มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (7)

curiosity 2_0

มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (7)
ทองแถม นาถจำนง

การสังเกต Observations
ลักษณะภาวะวิสัยของการสังเกต

การใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์สามารถต่อเสริมความสามารถของอวัยวะรับสัมผัสของมนุษย์ เพิ่มประสิทธิภาพในการสังเกต มันสามารถลดทอนความผิดพลาดที่เกิดจากอวัยวะรับสัมผัสและสมองของมนุษย์ เพิ่มระดับความน่าเชื่อถือผลของการสังเกต

แต่อุปกรณ์ เครื่องมือ ต่าง ๆ ล้วนสร้างโดยมนุษย์และใช้โดยมนุษย์ ดังนั้นจึงยังไม่สามารถขจัดผลสะเทือนทางอัตวิสัยออกไปได้อย่างสัมบูรณ์ อุปกรณ์, เครื่องมือแต่ละอย่างก็มีขอบเขตของ การใช้ ประสิทธิภาพ ความไว ความเที่ยงตรงที่จำกัด ไม่สามารถขยายไปได้ตามใจชอบ มันยังไม่สามารถสะท้อนภาววิสัยรูปธรรมได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด ยังคงมีความผิดพลาด ความเบี่ยงเบนไปบ้างในระดับหนึ่ง

จะยกระดับความน่าเชื่อถือของการสังเกตได้อย่างไร ?

1. ต้องไม่อัตวิสัยด้านเดียว ต้องดำเนินการสังเกตอย่างเป็นระบบรอบด้าน จะทำได้เช่นนั้นต้องสร้างจิตใจรักรับผิดชอบต่อการงาน ยืนหยัดซื่อตรงต่อความเป็นจริง ละทิ้งความเห็นแก่ตัว ความงมงาย ไสยศาสตร์ และลัทธิตามก้น เป็นต้น

เมื่อข้อเท็จจริงขัดแย้งกับทัศนคติเดิมของตน ก็ต้องกล้าตรวจสอบและสลัดทัศนคติที่ผิดทิ้งไป เมื่อการสังเกตมีอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ก็ต้องกล้าหาญโดยไม่ประมาท และต้องสร้างมาตรการป้องกัน

2. ก่อนการสังเกตต้องตระเตรียมให้พร้อม ขณะสังเกตต้องละเอียดจริงจัง การเตรียมพร้อมจุดสำคัญที่สุดคือเตรียมด้านความรู้และเทคนิค ถัดลงมาคือการเลือกอุปกรณ์และการป้องกันอุบัติเหตุ

3. ยืนหยัดอดทน ทำซ้ำแล้วซ้ำอีก สิ่งที่สามารถสังเกตซ้ำได้ ต้องทำหลาย ๆ ครั้ง สิ่งหรือปรากฏการณ์ที่ไม่อาจทำซ้ำได้ ควรติดตามให้ตลอดกระบวนการ ถ่ายภาพยนตร์ อัดเทป ไว้เพื่อจะศึกษาสังเกตให้ละเอียดต่อไป

Observation is the active acquisition of information from a primary source. In living beings, observation employs the senses. In science, observation can also involve the recording of data via the use of instruments. The term may also refer to any data collected during the scientific activity.

บทบาทของการสังเกตในการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์

ในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ วิธีการสังเกตถูกใช้อย่างกว้างขวางมาก ผลสสำเร็จอันใหญ่หลวงในประวัติศาสตร์ล้วนเกิดจากพื้นฐานการสังเกต เช่น คอปเปอร์นิคัส, ชาร์ล ดาร์วิน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นมากแล้ว ปัจจุบันนี้มนุษย์ได้ยกระดับเครื่องมือในการทดลองดีขึ้นมากแล้ว ในวิทยาศาสตร์บางสาขาวิธีการสังเกตจึงลดความสำคัญลงไป เช่น วิชาชีววิทยา แต่ก่อนอาศัยการสังเกตเป็นหลัก แต่ปัจจุบันสามารถใช้วิธีการทดลองได้อย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังมีวิทยาศาสตร์บางสาขาที่วิธีการสังเกตยังเป็นวิธีการอันสำคัญยิ่ง เช่น ดาราศาสตร์, อุตุนิยมวิทยา, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา การจำแนกประเภท (Classification) พืชและสัตว์ ฯ เหล่านี้ยังต้องใช้วิธีการสังเกตเป็นสำคัญ โดยเฉพาะย่างยิ่งในวิชาดาราศาสตร์

วิทยาศาสตร์บางสาขาเช่น ฟิสิกส์ พัฒนาขึ้นโดยอาศัยวิธีการทดลองเป็นหลัก แต่ก็มักจะจำเป็นต้องใช้วิธีกาสังเกตด้วย เช่น เรื่อง “กฎแรงดึงดูด” ก็ได้ข้อสรุปมาจากข้อมูลที่สะสมไว้มากมายโดยการสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์

ความสามารถของมนุษย์เราสูงขึ้น มนุษย์เราสามารถจำลองปรากฏการณ์ที่เราไม่สามารถสังเกตโดยตรง หรือสร้างปรากฏการณ์ที่มิได้เกิดขึ้นในธรรมชาติขึ้นมาเพื่อศึกษาได้ แต่ในโลกธรรมชาติก็ยังมีปรากฏการณ์และกระบวนการที่เรายังไม่รู้ หรือยังแทรกแซงมันไม่ได้อีกมาก ต่อปรากฏการณ์ชนิดนี้ เราก็ยังต้องใช้วิธีการสังเกตไปค้นคว้ามัน วิธีการสังเกตจึงยังคงเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง

ภาพจาก: psychologytoday.com

อ่าน: มรรควิธีวิทยา Methodology (1)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา Methodology (2)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา Methodology (3)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (4)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (5)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (6)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (8)

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com