มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (5)

12

มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (5)
ทองแถม นาถจำนง

– การรวบรวมบทเรียน, ข้อมูล เพื่อดำเนินการขบคิดทางทฤษฎีนั้น ถูกควบคุมชี้นำด้วยความคิดทางปรัชญา ยกตัวอย่างเรื่อง ความสัมพันธ์ทางเหตุและผล (ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างสรรพสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง) วิธีการเผยถึงความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งวิธีที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการอุปนัย Inductive (การให้เหตุผลแบบอุปนัย, วิธีการสรุปผลในการค้นหาความจริงจากการสังเกต หรือการทดลองหลายครั้งจากกรณีย่อยๆ แล้วนำมาสรุปเป็นความรู้แบบทั่วไป) เมื่อจะใช้วิธีการนี้ ในทางปรัชญาชี้นำต้องยอมรับ “ความมีกฏเกณฑ์ของโลกธรรมชาติ” ถ้าหากปฏิเสธ ลักษณะทั่วไป, ลักษณะความจำต้องเป็นของความสัมพันธ์ทางเหตุและผล ปฏิเสธบทเรียนทางการปฏิบัติของมนุษยชาติดังเช่นปรัชญาของ David Hume (“ทฤษฎีรับรู้ไม่ได้ : ปรัชญาจิตนิยม ฮูมเสนอว่า “ความจำเป็น” ซึ่งเราคิดกันว่ามีอยู่ในความเป็นสาเหตุนั้น หาได้มีอยู่จริงภายนอกจิตใจของเราไม่ มันเป็นผลผลิตของการทำงานบางอย่างภายในจิตใจของเราเท่านั้น โลกภายนอกจิตใจของเรานั้นไม่มี “ความเป็นสาเหตุ” ใดๆ ให้เราสังเกตทราบได้) ถ้าเชื่ออย่าง เดวิด ฮูม แล้ว วิธีการอุปนัย Inductive จะมีความหมายอะไร !

david-hume1
David Hume ภาพจาก withalliamgod

– “สิ่งทั่วไป” เพียงแต่สามารถรวบรวม “สิ่งเฉพาะราย” เข้าไว้อย่างหยาบๆ เท่านั้น มรรควิธีทางปรัชญาไม่สามารถแทนที่วิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ ปรัชญาใดๆ แม้จะถูกต้อง แต่ก็ไม่สามารถแทนที่มรรควิธีวิทยาศาสตร์ ไม่สามารถแทนที่ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติได้

– มรรควิธีทางวิทยาศาสตร์ โดยทั่วไปแล้ว เมื่อใช้กับเป้าปัญหารูปธรรมหนึ่งๆ ก็จะมีรูปแบบรูปธรรมของมัน

– มรรควิธีทางปรัชญาเพียงแต่เสนอหลักการทั่วไปของวิธีการทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น บทบาทของปรัชญาในการค้นคว้าวิทยาศาสตร์ แสดงออกโดยผ่านทาง “วิธีการทั่วไป” และ “วิธีการเฉพาะ” ของวิทยาศาสตร์

2. สสารธรรมวิภาษ Dialectical Matterialism : ความหมายทางมรรควิธีวิทยา (มรรควิธีทางวิทยาศาสตร์กับมรรควิธีทางปรัชญา)

– สสารธรรมวิภาษเป็นการสรุปรวมผลสำเร็จทั้งมวลในกระบวนการขบคิดของมนุษยชาติ มันใช้รูปแบบ “การถอดเป็นนามธรรม Abstraction” มาสะท้อนกฏเกณฑ์ทั่วไปที่สุดและลักษณะที่เป็นแก่นแท้ที่สุดของโลกธรรมชาติ สังคมมนุษย์ และกระบวนการขบคิดของมนุษย์

– สสารธรรมวิภาษเป็นโลกทัศน์แห่งวิทยาศาสตร์

– เมื่อใช้สสารธรรมวิภาษมาชี้นำ การรับรู้และดัดแปลงโลก มันก็คือมรรควิธี

– ความหมายของสสารธรรมวิภาษในทางมรรควิธีการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ก็คือ หากเดินไปตามทิศทางแห่งสสารธรรมวิภาษก็จะสามารถได้รับผลสำเร็จ เพราะมันเผยถึงกฏเกณฑ์ทั่วไปที่สุด ไม่ว่าในโลกธรรมชาติ สังคมมนุษย์และกระบวนการขบคิด มันล้วนครอบคลุมไปถึง แต่มันก็เป็นเพียงทิศทางใหญ่ๆ เท่านั้น มันไม่สามารถแก้ปัญหารูปธรรมทุกอย่างได้ เราจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ และใช้ “วิธีการเฉพาะทาง” ได้ถูกต้องด้วย จึงจะได้รับผลสำเร็จ

– เมื่อใช้สสารธรรมวิภาษเป็นมรรควิธี เราก็จะสามารถหลีกเลี่ยงการทำงานอย่าง “คลำทางอย่างมืดบอด” “ต้องลองผิดลองถูกอยู่ตลอด” และ “การก้าวไปข้างหน้าโดยไร้สำนึก” ได้

อ่าน: มรรควิธีวิทยา Methodology (1)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา Methodology (2)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา Methodology (3)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (4)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (6)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (7)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (8)

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com