วรวิทย์ แก้วศรีนวม

วรวิทย์ แก้วศรีนวม

เกิดวันที่ 8 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2520

อายุ 42 ปี

ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 7 หมู่ 8 ตำบล หนอง สูงเหนือ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร 49160

เบอร์โทร 062-816-5189

Email : ballbarbu@gmail.com

การศึกษา

– วิทยาลัยช่างศิลป ลาดกระบัง กรมศิลปากร

– ปริญญาตรี สาขาจิตรกรรม คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

– ปริญญาโท สาขาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร

 

 

ประวัติการแสดงผลงานศิลปะ

นิทรรศการเดี่ยว

2558 แสดงเดี่ยวนิทรรศการศิลปกรรม “เฮือน” “My Home” ณ ร้าน Bar bali bistro ถนนพระอาทิตย์ ท่าพระอาทิตย์ กรุงเทพมหานคร

2557 แสดงเดี่ยวนิทรรศการศิลปกรรม “ความจริง” ณ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

 

ประวัติการแสดงงาน

จาก 2552 – 2562 ได้แสดงผลงานมาแล้ว ทั่วประเทศไทย

ช่วงระหว่างเรียนระดับปริญญาตรี

– ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปกรรมเนื่องในวัน อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ณ ตึกศิลป์ พีระศรี 1 มหาวิทยาลัยศิลปากร

– ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปกรรม “Bangkok Art Exposition” ณ หอศิลป์แห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร

– ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานนักศึกษาคณะ จิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ สัญจร ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

– ร่วมแสดงผลงานนักศึกษาคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร

– ร่วมแสดงผลงานวาดเส้นนักศึกษาคณะ จิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

– ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปกรรม “Land and House” กรุงเทพมหานคร

– ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปกรรม “การไฟฟ้า นครหลวง” กรุงเทพมหานคร

“ตะวันตกดินที่ริมนา” เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด 70 x 90 cm.“ควายเหล็ก ไถนา” เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด 140 x 190 cm.“หลกกล้า ดำนา” เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด 93 x 140 cm.“ดำนา กลางฝน” เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด 93 x 130 cm.

เกียรติคุณ

2561

– ได้รับทุนสร้างสรรค์ ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 18 ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร

– วิทยากรบรรยายและสาธิต การวาดภาพสี น้ำมัน ให้กับนักศึกษาคณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จ.สุรินทร์

– วิทยากรบรรยายและสาธิต การวาดภาพสี น้ำมัน ให้กับนักศึกษาคณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ณ ภูผาเทิบ จ.มุกดาหาร

2558

– วิทยากรบรรยายหัวข้อ “ชีวิตละผลงาน” ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

2557

– วิทยากรบรรยายเชิงสัมมนาและปฏิบัติการ หัวข้อ “วาดเส้น” ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2546

– วิทยากรอบรมสีน้ำ, สีน้ำมัน สำหรับบุคคล ภายนอก มหาวิทยาลัยศิลปากร

2540

– ได้รับทุน “สนับสนุนนักศึกษาคณะ จิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

2539

– ได้รับทุน “บุญรอดพัฒนานิสิต” มหาวิทยาลัยศิลปากร

“แม่…เกี่ยวข้าวในนา” เทคนิค สีน้ำมันบนลินิน ขนาด 110 x 135 cm.“ลานนวด นวดข้าว” เทคนิค สีน้ำมันบนลินิน ขนาด 70 x 90 cm.“พาลูกสีข้าว” เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด 80 x 120 cm.“กระท่อมกลางนา ยามหน้าแล้ง” เทคนิค สีน้ำมันบนลินิน ขนาด 120 x 140 cm.

แรงบันดาลใจ

หลังจากที่ใช้ชีวิตเล่าเรียนและทำงานในเมืองหลวง กรุงเทพมหานคร เป็นระยะเวลา 20 กว่าปี จนมีเหตุทำให้ข้าพเจ้าได้กลับมาใช้ชีวิตอยู่ในบ้านเกิด อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ข้าพเจ้าได้กลับมาสัมผัสวิถีชีวิตชาวผู้ไทเมืองหนองสูงอีกครั้ง และสังคมของชาวผู้ไทนั้นยังคงดำรงชีวิตตามแบบวิถีเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ด้วยวิถีชีวิตที่แตกต่างจากที่เคยใช้ในเมืองหลวงมายาวนาน ทำให้ข้าพเจ้ามองเห็นมิติของความงดงาม ความคิดบางอย่างในวิถีชีวิตของชาวผู้ไทในเมืองหนองสูง โดยเฉพาะชาวนาที่ยังคงนิยมการทำนาดำเป็นส่วนใหญ่

อันเป็นที่มาของแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานชุด “นาดำ” ของข้าพเจ้า ก่อเกิดเป็นคำถามถึงระบบกระบวนการต่าง ๆ ในขั้นตอนทำนาดำที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยในปัจจุบัน การว่าจ้างกลุ่มชาวนาในกระบวนการทำนาดำที่แตกต่างจากในอดีตที่ชาวนาเคยมีการลงแรงช่วยกันแสดงถึงความเหมือนและความแตกต่างในบริบทของอดีตและปัจจุบัน แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีความงดงามที่เป็นไปตามยุคตามสมัย

จากแรงบันดาลใจเหล่านี้ ทำให้ข้าพเจ้าได้สร้างสรรค์ผลงานชุด “นาดำ” ขึ้นมาจำนวนหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการทำนาดำต่าง ๆ ที่ยังคงมีทั้งแบบดั้งเดิมและมีเทคโนโลยีด้านการเกษตรเข้ามาช่วยในยุคปัจจุบันมากขึ้น และบ่งบอกถึงพัฒนาการด้านวิถีชีวิตของชาวนาที่สอดคล้องกับโลกปัจจุบันด้วย

“บ่ายโมง…เมืองหนองสูง” เทคนิค สีน้ำมันบนลินิน ขนาด 70 x 90 cm.“ฝนจากพญาแถน” เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด 110 x 150 cm.“My Home” เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด 70 x 90 cm.

แนวความคิด

ในขณะที่โลกได้แปรเปลี่ยนสู่โลกของทุนนิยม บริโภคนิยม การดำรงอยู่ของชีวิตชาวนานั้นก็ย่อมมีเรื่องราวที่แปรเปลี่ยนไปเช่นกัน แต่สิ่งที่ดำรงอยู่นั้นยังคงเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงจิตวิญญาณของชาวนาที่มีมาตั้งแต่ในอดีต

ผลงานภาพจิตรกรรม “ควายเหล็ก ไถนา” เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการจะสะท้อนในวิถีชีวิตของชาวนาในยุคปัจจุบันนั้น ภาพ “ควายเหล็ก ไถนา” นี้แสดงออกถึงขั้นตอนที่สำคัญของการทำนาดำในยุคปัจจุบัน คือ การไถนาที่ใช้รถไถนาแบบชนิดเดินตาม หรือที่ชาวนาเรียกกันว่า “ควายเหล็ก” ซึ่งเป็นวลีมาจากการโฆษณาชวนเชื่อสินค้ารถไถ และยังมีความเกี่ยวข้องกับความคิดในเชิงทุนนิยมในยุคปัจจุบันที่แฝงอยู่ในภาพผลงาน

โดยในภาพจะเห็นกลุ่มชาวนากำลังไถนาอยู่ที่อาจจะมองดูเหมือนชาวนากำลังไถนา แต่ความเป็นจริงของการไถนาในยุคปัจจุบันนั้น ส่วนหนึ่งมีการว่าจ้างกัน และรวมถึงขั้นตอนต่าง ๆ ด้วย ที่แสดงออกถึงชาวนาในยุคปัจจุบันกำลังตกอยู่ในกระแสทุนนิยม ขณะเดียวกันวิถีชีวิตของชาวนาก็ยังคงสืบทอดการทำนาดำมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่

แม้ว่าในปัจจุบันจะมีชาวนาบางส่วนเริ่ม ทดลองการทำนาหยอดหรือนาโยน เพื่อลดขั้นตอนการทำนาดำที่มีหลายขั้นตอน แต่จะเห็นได้ชัดว่าชาวนานั้นยังคงดำรงวิถีชีวิตชาวนาไว้ และขณะเดียวกันก็ปรับเปลี่ยนกระบวนการการทำนาให้เข้ากับโลกสมัยใหม่ได้อย่างกลมกลืน ที่ สะท้อนถึงความคิดในการปรับตัวเข้ากับโลกสมัยใหม่ที่เข้ามาได้อย่างเข้าใจ

Related Posts

ยุทธศักดิ์ ลุมไธสงค์ “ศิลปินลูกอีสานผู้เรียบง่าย และรักธรรมชาติ”
มะอื่อสูง… สวัสดีปีใหม่ (๕)
“จุดนัดพบแห่งความรู้สึกพิเศษ”
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com