Day

สิงหาคม 21, 2019

อนุสรณ์รัฐธรรมนูญสุรินทร์

เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙ พลเมืองชาวสุรินทร์และจังหวัดใกล้เคียงจากหลากหลายอาชีพ ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ อันเป็นตัวอย่างหนึ่งของความตื่นตัวทางการเมืองและความกระตือรือร้นของพลเมืองอีสานที่จะเชื่อมโยงท้องถิ่นของตนเข้าสู่ระบอบใหม่

มุ่งสู่เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา

ช่องแคบซุนดาในค่ำคืนเดือนมืด ๒ ทุ่มกว่า ไม่เห็นแม้กระทั่งริ้วคลื่น หากทว่าแสงระยิบระยับจากเรือบางลำที่ยังคงสัญจรผ่านน่านน้ำแห่งนี้ ขับเน้นให้ภาพอดีตของเมืองยุคเรืองโรจน์ปรากฏฉายโชน ก่อนอาณาจักรศรีวิชัยจะกุมอำนาจและเคลื่อนเส้นทางข้ามสมุทรเชื่อมโลกเข้าด้วยกัน จาก “ช่องแคบซุนดา” สู่ “ช่องแคบมะละกา”

การบูชา “ฟ้าหลวง พูราหลวง” ของไทอาหม

พิธีกรรมสวดพูราหลวงนี้เป็นพิธีสาธารณะที่มีการชุมนุมกัน สวดขับร่วมกัน เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อฟ้าหลวงและเทพเจ้าทั้งปวงของชาวอาหม บางครั้งจัดขึ้นเพื่อเป็นการสวดต้อนรับบรรดาแขกคนสำคัญที่มาเยือนชุมชน และทำพิธีสวดเรียกขวัญ ให้พร กระทำพิธีขึ้นที่อาคารทรงแปดเหลี่ยมที่เรียกว่า “หอผี”

การส่งส่วยในภาคอีสาน

การส่งส่วย คือ การส่งภาษีของไพร่หลวงที่อยู่ห่างไกลเมืองหลวงให้รัฐบาลนั่นเอง ภาคอีสานมีความสำคัญต่อรัฐบาลมากที่สุดในการส่งส่วย เพราะมีเมืองที่ส่งส่วยมากที่สุดในประเทศ กล่าวคือมีถึง ๗๒ เมือง ในขณะที่ภาคกลางมี ๓๗ เมือง ภาคตะวันออก ๑๕ เมือง ภาคใต้ ๑๒ เมือง ภาคตะวันตก ๘ เมือง ภาคเหนือ ๖ เมือง (สุวิทย์ ธีรศาศวัต ๒๕๔๘:๑๒๖)

อมตะอีสาน ไม่รู้จบ

ผมเป็นคนอีสานที่เข้ากรุงเทพฯ ในยุคนี้ ยังสงสัยและคิดหาเหตุผลว่าทำไม บัตรประจำตัวประชาชนของเราก็บ่งบอกว่า เชื้อชาติสัญชาติไทย แต่ทำไมคนภาคอื่นจึงผลักไสให้เราเป็นลาว...

ศิวนาฏราช ณ พนมรุ้ง ขอท้าว่าไม่ควรพลาดชม

“ศิวนาฏราช” หรือ พระศิวะร่ายรำเป็นภาพที่ชาวฮินดูลัทธิไศวนิกายนิยมประดับไว้ ที่ศาสนสถานเพื่อยกย่องพระศิวะในฐานะเทพ ผู้ทรงอานุภาพทั้งสาม คือ ผู้ให้กำเนิดโลก ผู้ปกป้องคุ้มครองโลก และผู้ทำลายเมื่อโลกถึง ยุคเข็ญ การร่ายรำของพระศิวะทำให้โลก หมุนเวียนเปลี่ยนกาลเวลา เช่น เมื่อโลกก้าวสู่ สหัสวรรษใหม่ ชาวฮินดูอธิบายว่าเกิดจาก “ศิวนาฏราช” ซึ่งหากพระองค์ทรงร่ายรำใน จังหวะที่พอดีโลกจะสงบสุข แต่หากพระองค์ทรง ร่ายรำด้วยจังหวะร้อนเร่า รุนแรง โลกก็จะเกิดกลียุค…

การเปลี่ยนผ่าน

จากสังคมทาส การเกณฑ์แรงงาน เลกไพร่ ส่งส่วย มาถึงสังคมทุนนิยมที่มีการกินส่วนต่าง ส่วนเกิน ใช้เงินต่อเงิน ถึงวันนี้สภาพชีวิตผู้คนใน เกือบแสนหมู่บ้านทั้งประเทศไทย ไม่เหมือนสมัย ปู่ย่าตายายอีกแล้ว คนหนุ่มสาวคนวัยแรงงาน แทบไม่มีเหลือในหมู่บ้าน แถมยังมีชีวิตอย่างไร้ หลักประกันความมั่นคงในทุกด้าน ยิ่งตลกร้ายที่ ให้คนประกอบการภาคอุตสาหกรรมผูกขาดมา สอนการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ให้คนในระบบ ราชการมาสอนนวัตวิถีแก่คนรากหญ้า ซ้ำเติม หมู่บ้านเข้าไปอีกเมื่ออภิมหาทุนรุกเข้าไปกินป่า ครอบครองทำลายภูเขาแม่น้ำ และได้สัมปทาน ขุดผลาญแร่ธาตุใต้พิภพยิ่งขึ้น

พระพุทธรูปยืนทวารวดีในภาคกลาง (๑)

นักปราชญ์ท่านสรุปลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวารวดี แบ่งออกเป็น ๓ ยุค คือ ๑. มีลักษณะของอินเดียแบบคุปตะและ หลังคุปตะ บางครั้งก็มีอิทธิพลของอมราวดีอยู่ ด้วย ลักษณะวงพักตร์แบบอินเดีย ไม่มีรัศมี จีวร เรียบเหมือนจีวรเปียก พระพุทธรูปนั่งจะขัด สมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุในราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๒

ทางอีศาน ฉบับที่ ๓ – สัมภาษณ์ รศ.สีดา สอนศรี

"แล้วของเราเลิกโชวห่วย แต่ฟิลิปปินส์ไม่เลิกนะตั้งแต่สมัยดิฉันไปเรียนเขาก็มีห้างใหญ่ ๆ แล้วขณะที่ห้างใหญ่ ๆ ประเทศเราตอนนั้นยังไม่มีเลยพอเราไปเห็นก็ตกใจว่ามีอย่างนี้ด้วย อีกอย่างซื้อของก็ต้องไปรอต่อคิวทั้ง ๆ ที่ประเทศเรายังไม่มียังไม่รู้เรื่องเลย ประเทศเขาทำทุกอย่างตามคิวหมด เพราะเป็นระบบอเมริกัน ในขณะเดียวกันโชวห่วยก็ยังมีค่ะ มีตามหมู่บ้าน"

สุวรรณี สารคณา “ผู้เนรมิตรครอบครัวได้อย่างมีชีวิตชีวา”

สุวรรณี สารคณา เกิด : อุบลราชธานี  ๒๕๑๙ การศึกษา ๒๕๓๔ – ๒๕๓๖ : วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ๒๕๓๗ – ๒๕๔๒ : ศิลปบัณฑิต (จิตรกรรม) มหาวิทยาลัยศิลปากร ๒๕๔๒ – ๒๕๔๕ : ศิลปมหาบัณฑิต (จิตรกรรม) มหาวิทยา...
Read More
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com