่าใจ เพราะไฟ ธรรมที่ว่าร้อน ก็เผาได้แต่เฉพาะกาย ไม่เผาใจ ได้ ส่วนไฟคือใจร้อนนี้ มันเผาทั้งร่างกายและ จิตใจ เมื่อใจร้อนแล้วกายวาจาก็พลอยร้อนไป ด้วย

เมืองนครจำปาศักดิ์ – ๒ –

อาณาเขตนครจำปาศักดิ์เวลานั้นมีว่า “ทิศเหนือตั้งแต่ยางสามต้นอ้นสามขวาย หลักทอดยอดยัง ” อันเป็นเขตของจันทรสุริวงศ์รักษา ทิศตะวันออกถึงเขาแดนญวน (หรือเขาบรรทัดก็เรียก) ทิศตะวันตกจดลำน้ำกระยุงหรือที่เรียกกันว่า “ห้วยก๊ากวากปากกระยุง” คือแดนเมืองพิมายเป็นเขตแดนท้าวจารย์แก้วรักษา

ศก ศักราช กับ ไตศักราช (๒)

มิติ ‘กาลเวลา’ นั้น สำคัญไฉน... การติดตามทำความเข้าใจเรื่องราวของ ผู้คน ชุมชน ชนชาติ ประเทศ และโลกทั้งโลก ยากที่จะแยกออกจากบริบทที่สำคัญอย่างน้อยที่สุดสองบริบท คือ บริบทของมิติกาลเวลา (Time) กับ บริบทของพิกัดสถานที่ (Space) เงื่อนเวลา (knots of time)

The Tai Era เบิกฟ้าปีใหม่ไท ไตศักราช (๑)

วันนี้ (เสาร์ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๑) คือ วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑ วันนี้คือวันขึ้นปีใหม่ของชาวไททั้งมวล ยิ่งไปกว่านั้น ชาวกรุง (ไทย) คุ้นชินกับปี พ.ศ. (พุทธศักราช) นักวิชาการ (ไทย) จำนวนไม่น้อยก็ถนัดที่จะบรรยาย เขียน สอนลูกศิษย์ และอ้างอิงด้วยปี ค.ศ. (คริสต์ศักราช) แต่ท่านทราบไหมว่า ชาวไทใหญ่มีการใช้ “ปี ต.ศ. (ไตศักราช)” ร่วมกัน

ดอกขะเจียวจากโคกขี้แลน ตอนที่ 3

จารย์บุญเห็นเพื่อนดิ้นรนจนปัญญา จึงได้แต่กล่าวเตือนออกไปว่า... เซื้อซาดจ่อง คันจ่องยังกะหุบ  ซาตาหลุบหลูบลงคือจ้อง ยามเมื่อซาตาขึ้น ขวางเป็นขอนก็ยังล่อง คาดสิล้ม มือหยุ้มหญ้ากะบ่พัง เสี่ยวเอย... จารย์แก้วคิดได้ฉับไวสมกับเป็นผู้สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า ก็กล่าวท้าชายฉกรรจ์เหล่านั้นว่า จงมาพิสูจน์กัน ข้าขอท้าสู้กับพวกเอ็ง เพื่อให้เห็นว่าผู้มีสัจจะย่อมไม่ตาย ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้

อาหารพื้นบ้านกับการถนอมอาหาร ความลับที่ไม่ลับในจานบ้านเฮา

พื้นที่ที่ฉันอยู่เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ในเขตตำบลหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา ผู้คนที่นี่ยังมีวิถีการดำรงชีวิตการกินอยู่อย่างเรียบง่าย สิ่งที่ช่วยในการชูรสอาหารของที่นี่ เรียกได้ว่าแทบจะใส่ในทุกจานเลยก็ว่าได้ สิ่งนั้นก็คือ ปลาร้า หรือปร้า อันถือได้ว่าเป็นยอดมงกุฎแห่งอาหารอีสานตลอดกาล

นิตยสาร “ทางอีศาน” ฉบับที่ ๘๑
ปีที่ ๗ ประจำเดือนมกราคม ๒๕๖๒
นิตยสารรายเดือนของชาวอีสานและคนไททุกภูมิภาค
ลึกซึ้งรากเหง้า เข้าใจปัจจุบัน รู้ทันอนาคต

เรื่องเด่น :
– เริ่มปฐมบท “มหากาพย์ชนชาติไท (The Tai Epics)” โดย ชลธิรา สัตยาวัฒนา และชายชื้น คำแดงยอดไตย
– เหลียวหลังแลหน้า โดย รศ.ดร.เสรี พงศ์พิศ
– ท่องทิพยวิมานอีสานใต้ ประทับไว้ในดวงจิต โดย ธีรภาพ โลหิตกุล
– “เมรุนกหัสดีลิงค์” อริยะประเพณีในแผ่นดินอีสานใต้ โดย ยุทธพงศ์ มาตย์วิเศษ
– จุดเปลี่ยนสำคัญที่ “มะละกา” โดย ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์

เนื้อหาในเล่ม :
๑ เขียนมนุษย์ | ช่วง มูลพินิจ สมองแห่งจักรวาล
๓ บทบรรณาธิการ | ปรีดา ข้าวบ่อ รื้อถอนและฟื้นสร้าง
๖ สาส์นจากทางอีศาน
(๑) ผญา…พรปีใหม่
(๒) เชิญธง
๙ ห้องศิลป์อีศาน | ธีรภาพ โลหิตกุล ท่องทิพยวิมานอีสานใต้ประทับไว้ในดวงจิต (๑)
๑๒ เฮือนชานศิลปิน | กอง บ.ก. ธีระวัฒน์ คะนะมะ “ศิลปินพระมหาชนก”
๑๔ ส่องซอด | สมคิด พุทธศรี หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ VS คน
๑๖ จดหมาย | บรรณกร กลั่นขจร, หมึกดำ พยัคฆภูมิ (ผอ.วิเชียร บริบูรณ์)
๑๘ อะคาเดมีชีวิต | รศ.ดร.เสรี พงศ์พิศ เหลียวหลังแลหน้า
๒๐ บทกวี | ระวี ตระการจันทร์ มายากล
๒๑ ผญาสมัย | ชาตรี เสงี่ยมวงศ์ การอ่านหนังสือพาโลกซุ่มเย็น
๒๒ ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไท | ชลธิรา สัตยาวัฒนา (๑๓) “ความเชื่อเรื่องแถน กับนาฏพิธีหมอลำผีฟ้าพญาแถน”
๒๙ รายงานทางอีศาน | สุมาลี โพธิ์พยัคฆ์ และดารุณี พุทไธวัฒน์ “ผ้าลายหางกระรอก” – “ตำเมี่ยงสะคร่าน” ที่ภูผาม่านขอนแก่น
๓๖ ภูมิบ้านนามเมือง | “เขาบังภู” ชากโดน ชากบก ชากไม้รวก ชากแง้ว เมืองซาก
๔๑ อุรังคธาตุ-นิทานพเนจร | นัทธ์หทัย วนาเฉลิม (๗) บุกดอยนันทกังฮี – ๓
๔๖ อาหารพื้นบ้าน | “ดวงจันทร์ ศรีหยก” อาหารพื้นบ้านกับการถนอมอาหาร ความลับที่ไม่ลับในจานบ้านเฮา
๔๘ บทความ | ธวัชชัย พิณะพงษ์ (๘) บันทึกการสำรวจวิถีชีวิตลุ่มน้ำเสียวใหญ่ (จบบริบูรณ์)
๕๒ ศัพท์เพเหระ | ประสิทธิ์ ไชยชมพู สิม
๕๔ ฮุงเฮืองเมืองปราชญ์ | ธันยพงศ์ สารรัตน์ “หลวงปู่สรวง” : “เทพเจ้า” และ “ตนบุญ” แห่งพนมดงเร็ก
๖๙ รายงานทางอีศาน | “แคน ลำโขง” ไขป่องเอี้ยมเยี่ยมเบิ่งลาว ตามฮอยศรัทธาญาคูขี้หอม (๔)
๗๘ นักเขียนอีสาน | “เจน อักษราพิจารณ์” สโมสรนักเขียนภาคอีสาน : ตำนานคนวรรณกรรมจากที่ราบสูง (๔)
๘๖ เวทีพี่น้อง | รติรัตน์ รถทอง ท่าฉลอม สุขาภิบาลโบราณ (ร.๕)
๘๙ บทกวี | “ต้นกล้า อันดามัน” จากความทรงจำอันยาวนาน
๙๐ ไผว่าอีศานฮ้าง | “สมปอง ดวงไสว” วิระศักดิ์ แจ่มใส : หนุ่มอุบลคนแกะพิมพ์พระเครื่อง
๙๕ บทกวี | “แม่น้ำ เรลลี่” นกน้อยกับนักเดินทางคนหนึ่ง
๙๖ นักสู้ลูกข้าวเหนียว | นิเวศน์ กันไทยราษฎร์ แสงมณี…มวยดีขอนแก่น เก่งเกินคำอธิบาย
๙๗ สาส์นลึบให้สูญ | “บุญมา ภูเม็ง” ไทครัวอพยพ
๙๘ เสียงเมือง | “ทิดโส สุดสะแนน” นักจัดรายการวิทยุ ไม่ใช่ ดีเจ
๑๐๐ ลูกเถ้าแก่บ้านนอก | สุรินทร์ ภาคศิริ (๓๙) เส้นทางเพลงไทย
๑๐๓ ลานข่วงกวี | “บุญผลา แสงดาวดั้ง” ระดูบานใหม่, ฟ้าวใส่บุญ
๑๐๔ เพชรในโพสต์ | กอง บ.ก. รอบ ๆ ปราสาทหิน
๑๐๖ มนต์เพลงสองฝั่งโขง | “บรรณวัชร” เพลงนิลันดอน : คู่ขวัญไทย – ลาว ยุค 4.๐
๑๐๘ ข่าวคนอีสาน | กอง บ.ก.
๑๐๙ สุภาษิตขแมร์ ฉบับ พ.ศ.๒๔๖๗ | กองบ.ก. สุภาษิตโบราณ (๔)
๑๑๐ เปิดผ้าม่านกั้ง | ยุทธพงศ์ มาตย์วิเศษ “เมรุนกหัสดีลิงค์” อริยะประเพณีในแผ่นดินอีสาน
๑๑๖ เรื่องเล่าชุดพ่อเฒ่ากับลูกเขย | “ชัด การชนะ” หมาน
๑๑๗ นวนิยาย | อุดร ทองน้อย ดอกขะเจียวจากโคกขี้แลน – สาม –
๑๒๒ แม่ช้อยนางรำ | สันติ เศวตวิมล (๒๖) ข้าว เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน
๑๒๕ การปกครองหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | เติม สิงหัษฐิต เมืองนครจำปาศักดิ์ (๒)
๑๓๑ มหากาพย์ชนชาติไท | ชลธิรา สัตยาวัฒนา และชายชื้นคำ แดงยอดไตย เบิกฟ้าปีใหม่ไท ไตศักราช (๑), ศก ศักราช กับ ไตศักราช (๒)
๑๔๑ รายงานทางอีศาน | ปรีชญา ข้าวบ่อ ท่องเทวาลัย – ปราสาทไพรอีสานใต้
๑๔๕ ตามรอยโลกมลายู | ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ จุดเปลี่ยนสำคัญที่ “มะละกา”
๑๔๙ บทกวี | “ธารรัก หิมาลัย” “อ่าน”
๑๕๒ เฮฮาสาระ | สหภพ ปานทอง ปราสาทพฤกษ์ไพร
๑๕๔ มรดกวัฒนธรรมจากบ้านจิมฯ | “ศิรเทพ๑๑๐๗๘” ชายขอบทวารวดีกับเจินล่า
๑๖๐ ปิดเล่ม | กอง บ.ก.

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com