เรื่องของอาหาร (๓)

เรื่องของอาหาร (๓)
เรื่องและภาพ : วีระ สุดสังข์

 

 

มนุษย์หยามเหยียดกันด้วยอาหาร., สมัยก่อน(อีกแหละ) ผู้ดีรังเกียจอาหารไพร่ แค่เห็นสี แค่ได้กลิ่นทั้งที่ยังไม่ได้ลิ้มสัมผัสรสชาติก็รับไม่ได้ ทำท่าขยะแขยง คลื่นไส้ จะอ้วก., คนกรุงไม่กินปลาร้าเหยียดคนบ้านนอกกินปลาร้า กลิ่นเหม็นอย่างนั้นกินลงไปได้อย่างไร? นี่ก็จะอ้วกอีกเหมือนกัน., คนไม่กินเนื้อดิบๆ รังเกียจคนกินเนื้อดิบๆ หาว่าหยาบหนา ป่าเถื่อน ไม่มีวัฒนธรรมในการกิน !, ไพร่บางคนที่มีโอกาสได้ชิมอาหารของผู้ดีก็รับอาหารผู้ดีไม่ได้. อาหารอะไรใส่น้ำตาล ใส่กะทิ พวกน้ำตาลและกะทิมันต้องอยู่ในขนม ในของหวาน ว่าไปโน่นเลย !, คนบ้านนอกกินอาหารคนกรุงไม่เป็น น้ำพริกกะปิรสชาติออกหวานนิดหน่อย แบบนี้กินไม่เป็น มันไม่สะใจเหมือนแจ่วปลาร้า ฯลฯ

แม้จะอยู่ในสังคมเดียวกัน แต่ในสังคมก็แบ่งชนชั้นวรรณะ มีผู้ดี มีไพร่ มีคนกรุง มีคนบ้านนอก ความแตกต่างทางชนชั้นวรรณะทำให้วัฒนธรรมลิ้นต่างกันไปด้วย

สมัยนี้ ผู้ดีตกชั้นมากขึ้น ไพร่พัฒนาเลื่อนชั้นมากขึ้น, คนกรุงรับวัฒนธรรมบ้านนอกมากขึ้น คนบ้านนอกไปอยู่กรุงมากขึ้น การรับประทานอาหารและรสชาติอาหารจึงใกล้เคียงกันมากขึ้น แต่ยังไม่ถึงขั้น “รสชาติเดียวกัน” เหมือนเด็กรุ่นใหม่ เด็กบ้านแจะแวะ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษก็รับประทานอาหารรสชาติเดียวกับเด็กบ้านต้า อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงรายได้ เด็กอุบลราชธานีก็รับประทานอาหารรสชาติเดียวกันกับเด็กกรุงเทพมหานครได้ เด็กกรุงเทพมหานครก็รับประทานอาหารอังกฤษ อเมริกาได้ อันนี้กำลังจะเป็นวัฒนธรรมใหม่ด้านอาหาร. วัฒนธรรมรวมศูนย์, ศูนย์อาหารศูนย์มนุษย์

อ่าน: เรื่องของอาหาร (๑)
อ่าน: เรื่องของอาหาร (๒)
อ่าน: เรื่องของอาหาร (๔)
อ่าน: เรื่องของอาหาร (๕)

Related Posts

ผักเม็ก ควรกินคู่กับเนื้อสัตว์
เมนูเด็ดจาก…หนัง
เรื่องของอาหาร (๕)
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com