มรดกผ้าอีสาน : เปียด้าย, หางเห็นและมะกวัก

มรดกผ้าอีสาน : เปียด้าย, หางเห็นและมะกวัก

ทางอีศาน ฉบับที่ ๙ ประจำเดือนมกราคม ๒๕๕๖
คอลัมน์: มรดกผ้าอีสาน
ผู้เขียน: กอง บก.
ภาพจาก “สารานุกรมภูมิปัญญาผ้าไทย”


เปีย, เปี๋ย

เป็นอุปกรณ์สำหรับม้วนด้ายหรือไหมให้เป็นไจ โดยใช้มือข้างหนึ่งจับแกนเปียไว้ มืออีกข้างหนึ่งถือด้ายแล้วแกว่งด้ายไขว้กับแขน เปียอย่างเป็นระเบียบตามปริมาณที่ต้องการ แล้วปลดด้ายออกเพื่อจับเป็นไจหรือปอย

รูปร่างเปียคล้ายไม้ฉากหรือตัว T ๒ อันวางกลับกัน ทำจากไม้ที่มีน้ำหนักเบา ประกอบด้วยไม้ ๓ ชิ้น คือแกนเปียหรือแขนเปียสำหรับจับ และไม้ลักษณะโค้งเล็กน้อยอีก ๒ ชิ้น เรียกว่ามือเปียหรือปลายเปีย ประกอบเข้าที่ปลายแกนแต่ละด้านการประกอบมือเปียที่ส่วนปลายแกนด้านหนึ่งตรงกลาง อีกด้านหนึ่งติดบิดสลับข้างกันเพื่อให้มีลักษณะไขว้กัน.

 


หางเห็นและมะกวัก

กวัก บ่ากวัก บางท้องถิ่นทางภาคเหนือเรียกบ่าก๊วก

หางเห็น ทำจากไม้เนื้อแข็ง มีสามขา ส่วนปลายด้านหนึ่งยื่นยาวคล้ายหาง เพื่อเป็นแกนสำหรับสอดมะกวัก

มะกวัก ทำจากไม้ไผ่สานเป็นลายตาหกเหลี่ยม ทรงกระบอกสูงคล้ายชะลอมปากผายความกว้างมีหลายขนาดตามแต่ผู้ใช้ต้องการ ด้านหัวมักทำให้ปลายบานออกคล้ายข้อง ด้านท้ายมีรูอยู่กึ่งกลางสำหรับสอดกับหางเห็น

ใช้กรอด้ายหรือกวักด้าย นิยมใช้กวักเก็บเส้นด้ายที่ย้อมสีแล้ว.

Related Posts

ภาพพระเตมีย์ บนใบเสมาทวารวดีอีสาน
ต้นกำเนิดนิทาน “ตาเจี้ย ตาลูน – ปลาบู่ทอง – เต่าคำ และซินเดอเรลล่า”
เมืองฮม เมืองโบราณกว่า ๔๐๐ ปี ของลาว

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com