บริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ มาจ้างให้ไปจัดรายการ อัดเทปจากกรุงเทพ ส่งไปออกอากาศตามสถานีวิทยุทั่วภาคอีสาน 12 สถานี ใช้ชื่อรายการว่า “พบกันวันละหน” เป็นรายการข่าวสาระ สลับเพลงและหมอลำ เสนอข่าวสารบันเทิง เศรษฐกิจ และสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง และโฆษณา ” ขายยา ” มีสมาชิกและแฟน ๆ ทั่ว

อีสานหลายพันคน ใช้นามแฝงว่า “ทิดโส โปข่าว” ดังไปทั่วภาคอีสาน โดยเฉพาะ 2 จังหวัด ที่เครือข่ายกำลังส่งวิทยุฟังถึงกัน คือสถานีวิทยุ “จ.ส.4 ยโสธร” และสถานีวิทยุ “จ.ส. 6 ศรีสะเกษ” คนทั้ง 2 จังหวัดฟังสถานีไหนก็ได้ทำให้มีแฟนเยอะ

แฟน ๆ ชาวอำเภอ “ยางชุมน้อย” เวลาลง ไร่ลงนาปลูกหอมแดง ปลูกกระเทียมก็จะเปิด วิทยุรายการ “ทิดโส” (ดังข่วมทง) พอถึงหน้า เก็บเกี่ยวก็จะส่งหอมแดงมาให้เป็นเข่งเป็น ชะลอม ส่วนยโสธร นึกว่าจะส่ง “บั้งไฟ” มาให้ คงรับไม่ไหว แต่ส่งกลองโทนหนังงูเหลือมมาให้ ชมทิดโสว่าวิเคราะห์ข่าวได้แม่นยำทั้งข่าว การเมือง และข่าวทั่วไป

ที่จริงผู้เขียนสนใจเรื่องราวของการเมืองมา ตั้งแต่เรียนมัธยม ติดตามผลงานผู้แทนตั้งแต่สมัย นายฟอง สิทธิธรรม, นายเลียง ชัยกาล, นาง อรพิน ไชยกาล ส.ส.หญิงคนแรกของประเทศไทย นายสมคิด ศรีสังคม แต่ไม่สนใจอยากเป็นผู้แทน

การจัดรายการ “พบกันวันละหน” ก็เสนอ ข่าวด้านเกษตร ข่าวเศรษฐกิจ ข่าววิถีชีวิตการ ทำมาหากินต่าง ๆ ข่าวไหนเท็จ ข่าวไหนจริงก็พูด ซื่อ ๆ บอกกันตรง ๆ แบบภาษาชาวบ้าน “เว้าแบบแปน ๆ” ข่าวการเมืองบางทีพูดตรงเกินไป พูดจริงเกินไป ก็อาจไปขวางทางของนักการเมือง บางพวก จนทำให้นายทหารหัวหน้าสถานีที่มีใจ เลือกข้างอยู่ไม่พอใจ ทำหนังสือแจ้งไปที่บริษัท ผลิตยาว่า ห้ามพูดเรื่องการเมือง

ผู้เขียนก็ชี้แจงว่าการพูดเรื่องข่าวสารบ้าน เมือง เศรษฐกิจและสังคม ไม่ได้เอ่ยชื่อบุคคล ชื่อ พรรค แต่จะแนะนำแนวคิดให้ผู้ฟังได้เข้าใจถึง ข่าวไหนเท็จข่าวไหนจริง แตกต่างจากสื่ออื่น ๆ สื่อหนังสือพิมพ์ที่ชอบอ้างว่า “สื่อมีหน้าที่เสนอ ข่าวตามที่เป็นข่าว ให้ผู้อ่านเอาไปพิจารณาเอา เอง” ผู้เขียนเห็นว่าเป็นคำแก้ตัว ปัดสวะให้พ้น ตัว ประชาชนก็เปรียบเสมือนคนไข้ไปหาหมอ หมอวินิจฉัยโรคแล้วจ่ายยา โดยบอกให้คนไข้ไป เลือกยากินเอาเอง คนไข้ไม่มีความรู้เรื่องยา เหมือนประชาชนไม่รู้เรื่องกฎหมาย จะให้ พิจารณาเอาเองได้อย่างไร ผู้เสนอข่าวควรเป็นผู้ กรองข่าวก่อนเผยแพร่ไปสู่ชาวบ้านที่ไม่มีความรู้ ไปสัมภาษณ์แหล่งข่าวทั้งที่คนเป็นข่าวพูดไม่จริง นักข่าวก็รู้ แต่ยังดันนำมาเสนอเป็นข่าว แล้วชาว บ้านจะรู้ได้อย่างไรไหนจริงไหนเท็จ (นี่คือ ตัวอย่าง)

รายการ “พบกันวันละหน” โดยทิดโส โปข่าว จึงนำความเข้าใจให้ผู้ฟังชาวบ้านได้รู้ความจริง ตัวอย่างเช่น มีสมาชิกผู้ฟังท่านหนึ่งไปทำงานสวนยางอยู่กับ “นายหัว” จังหวัดชุมพร เป็น 10 ปี นายหัวรักเพราะขยันและซื่อสัตย์ วันที่ลาออกจะกลับมาอยู่บ้านเกิดยโสธร นายหัวให้กล้ายางพันธุ์ดีมาด้วย จึงไปปรึกษาเกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัด ได้รับคำตอบเหมือนกันว่าปลูกไม่ได้หรอกดินอีสานไม่เหมาะกับปลูกยาง ยางต้องปลูกที่ภาคใต้เท่านั้น จึงเขียนจดหมายมาปรึกษาทิดโส ทิดโสอ่านจดหมายออกอากาศบอกว่าไหน ๆ ก็ได้ กล้ายางพันธุ์ดีที่เจ้านายหวงแหนมาแล้ว ก็ปลูกเลย ได้ไม่ได้อีกไม่นานก็รู้

ปีต่อมาสมาชิกรายการคนเดิมจดหมายมาบอกว่า ตอนนี้กล้ายางที่ทิดโสบอกให้ปลูกสูง ท่วมหัวกำลังงาม ดีใจที่ทิดโสเตือนสติไม่งั้นคงทิ้ง กล้ายางไปแล้ว หลังจากนั้นไม่กี่ปีภาคอีสานก็ กลายเป็นภาคที่ปลูกยางคุณภาพดีไม่แพ้ภาคใต้ อีกด้วย

อีกเรื่องเพราะติดตามการเมืองมานาน รู้ว่า ภาคอีสานเป็นภาคใหม่มีประชากรมากกว่าทุก ภาค และมีส.ส.มากกว่าทุกภาคเกือบครึ่งสภา ถ้า ส.ส.อีสานมารวมตัวเป็นพรรคเดียวกัน สามารถมีเสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาลได้อีก 10 ชาติ จึงแนะนำทางรายการว่า ใครจะตั้งพรรค เป็นศูนย์กลางรวม ส.ส.อีสานไว้ให้มากที่สุด ต่อ มามีพรรคการเมืองชื่อ “พรรคความหวังใหม่” เกิดขึ้น มีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (พ่อใหญ่จิ๋ว) เป็นหัวหน้าพรรค รวม ส.ส.อีสานได้มากจนได้ เป็นรัฐบาล แต่น่าเสียดาย “ปั้นข้าวเหนียวถืกน้ำแล้วเหยื่อย” สมคำสาปแช่งของคนโบราณกล่าว ไว้ ผลสุดท้ายก็ถูกยึด

มีช่วงหนึ่ง มวลสมาชิกจังหวัดยโสธร จดหมายมาเชียร์ให้ “ทิดโส” ลงสมัครผู้แทน จังหวัดยโสธร คนยโสธรจะเทคะแนนให้หมดเลย ผู้เขียนก็ตอบออกอากาศไปว่า “ปัจจุบันนี้ทิดโสก็ เป็นผู้แทนอยู่แล้ว” ทำให้มวลสมาชิกสงสัย จึงเฉลยว่า “ทิดโสก็เป็นผู้แทนขายยา นี่ไง”

ขายยา

สมัยก่อนพวกเซลส์แมนที่นำยาจาก บริษัทผู้ผลิตไปส่งขายตามร้านขายยาต่าง จังหวัด รวมทั้งรถเร่หนังขายยา เขาจะเรียกว่า “ผู้แทนขายยา” ก็ภูมิใจนะครับว่าครั้งหนึ่งผู้ เขียนเคยเป็นผู้แทนมาแล้ว ผู้แทนขายยา ไงล่ะ…

Related Posts

มะอื่อสูง… สวัสดีปีใหม่ (๕)
เมื่อนักเดินทางมาถึง เมืองพยัคฆภูมิพิสัย (นาข่า)
ผลงานของซาตานโรงงานผลิตเม็ดเงิน
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com