คำฉันท์ (3) วรรณลีลามรดกชาติ

คำฉันท์ (๓)
วรรณลีลามรดกชาติ
ทองแถม นาถจำนง

ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร
ภาพ : ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร

ทุกวันนี้เราต้องยอมรับว่า มีคนที่มีความสุขกับการอ่าน “คำฉันท์” ไม่มากนัก

ร้อยกรองประเภทฉันท์ ชาวสยามรับมาจากคำประพันธ์ของอินเดีย มีการพัฒนาให้ไพเราะเหมาะกับรสนิยมของชาวสยาม ฉันท์มีวิวัฒนาการตั้งแต่ไม่เคร่งครัดคำครุ ลหุ นักในสมัยกรุงศรีอยุธยา จนมาเคร่งครัดคำครุ ลหุ มากจนเกินไปในสมัยกลางยุครัตนโกสินทร์ ทำให้คำฉันท์หยุดนิ่งในกรอบตายตัว เสื่อมความนิยมลงไป อย่างไรก็ตาม มหากวียุคใกล้ก็ยังได้สร้างวรรณคดีคำฉันท์ไว้เป็นอมตะ คือเรื่อง “สามัคคีเภทคำฉันท์” ของ ชิต บุรทัต เป็นต้น

กวีร่วมสมัยที่มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูการแต่งฉันท์คือ “คมทวน คันธนู” บทกวีคำฉันท์ของเขามีอิทธิพลต่อกวีรุ่นใหม่มาก ปัจจุบันก็ยังมีกวีรุ่นใหม่ ที่แต่งกวีด้วยคำฉันท์ได้ “ถึง” ทั้งรสและสาระ เช่น “สกุณี ทักษิณา” ผู้มีผลงานติพิมพ์ใน “สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์” (พ.ศ ๒๕๕๔ – ๒๕๕๘)เป็นประจำ

ในทางวิชาการ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ “ฉันท์” ก็ยังไม่ขาดหายไป

ผลงานที่ดีเด่นของ ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร เรื่อง “วัณณะมาลี ทฤษฎีใหม่เรื่องการแต่งฉันท์ของล้านนา” เป็น พยานในเรื่องนี้

คำฉันท์ในศิลาจารึกเก่าแก่ที่พบในไทย ขอยกตัวอย่าง “จารึกหลักที่ ๕๖” พบที่เนินสระบัว (บริเวณเมืองพระรถ) ต.โคกปีบ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ท่านพุทธสิริ แต่งด้วย วสันตดิลกฉันท์ จารึกด้วยภาษาอินเดียใต้ เมื่อ พ.ศ ๑๓๐๔ ความว่า

๏ โย สพฺพโลกหิโต กรุณาธิวาโส
โมกฺขํ กโร นิรมลํ วรปุณฺณจนฺโท
เญยฺโย ทโม นวิกุลํ สกลํ วิพุทฺโธ
โลกุตฺตโร นมตถิ ตํ สิรสา มุเนนฺทํ ฯ

จารึกวิหารหลวง วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.สุโขทัย ภาษีบาลี จารึกในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ ก็ใช้ฉันทลักษณ์ “วสันตดิลกฉันท์”

“ฉันท์ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่รับอิทธิพลมาจากอินเดีย คำว่า ฉันท์ มีรากศัพท์มาจากธาตุ ฉท, ฉันท ในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่า ปรากฏมีลักษณะเป็นที่น่าพอใจ น่าพึงใจ ส่วนในภาษาบาลีคำว่า ฉันท, ฉันโท มีความหมายสองอย่าง คือ แปลว่า ความปรารถนา ความตั้งใจ และคัมภีร์พระเวท หรือลักษณะคำประพันธ์

ต้นกำเนิดของฉันท์นั้น เกิดขึ้นในสมัยพระเวทเมื่อราวสี่พันปีที่แล้ว ซึ่งถ้อยคำในคัมภีร์ฤคเวทเป็นคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือฉันท์ที่มีจำนวนคำไม่เกิน ๕๐ พยางค์ และฉันท์ที่มีพยางค์ ๕๐ – ๑๐๖ พยางค์ โดยฉันท์ที่นิยมแต่งมี ๘ ชนิด คือ คายตรี, อนุษฏุก, ตริษฏุก, ชคตี, พฤหตี, ปังกตี, วิราฏ, อุษณิก

ลักษณะฉันท์ในสมัยพระเวทไม่เคร่งครัด ครุ ลหุ มากนัก นอกจากบังคับเรื่องจำนวนคำในแต่ละบท จนกระทั่งอีกสองพันปีซึ่งอยู่ในสมัยมหากาพย์ ฉันท์ที่เรียกว่า “โศลก” ได้พัฒนารูปแบบขึ้นมาใหม่ โดยมี บาทที่ ๑ เหมือนกับบาทที่ ๓ และบาทที่ ๒ เหมือนกับบาทที่ ๔

โศลกบทแรกเกิดขึ้นโดยฤาษีวาลมีกิ รำพึงถึงนกกะเรียนที่ถูกพรานยิงตาย…..

หลังสมัยมหากาพย์ รูปแบบฉันท์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังปรากฏในคัมภีร์ฉันท์วุตโตทยะ และฉันท์โทมัญชรี ซึ่งมีฉันท์จำนวน ๓๑๑ ชนิดด้วยกัน” (“วัณณะมาลี ทฤษฎีใหม่เรื่องการแต่งฉันท์ของล้านนา” โดย ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร หน้า ๑-๒)

อ่าน: คำฉันท์ (1) วรรณลีลา มรดกชาติ
อ่าน: คำฉันท์ (2) จากอินโด-อารยัน สู่สยามพากย์
อ่าน: คำฉันท์ (4) วรรณลีลา มรดกชาติ
อ่าน: คำฉันท์ (5) วรรณลีลามรดกชาติ
อ่าน: คำฉันท์ (6) วรรณลีลามรดกชาติ ครุ ลหุ
อ่าน: คำฉันท์ (7) วรรณลีลามรดกชาติ เสียงตก
อ่าน: คำฉันท์ (8) วรรณลีลามรดกชาติ
อ่าน: คำฉันท์ (9) วรรณลีลามรดกชาติ ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง 1
อ่าน: คำฉันท์ (10) วรรณลีลามรดกชาติ ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง 2
อ่าน: คำฉันท์ (11) วรรณลีลามรดกชาติ ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง 3
อ่าน: คำฉันท์ (12) วรรณลีลามรดกชาติ ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง (จบ)
อ่าน: คำฉันท์ (13) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 1
อ่าน: คำฉันท์ (14) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 2
อ่าน: คำฉันท์ (15) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 3
อ่าน: คำฉันท์ (16) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 4
อ่าน: คำฉันท์ (17) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 5
อ่าน: คำฉันท์ (18) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 6
อ่าน: คำฉันท์ (19) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 7
อ่าน: คำฉันท์ (20) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 8
อ่าน: คำฉันท์ (21) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 9
อ่าน: คำฉันท์ (22) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 10
อ่าน: คำฉันท์ (23) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 11
อ่าน: คำฉันท์ (24) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 12
อ่าน: คำฉันท์ (25) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 13
อ่าน: คำฉันท์ (26) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 14
อ่าน: คำฉันท์ (25) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 13
อ่าน: คำฉันท์ (26) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 14
อ่าน: คำฉันท์ (27) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 15
อ่าน: คำฉันท์ (28) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 16
อ่าน: คำฉันท์ (29) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 17
อ่าน: คำฉันท์ (30) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 18
อ่าน: คำฉันท์ (31) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 19
อ่าน: คำฉันท์ (32) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 20
อ่าน: คำฉันท์ (33) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 21
อ่าน: คำฉันท์ (34) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 22
อ่าน: คำฉันท์ (35) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 23
อ่าน: คำฉันท์ (36) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 24
อ่าน: คำฉันท์ (37) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 25
อ่าน: คำฉันท์ (38) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 26
อ่าน: คำฉันท์ (39) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 27
อ่าน: คำฉันท์ (40) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 28
อ่าน: คำฉันท์ (41) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 29
อ่าน: คำฉันท์ (42) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 30
อ่าน: คำฉันท์ (43) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 31
อ่าน: คำฉันท์ (44) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 32

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com