“กลอนบทละคร” (๑)

 

กลอนบทละครมีมาแล้วตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา แต่จะมีบทละครจบเรื่องครบถ้วนอย่างที่มาแต่งกันในยุครัตนโกสินทร์หรือไม่ ก็ตัดสินยาก เพราะต้นฉบับสูญหายไปครั้งกรุงแตก

แต่หลักฐานมียืนยันได้ว่า มีการแต่งเป็น “บทร้อง” และก็น่าจะร้องเล่น (แสดงละคร) กันทั้งคืนเป็นเวลาหลายคืน

และถ้าเรื่องละครต่าง ๆ เหล่านั้นไม่มีครบจบเรื่องสมบูรณ์ ก็คงจะไม่มีแบบแผนมาให้ยุครัตนโกสินทร์สืบสานแต่งเพิ่มเติมขึ้นอีกมากมายหลายเรื่อง

กลอนร้องหรือกลอนบทละครที่มีหลักฐานยืนยันว่ามีแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาคือเรื่อง “อิเหนา” หรือ “ดาหลัง” (อิเหนาใหญ่)

“ปุณโณวาทคำฉันท์” แต่งโดยมหานาค วัดท่าทราย สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตอนที่บรยายถึงมหรสพสมโภชงานนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี มีความตอนหนึ่งว่า

๐ ร้องเรื่องระเด่นโดย บุษบาตุนาหงัน
พักพาคูหาบรร – พตร่วมฤดีโลม ๐

นี่เป็นเรื่อง “อิเหนาเล็ก” เพราะเรื่องดาหลังหรืออิเหนาใหญ่นั้นไม่มีฉากบุษบาถูกลักตัวไปไว้ในถ้ำ


Related Posts

ภาพพระเตมีย์ บนใบเสมาทวารวดีอีสาน
ต้นกำเนิดนิทาน “ตาเจี้ย ตาลูน – ปลาบู่ทอง – เต่าคำ และซินเดอเรลล่า”
เมืองฮม เมืองโบราณกว่า ๔๐๐ ปี ของลาว
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com