คำฉันท์ (7) วรรณลีลามรดกชาติ เสียงตก

คำฉันท์ (๗)
วรรณลีลามรดกชาติ
เสียงตก
ทองแถม นาถจำนง

ครุ-ลหุ

เรื่อง “เสียงตก”

ในประเด็นปัญหาเรื่อง “สระอำ” นี้ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ท่านวินิจฉัยไว้ว่า

“อำ ทำไมจึงเป็นลหุได้ เป็นครุก็ได้ แต่ “อัม” เป็นครุเสมอไป ความจริงก็คือ อำ เหมือนกัน จะว่าคำนิคหิตในภาษาสันสกฤตเป็นลหุก็ไม่ถูกต้อง เพราะความจริงเป็นครุในภาษาบาลีเหมือนกัน ถ้าถือรูปอักษรเป็นเกณฑ์ก็อาจจะว่าได้ว่าต่างกัน แต่เมื่อนิคหิตในภาษาบาลี-สันสกฤตก็เป็นครุด้วยกันแล้ว จะอ้างคารมรูปอักษรก็ไม่ได้

ความจริงก็มีอยู่อย่างที่ข้าพเจ้าได้เสนอไว้แล้ว คือสุดแต่ว่าเสียงตกที่อำ หรือเสียงกระดอนผ่านไป ถ้าเสียงตกหนักที่ อำ อำก็เป็นครุ ถ้าเสียงกระดอนผ่านไป ก็เป็นลหุ” (จากหนังสือ “วิทยาสารานุกรม” พระนิพนธ์ของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์)

เรื่อง “เสียงตก” ตรงไหนนี่สำคัญ ต้องอ่านมากเห็นมาก สังเกตมาก ๆ ก็จะรู้ว่าโบราณท่านอ่านเสียงตกตรงไหน

พระองค์ท่านยังแนะนำการใช้คำครุ-ลหุ ไว้อีกว่า

“การใช้คำครุ

คำถาม – คำบาลีที่ลงเสียง อะ อิ อุ จะใช้เป็นครุบ้างได้หรือไม่ เช่น ศิลปะ เดชะ นภะ เพราะเสียงตกตรงคำนั้น ? (ใน “สมุทรโฆษ” ใช้เป็นครุหลายแห่ง ในฉันท์ ๑๙)

คำตอบ – “ศิลปะ” “เดชะ” “นภะ” ถ้าอ่านเสียงอะ โดยชัดแจ้งเป็นคำตาย ก็เป็นครุ ตัวอย่างในสมุทรโฆษมีอยู่แล้วดังได้กล่าวมา และข้าพเจ้าเองก็ได้ให้ตัวอย่างไว้ใน “วรรณคดีสาร” เล่มก่อนแล้ว

การใช้คำลหุ

คำถาม – คำบาลีที่ตัดตัวสะกดที่เป็นอักษรซ้ำหรืออักษรซ้อนตัวหน้าออกเสียนั้น จะใช้เป็นลหุได้หรือไม่ ? เช่น รัฐ ใช้เป็น รฐะ ข เป็น ทุขะ ตามมูลศัพท์เดิม คำชนิดนี้เสียงแรกต้องเป็นครุ ไม่มีโอกาสเป็นลหุได้เลย

คำตอบ – รัฐใช้เป็น รฐะ ทุข ใช้เป็นทุกขะ คือเป็นลหุ 2 คำได้ เพราะได้เคยทำกันมา” (อ้างแล้วข้างต้น)

อ่าน: คำฉันท์ (1) วรรณลีลา มรดกชาติ
อ่าน: คำฉันท์ (2) จากอินโด-อารยัน สู่สยามพากย์
อ่าน: คำฉันท์ (3) วรรณลีลา มรดกชาติ
อ่าน: คำฉันท์ (4) วรรณลีลา มรดกชาติ
อ่าน: คำฉันท์ (5) วรรณลีลามรดกชาติ
อ่าน: คำฉันท์ (6) วรรณลีลามรดกชาติ ครุ ลหุ
อ่าน: คำฉันท์ (8) วรรณลีลามรดกชาติ
อ่าน: คำฉันท์ (9) วรรณลีลามรดกชาติ ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง 1
อ่าน: คำฉันท์ (10) วรรณลีลามรดกชาติ ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง 2
อ่าน: คำฉันท์ (11) วรรณลีลามรดกชาติ ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง 3
อ่าน: คำฉันท์ (12) วรรณลีลามรดกชาติ ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง (จบ)
อ่าน: คำฉันท์ (13) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 1
อ่าน: คำฉันท์ (14) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 2
อ่าน: คำฉันท์ (15) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 3
อ่าน: คำฉันท์ (16) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 4
อ่าน: คำฉันท์ (17) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 5
อ่าน: คำฉันท์ (18) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 6
อ่าน: คำฉันท์ (19) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 7
อ่าน: คำฉันท์ (20) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 8
อ่าน: คำฉันท์ (21) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 9
อ่าน: คำฉันท์ (22) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 10
อ่าน: คำฉันท์ (23) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 11
อ่าน: คำฉันท์ (24) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 12
อ่าน: คำฉันท์ (25) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 13
อ่าน: คำฉันท์ (26) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 14
อ่าน: คำฉันท์ (25) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 13
อ่าน: คำฉันท์ (26) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 14
อ่าน: คำฉันท์ (27) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 15
อ่าน: คำฉันท์ (28) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 16
อ่าน: คำฉันท์ (29) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 17
อ่าน: คำฉันท์ (30) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 18
อ่าน: คำฉันท์ (31) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 19
อ่าน: คำฉันท์ (32) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 20
อ่าน: คำฉันท์ (33) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 21
อ่าน: คำฉันท์ (34) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 22
อ่าน: คำฉันท์ (35) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 23
อ่าน: คำฉันท์ (36) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 24
อ่าน: คำฉันท์ (37) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 25
อ่าน: คำฉันท์ (38) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 26
อ่าน: คำฉันท์ (39) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 27
อ่าน: คำฉันท์ (40) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 28
อ่าน: คำฉันท์ (41) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 29
อ่าน: คำฉันท์ (42) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 30
อ่าน: คำฉันท์ (43) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 31
อ่าน: คำฉันท์ (44) วรรณลีลามรดกชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ 32

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com