Day

สิงหาคม 23, 2019

สดับหู สะดุดตา สะกิดใจ

"แต่ที่ผมจะตั้งข้อสังเกตต่ออาจารย์ธัญญาก็คือที่ว่า "นายผี" ปลุกคนจนลุกต่อสู้นั้น... นอกจากต่อสู้กับผู้แทนที่เห็นท่าแต่กล้าโกง เที่ยววิ่งอยู่โทงโทง เที่ยวมาแทะให้ทรมาน...นอกจากนี้ ยังมีใครที่ใหญ่กว่าผู้แทน ซึ่งก็โกงและกดขี่บีฑาหนักกว่าผู้แทนอีกหรือไม่ หรือหยุดอยู่แค่ผู้แทน ที่มีเพียงปากและมือใช้ในสภาเท่านั้น..."

พญาแถน, พญาคันคาก และบั้งไฟ

การทำบุญบั้งไฟ เป็นประเพณี เพื่อจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาไฟแก่เทพเจ้าบนสวรรค์ผู้ดูแลน้ำฟ้า ที่ชื่อว่า วัสสกาลเทพบุตร ถ้าทำถูกใจท่าน ท่านก็จะประทานน้ำฝนให้ตามฤดูกาล แต่ที่เป็นจารึกบนใบลานอักษรไทน้อย เป็นความเชื่อของคนลาวและไทยอีสานมากที่สุด เห็นจะเป็น นิทานเรื่องพระยาแถนและนิทานเรื่องพระยาคันคาก เป็นนิทานลาวที่แพร่หลาย นับเป็นตำนานของการทำบุญบั้งไฟ ในลาวและในอีสานของไทย

ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ บทบาทนักการเมืองอีสานในอดีต

“หัวเมืองไม่ได้รับการบำรุงอย่างใดเลย ปล่อยตามธรรมชาติ แต่มองดูมณฑลชั้นในโดยเฉพาะจังหวัดพระนคร จะเห็นว่าถูกบำรุงอย่างฟุ่มเฟือยในเมื่อเทียบกันข้อนี้ชาวหัวเมืองได้พร่ำร้องมานานนักหนาแล้ว” จากประสบการณ์อันยาวนานที่ นายทองอินทร์คลุกคลีในภาคอีสานตั้งแต่เกิด เติบโต และทำงานในภูมิภาคแถบนี้ จึงทำให้เขาแน่ใจเหลือเกินว่า “ภูมิภาคแถบนี้อาภัพ เป็นลูกเมียน้อย”

ชวนตะลึง! ลึงคบูชา ราชันย์ภิเษก (๒)

ห้องศิลป์อีศาน ฉบับที่แล้ว ผมเล่าเรื่องลัทธิบูชาเทวลึงค์ในฐานะที่เป็นบุคลิกภาพอันศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์กัมพูชา ในยุครุ่งเรืองสมัย เมืองพระนคร (Angkor Period) ด้วยความเชื่อว่าความรุ่งเรืองของอาณาจักรขึ้นอยู่กับราชลึงค์อันสำคัญนี้ วิหารที่เก็บศิวลึงค์ต้องอยู่บนยอดเขา เป็นทำนอง “ภูเขาวิหาร” อาจเป็นภูเขาธรรมชาติ หรือจำลองขึ้นก็ได้ โดยตั้งอยู่กลางนครหลวง ที่ตรงนี้จะได้รับการเชื่อถือว่าเป็นแกนแห่งจักรวาล
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com