ฮีตเดือนยี่

คำว่า “คูนลาน” หมายถึง นำข้าวที่ตีแล้วมากองให้สูงขึ้นบนลานนวดข้าว หรือเป็นการคูนข้าวที่ชาวนาทำนาได้ผลดีจนได้ข้าวกองใหญ่ ซึ่งชาวนาได้ใช้ลานข้าวเป็นสถานที่ทำบุญ โดยมีข้าวที่นวดเสร็จแล้วกองไว้ในลานข้าว การทำบุญในสถานที่ดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า “บุญคูนลาน” บุญนี้อยู่ในช่วงเดือนยี่จึงเรียกว่า “บุญเดือนยี่” เป็นการทำบุญขวัญข้าวเพื่อรำลึกถึงบุญคุณของแม่โพสพ เทพธิดาประจำข้าวหรือเจ้าแม่แห่งข้าว อีกทั้งถือเป็นการขอขมาลาโทษและขอบคุณโคกระบือที่ช่วยเป็นแรงงานทำนารวมทั้งขอบคุณเพื่อนบ้านที่มาช่วยทำนาและช่วยในงานบุญครั้งนี้ด้วย

รศ. อุดม บัวศรี, วัฒนธรรมอีสาน, (ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ๒๕๔๖), หน้า ๒๖๑.

ชาวอีสานได้กำหนดจัดงานบุญในช่วงเดือนยี่โดยจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ ก่อนหาบหรือขนข้าวมาใส่ยุ้งฉางก็จะทำบุญก่อน เพื่อความเป็นสิริมงคลและความมั่งมีศรีสุข มีการนิมนต์พระมาสวดมนต์เย็นเพื่อความเป็นมงคลแก่ข้าวเปลือก พอรุ่งเช้าก็ถวายภัตตาหารเช้า เมื่อพระฉันเช้าแล้วจะทำพิธีสู่ขวัญข้าว ประพรมนํ้าพระพุทธมนต์แก่ผู้คน สัตว์และอุปกรณ์ในการทำนา บรรพบุรุษชาวอีสานได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของสถานที่ทำนาเพราะเป็นแหล่งทำมาหากินที่สำคัญของชีวิต

 

ในอดีตมีประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับข้าวถึง ๙ ครั้ง ได้แก่ เมื่อข้าวเป็นนํ้านม เมื่อข้าวเป็นข้าวเม่า เมื่อจักตอกมัดข้าว เมื่อมัดฟ่อน เมื่อกองอยู่ในลาน เมื่อทำลอมข้าว และเมื่อเก็บข้าวเข้าเล้า

นอกจากนี้ ชาวบ้านจะเตรียมเก็บสะสมฟืนไว้หุงต้มที่บ้าน ที่ว่าเดือนยี่หาฟืนมาไว้ถือเป็นประเพณีที่เก่ามาอย่างนี้ แต่ความจริงแล้วเดือนนี้ไม่มีงานบุญดังนั้นเมื่อเดือนยี่ไม่มีประเพณีใด ๆ ในทางพระพุทธศาสนา ปราชญ์อีสานจึงจัดการงานบุญคูนลานให้อยู่ในเดือนนี้ ซึ่งนับเป็นช่วงที่เหมาะกับสถานการณ์ช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตพอดี จนกลายเป็นงานบุญประจำเดือนยี่ตั้งแต่นั้นมา แต่ก่อนในเดือนนี้จะเป็นประเพณีเลี้ยงผีฟ้าแถนหรือประเพณีไหว้แถน มีปรากฏตามหลักฐานประวัติศาสตร์ลาวในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มและถูกยกเลิกในสมัยพระโพธิสารราชเพราะพระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด

 

จะเห็นว่า ประเพณีนี้มีมาก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเข้ามาเผยแผ่ในดินแดนลาวและอีสานหลังจากรับพระพุทธศาสนาจากอินเดียแล้วบรรพบุรุษชาวอีสานก็ได้ปรับคติความเชื่อเรื่องผีแถนให้เข้ากับพระพุทธศาสนากับศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามาใหม่ จึงพัฒนามาเป็นบุญคูนลานที่มีทั้งพิธีพุทธและพิธีพราหมณ์ ตามคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ดังเรื่องราวของชาวนาสองพี่น้องต่อไปนี้

สุจิตต์ วงษ์เทศ, พลังลาว ชาวอีสาน มาจากไหน ?, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๔๓), หน้า ๒๕๘.
ประวัติชาวนาสองพี่น้อง

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วนั้น ในสมัยก่อนพุทธกาล หลังจากผ่านพ้นวรกัปที่มีพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาตรัสรู้แล้ว ๓ พระองค์ กาลเวลาแห่งศาสนาก็เสื่อมสูญไป โลกนี้ก็ว่างเปล่าจากพระพุทธศาสนาอยูน่ านแสนนาน ครั้นสิ้นวรกัปแล้วก็กัปใหม่เกิดขึ้นมาอีก ก่อนที่จะถึงกัปใหม่โลกก็ตกอยู่ภายใต้ความมืดบอดทางปัญญาธรรม เพราะขาดพระพุทธเจ้ามาสั่งสอนอบรมจึงกลายเป็นสุญญกัปไป ต่อมาสารกัปเกิดขึ้นมีพระพุทธเจ้าเสด็จมาตรัสรู้ในโลกหนึ่งพระองค์ทรงพระนามว่า “พระปทุมมุตตรพุทธเจ้า”

ปทุมมุตตร หมายถึง พระพุทธเจ้าผู้ทรงอยู่เหนือดอกบัวที่มาของชื่อปทุมมุตตระนั้นเพราะว่า หลังจากตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พอเสด็จลุกจากมหาโพธิบัลลังก์ เมื่อทรงยกพระบาทขึ้นแล้ววางบนพื้นดิน ก็เกิดเป็นดอกบัว (ดอกปทุม) ผุดขึ้นรับพระบาท ดอกบัวขนาดใหญ่มีกลีบยาว ๙๐ ศอก เกสรยาว ๓๐ ศอก และ ๑๒ ศอก ตรงบริเวณที่วางพระบาท ๑๑ ศอก พระสรีระมีความสูงถึง ๕๘ ศอก เมื่อพระบาทขวาและซ้ายย่างเหยียบอยู่บนดอกบัว ก็จะเกิดละอองเกสรประมาณทะนานใหญ่ฟุ้ง ขึ้นโปรยรดพระสรีระ มีรัศมีเปล่งสว่างไสวออกปกคลุมละอองเกสรและแผ่ออกไปโดยรอบถึง ๑๙๒ กิโลเมตร สวยงามเหมือนสายนํ้าที่ไหลพุ่งออกมาด้วยพลังเครื่องส่ง พอจะยกพระบาทก้าวย่างต่อไปดอกบัวที่ผุดขึ้นก่อนก็จะหายไป จะมีดอกบัวใหม่ผุดขึ้นมารับพระบาทเป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ตามรอยพระบาทที่ก้าวย่างไป

ในอดีตยุคมัณฑกัปนับถอยหลังจากกัปนี้ไป๓๐๐,๐๐๐ กัป เป็นกัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ ๒ องค์ พระปทุมมุตตรพุทธเจ้าประสูติในกรุงหงสาวดี มีพระชนกพระนามว่า “อานันทะ” มีพระชนนีพระนามว่า “สุชาดา” มีพระมเหสีพระนามว่า “สุลทัตตา” มีพระโอรสพระนามว่า “อุตตระ” ท่านครองเพศฆราวาสอยู่  ๙,๐๐๐ ปีทรงเห็นนิมิต ๔ ประการจึงเสด็จออกจากปราสาทไปบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วันจึงได้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้าภายใต้ต้นสน มีพระเทวิลเถระและพระสุชาตเถระเป็นคู่อัครสาวก พระสุมนเถระเป็นพุทธอุปัฏฐาก พระอมิตาเถรี และพระอสมาเถรีเป็นคู่อัครสาวิกา อมิตอุบาสกและติสสอุบาสกเป็นคู่อัครอุปัฏฐาก หัตถาอุบาสิกาและสุจิตตาอุบาสิกาเปน็ คูอั่ครอุปฏั ฐายิกา ในกัปนี้มนุษย์มีอายุขัย ๑๐๐,๐๐๐ ปี และพระองค์ก็มีพระชนมายุ ๘ หมื่นปี

ในสมัยนั้นพระปทุมมุตตรพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรประมาณ ๑ แสนรูป ได้เสด็จไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งบ้านเล็กเมืองใหญ่ เพื่อแสดงธรรมโปรดมหาชนไปทั่วทิศทั้งในหมู่บ้าน เขตตำบล หรือตามชนบทต่าง ๆ ที่ห่างไกลความเจริญและเมืองหลวง มีอยูค่ รั้งหนึ่งได้เสด็จมาถึงนครหงสาวดี เจ้าผู้ปกครองนครหงสาวดีที่เป็นพระพุทธบิดา ทรงทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงนครหงสาวดีแล้ว จึงได้เสด็จออกไปต้อนรับตามราชประเพณี แล้วพระพุทธเจ้าก็ได้แสดงธรรมให้ฟัง หลังจากจบพระธรรมเทศนาแล้วพุทธบริษัทก็ได้บรรลุธรรมขั้นต่าง ๆ ตามกำลังบารมีของตนเอง แล้วพระราชาจึงได้นิมนต์ให้พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสามเณร ได้เสด็จมาเสวยภัตตาหารในพระราชวังวันพรุ่งนี้เช้า

กาลครั้งนั้นมีชายหนุ่มคนหนึ่งได้เกิดมาในตระกูลคหบดีที่มีอันจะกิน มีความสมบูรณ์พร้อมในชีวิตทุกอย่าง เป็นที่รักของพ่อแม่และญาติพี่น้องทุกคน พ่อแม่มีความเคารพศรัทธาในพระพุทธศาสนาพอลูกเกิดมาก็เจริญรอยธรรมตามพ่อแม่ อยู่มาวันหนึ่งชายหนุ่ม ท่านนี้เข้าไปทำบุญที่วัดอย่างที่เคยทำวันนั้นได้ถือนํ้าอบหรือเครื่องหอมต่าง ๆ ที่สกัดจากเปลือกไม้และดอกไม้ พร้อมทั้งนํ้าปานะเข้าไปวัดพร้อมกับคนอื่น ๆ เผอิญว่าวันนั้นเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงสถาปนาพระภิกษุรูปหนึ่ง ว่าเป็นผู้เลิศกว่าใครในด้านบรรลุธรรมก่อนใคร ๆ ในพระพุทธศาสนา เมื่อชายหนุ่มท่านนี้ได้เห็นการยกย่องพระภิกษุเช่นนี้ จึงคิดว่า “พระภิกษุรูปนี้เป็นพระที่มีความยิ่งใหญ่มากกว่าใคร ไม่มีใครที่เข้าถึงธรรมได้ก่อนพระภิกษุสงฆ์รูปนี้อีกแล้ว ท่านเป็นรองแค่พระพุทธเจ้าเท่านั้นเอง เป็นบุคคลที่น่าอัศจรรย์มาก ๆ เลย ถ้าเป็นไปได้หากว่าตัวเราเองสามารถเข้าถึงธรรมก่อนใคร ๆ ในสมัยของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ในอนาคตก็คงดี น่าจะเป็นเหตุการณ์ที่พิเศษจริง ๆ คงจะไม่มีอะไรที่พิเศษไปกว่านี้แล้วสำหรับเรา”

หลังจากเสร็จพิธีมอบตำ แหน่งนี้แล้วพระพุทธเจ้าก็ได้แสดงพระธรรมเทศนาต่อ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจบแล้ว ชายหนุ่มท่านนี้ก็ได้เข้าเฝ้ากราบทูลนิมนต์ เพื่อให้เสด็จไปเสวยภัตตาหารในวันพรุ่งนี้เช้า ด้วยความเมตตาพระพุทธเจ้าจึงรับนิมนต์ จากนั้นชายหนุ่มก็กราบทูลลากลับบ้านของตนต่อไป พอเดินทางมาถึงเรือนของตนแล้วก็ได้จัดเตรียมสถานที่ ประดับตกแต่งบริเวณที่ฉันอย่างสวยงาม และที่ประทับนั่งสำหรับพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดี พร้อมทั้งให้คนช่วยกันจัดหาอาหารคาวหวานอย่างดีที่สุด เตรียมงานบุญตลอดทั้งคืนจนรุ่งสาง เมื่อถึงเช้าวันต่อมาพระพุทธเจ้าก็ได้เสด็จมาพร้อมพระภิกษุสามเณรจำนวน ๑ แสนรูป ชายหนุ่มก็ได้ถวายภัตตาหารต่าง ๆ พร้อมของหวานและผลไม้หลากชนิด หลังจากเสวยเสร็จแล้วชายหนุ่มท่านนี้ก็ได้วางผ้ามัดหนึ่งคู่ ถวายเป็นผ้าเพื่อตัดเย็บทำเป็นจีวรได้ ๓ ผืน ใกล้กับพระบาทของพระพุทธเจ้า แล้วพระพุทธเจ้าและพระภิกษุก็หยิบผ้านั้นเพื่อใช้เป็นผ้าบังสุกุลจีวร

ในขณะนั้นเองชายหนุ่มท่านนี้กลับฉุกคิดได้ว่า “วันนี้เราต้องการทำงานใหญ่ในอนาคต ไม่ได้ปรารถนาตำแหน่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราปรารถนานั้นเป็นตำแหน่งที่ยิ่งใหญ่มากเลย หากเราทำบุญเพียงวันเดียวก็คงไม่เหมาะ ควรถวายมหาทานเช่นนี้ตลอดทั้ง ๗ วันติดต่อกัน แล้วจึงค่อยตั้งความปรารถนาในวันสุดท้ายถึงจะดี” เมื่อคิดได้เช่นนี้แล้วจึงกราบทูลนิมนต์ให้พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสามเณร มารับมหาทานต่อไปอีก ๖ วันที่เหลือให้ครบ ๗ วัน พอวันสุดท้ายหลังจากพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสามเณรฉันเสร็จแล้ว ชายหนุ่มจึงให้คนเปิดห้องเก็บผ้าไตร คัดเลือกเอาแต่ผ้าเนื้อละเอียดอย่างดี แล้วนำออกมาวางใกล้พระบาทพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสามเณรประมาณ ๑ แสนรูป แล้วกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นับแต่วันนี้เป็นต้น

ไปขอให้ข้าพระองค์ได้บวชในพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งอนาคต แล้วขอให้เข้าถึงธรรมก่อนผู้อื่น เหมือนกับพระภิกษุรูปที่พระองค์ทรงสถาปนาไปแล้วนั้นเถิดพระเจ้าข้า” แล้วจึงหมอบกราบลงใกล้พระบาทด้วยความเคารพ

หลังจากพระปทุมมุตรพุทธเจ้าทรงสดับคำปรารถนาเช่นนี้แล้ว จึงได้ใช้พระญาณที่สามารถรู้อนาคตได้ตรวจพบว่า “ชายหนุ่มผู้ใจบุญท่านนี้เป็นคนมีบุญญาธิการมาก ในอนาคตความปรารถนาจะสำเร็จได้ในที่สุด แต่ต้องรอนานหน่อยนับต่อนี้ไปอีกแสนกัปโน้น ” จึงตรัสบอกว่า “ดูก่อนชายหนุ่มผู้หวังความเจริญในพระธรรม ที่ปรารถนาเอาไว้นั้นอีก ๑ แสนกัปในอนาคตจะเป็นจริง จะมีพระพุทธเจ้าทรงนามว่า “โคตมะ” มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า หลังจากที่ได้ฟังพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ในคราวที่ท่านแสดงธรรมเป็นครั้งแรกนั้น”

 

เมื่อพระปทุมมุตรพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ชายหนุ่มนั้นแล้ว พระองค์ก็ได้ปฏิบัติศาสนกิจแสดงธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ให้ผู้คนทั้งหลายได้เข้าถึงธรรมแล้วจึงเข้าสู่นิพพาน เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วพระรัศมีนั้นได้แพร่ครอบคลุมไปไกลถึง ๑,๖๐๐ กิโลเมตร พระสรีระของพระองค์ได้รวมกันเป็นแท่งเดียวกันเหมือนก้อนทอง พุทธศาสนิกชนจึงพากันสร้างเจดีย์บรรจุพระสรีระของพระองค์ มีความสูงถึง ๑๑๒ กิโลเมตร ด้วยความศรัทธาของชายหนุ่มและด้วยเกิดมาเป็นคนร่ำรวยจึงสละทรัพย์เพื่อสร้างเจดีย์บริวารรายรอบเจดีย์ใหญ่ที่บรรจุพระพุทธสรีระ คิดเป็นมูลค่าเท่ารัตนะ ๑,๐๐๐ ดวง และในวันที่สร้างพระเจดีย์แล้วนั้นก็ได้สละทรัพย์เพื่อสร้างเรือนแก้วภายในเจดีย์ด้วย หลังจากนั้นมาชายหนุ่มท่านนี้ก็ได้หันมาทำบุญอย่างจริงจังเป็นเวลาติดต่อกันประมาณ ๑ แสนปี แล้วสิ้นอายุขัยตายไปเกิดบนสวรรค์เสวยสุขสืบมา

องฺ.อ. ๑/๑/๒๔๑-๒๔๗.

เมื่อกาลเวลาผ่านศาสนาของพระปทุมมุตตรพุทธเจ้าหมดไปจากโลก โลกนี้ก็ว่างเปล่าจากพระพุทธศาสนาและเป็นการสิ้นสุดแห่งสารกัปไปด้วย ถือเป็นช่วงเวลาที่สูญเปล่าก่อนที่จะเข้าสู่กัปใหม่ เพราะไม่มีพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาตรัสแม้พระองค์เดียว กาลเวลานี้เรียกว่า “สุญญกัป” เป็นเวลาที่สามารถกำหนดนับได้ถึงสามหมื่นมหากัปโลกจึงเต็มไปด้วยความมืดบอดแห่งปัญญาธรรม หาผู้ที่จะชี้ทางไปซึ่งหนทางแห่งพระนิพพานไม่มี

หลังจากที่สามหมื่นสุญญกัปผ่านพ้นไปแล้ว มีกัปใหม่ที่เกิดขึ้นเรียกว่า “มัณฑกัป” เป็นกัปที่มีพระพุทธเจ้าเสด็จมาตรัสรู้บนโลกนี้อีก ๒ พระองค์นับตั้งแต่ผ่านพ้นสามหมื่นสุญกัปแล้ว โลกนี้ก็กลับเข้ามาสู่แสงสว่างทางปัญญาธรรมอีกครั้ง มีพระพุทธเจ้าพระองค์แรกทรงพระนามว่า “พระสุเมธพุทธเจ้า” ในครั้งนั้นมนุษย์มีอายุขัย ๙๐,๐๐๐ ปี และพระองค์ก็มีพระชนมายุ ๗๒,๐๐๐ ปี ระหว่างรอยต่อพระศาสนาของพระสุเมธพุทธเจ้ากับ “พระสุชาตพุทธเจ้า” กินเวลานานแสนนานถึงหนึ่งพุทธันดร แล้วพระสุชาตพุทธเจ้าก็มาตรัสรู้ ในครั้งนั้นมนุษย์มีอายุขัย ๙๐,๐๐๐ ปี และพระองค์ก็มีพระชนมายุ ๗๒,๐๐๐ ปีเช่นกัน

ครั้นล่วงเลยศาสนาของพระสุชาตพุทธเจ้าไปนานแสนนานแล้ว กาลสมัยแห่งมัณฑกัปเป็นอันสิ้นสุดไปด้วย หลังจากนั้นก็เข้าสู่ยุคสุญญกัป เป็นเหตุให้หมู่สัตว์พลอยมืดบอดปัญญาธรรมขาดจากมรรคผลนิพพาน การสิ้นไปแหง่ กาลเวลาโลกก็เข้าสู่กัปใหม่อีก เรียกว่า “วรกัป” ในวรกัปนี้มีพระพุทธเจ้าเสด็จมาตรัสรู้บนโลก ๓ พระองค์ พระองค์แรกทรงพระนามว่า “พระปิยทัสสีพุทธเจ้า” ในครั้งอดีตในที่สุดแห่งกัปที่ ๑๑๘ นับถอยหลังจากกัปนี้ไป ในกัปนี้มนุษย์มีอายุขัย ๙๐,๐๐๐ ปี และพระองค์ก็มีพระชนมายุ ๗๒,๐๐๐ ปี

ครั้นล่วงเลยศาสนาของพระสุชาตพุทธเจ้าไปนานแสนนานแล้ว กาลสมัยแห่งมัณฑกัปเป็นอันสิ้นสุดไปด้วย หลังจากนั้นก็เข้าสู่ยุคสุญญกัป เป็นเหตุให้หมู่สัตว์พลอยมืดบอดปัญญาธรรมขาดจากมรรคผลนิพพาน การสิ้นไปแหง่ กาลเวลาโลกก็เข้าสู่กัปใหม่อีก เรียกว่า “วรกัป” ในวรกัปนี้มีพระพุทธเจ้าเสด็จมาตรัสรู้บนโลก ๓ พระองค์ พระองค์แรกทรงพระนามว่า “พระปิยทัสสีพุทธเจ้า” ในครั้งอดีตในที่สุดแห่งกัปที่ ๑๑๘ นับถอยหลังจากกัปนี้ไป ในกัปนี้มนุษย์มีอายุขัย ๙๐,๐๐๐ ปี และพระองค์ก็มีพระชนมายุ ๗๒,๐๐๐ ปี

เมื่อกาลเวลาแห่งศาสนาของพระปิยทัสสีพุทธเจ้าเสื่อมสูญสลายไปแล้ว โลกก็กลับมาสู่ความว่างเปล่าจากพระพุทธศาสนาอีกรอบหนึ่ง ซึ่งกินเวลาไปนานแสนนานหนึ่งพุทธันดร ต่อแต่นั้นมาก็มีพระพุทธเจ้าพระองค์ที่สองเสด็จมาตรัสรู้บนโลกทรงพระนามว่า “พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า” ในครั้งอดีตในกัปที่ ๑๑๘ นับถอยหลังจากกัปนี้ไป ในกัปนี้มนุษย์มีอายุขัย ๑๐๐,๐๐๐ ปี และพระองค์ก็มีพระชนมายุ ๘ หมื่นปี ต่อมาเป็นศาสนาของ “พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า” ในครั้งอดีตในกัปที่ ๑๑๘ นับถอยหลังจากกัปนี้ไป ในกัปนี้มนุษย์มีอายุขัย ๑๐๐,๐๐๐ ปี และพระองค์ก็มีพระชนมายุ ๘ หมื่นปี หลังจากผ่านพ้นวรกัปไปแล้วเข้ากัปใหม่เป็นสุญญมหากัปกับอีก ๒๔ มหากัป เป็นเวลาว่างเว้นจากพระพุทธเจ้า ต่อมาเข้าสู่สารกัปมีพระพุทธเจ้าหนึ่งพระองค์คือ “พระสิทธัตถพุทธเจ้า” ในครั้งอดีตในกัปที่ ๙๔ นับถอยหลังจากกัปนี้ไป ในกัปนี้มนุษย์มีอายุขัย ๑๐๐,๐๐๐ ปี และพระองค์ก็มีพระชนมายุ ๘ หมื่นปี

พระมหา ดร.สุขพัฒน์ อนนท์จารย์, กว่าจะมาเป็นพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ส.ธรรมภักดี, ๒๕๔๗), หน้า ๙๗ – ๑๑๑.

หลังจากผ่านพ้นสารกัปล่วงไปแล้ว ก็ล่วงเลยเข้าสู่ต้นกัปใหม่เป็นช่วงที่ไม่มีพระพุทธเจ้าพระองค์ใดมาตรัสเลย ยุคนั้นเป็นยุคสุญญกัป และล่วงเลยกินเวลาไปถึงสองมหากัปจึงทำให้โลกนี้ว่างเว้นจากพระพุทธศาสนาเป็นเวลายาวนาน หลังจากนั้นมาจึงเกิดกัปใหม่ เรียกว่า มัณฑกัป มีพระพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติ ๒ พระองค์ ในมัณฑกัปมีพระพุทธเจ้าพระองค์แรกที่เสด็จอุบัติตรัสรู้ ทรงพระนามว่า “พระติสสพุทธเจ้า” ในครั้งอดีตในที่สุดกัปที่ ๙๒ นับถอยหลังจากกัปนี้ไป ในกัปนี้มนุษย์มีอายุขัย๑๐๐,๐๐๐ ปี และพระองค์ก็มีพระชนมายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ต่อมาเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สองทรงพระนามว่า “พระปุสสพุทธเจ้า” ในครั้งอดีตในที่สุดกัปที่ ๙๒ นับถอยหลังจากกัปนี้ไป ในกัปนี้มนุษย์มีอายุขัย ๙๐,๐๐๐ ปี และพระองค์ก็มีพระชนมายุ ๗๒,๐๐๐ ปี

ครั้นเวลาศาสนาของพระปุสสพุทธเจ้าล่วงเลยไปและมัณฑกัปผ่านพ้นไป กัปก็เริ่มเกิดขึ้นมาอีกแต่ว่าในกาลครั้งนั้นเป็นช่วงที่ไม่มีสุญญกัปมาคั่นระหว่างกัปเหมือนดังกัปที่ผ่านมา มหากัปที่เริ่มต้นใหม่เรียกว่า “สารกัป” มีพระพุทธเจ้าเสด็จมาตรัสรู้บนโลกนี้เพียงแค่พระองค์เดียว ทรงพระนามว่า “พระวิปัสสีพุทธเจ้า” ในครั้งอดีตกัปที่ ๙๑ นับถอยหลังจากกัปนี้ไป ในกัปนี้มนุษย์มีอายุขัย ๘๐,๐๐๐ ปี และพระองค์ก็มีพระชนมายุ ๖๔,๐๐๐ ปี

หลังจากชายหนุ่มสร้างกรรมนั้นเวลาก็ผ่านไปนานแสนนาน มีพระพุทธเจ้าลงมาอุบัติและตรัสรู้ไปแล้วหลายพระองค์ ได้เวียนว่ายตายเกิดระหว่างสวรรค์กับโลกมนุษย์เป็นเวลานาน ช่วงนั้นมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ไปแล้ว ๘ พระองค์ สิ้นกาลเวลาไปถึง ๙๙,๙๐๐ กัป ในท้ายมัณฑกัปที่ ๙๑ ชายหนุ่มนั้นได้มาเกิดในบ้านของผู้มีอันจะกินครอบครัวหนึ่ง ในหมู่บ้านรามคามซึ่งอยู่ใกล้กับประตูเมืองพันธุมดี มีชื่อว่า “มหากาล” และมีน้องชายคนหนึ่งชื่อว่า “จุลกาล” เกิดมาในตระกูลที่มีความเคารพเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา

ปุ้ย แสงฉาย อนงคาราม, พระไตรปิฎกมหาวิตถารนัย ๕๐๐๐ กัณฑ์ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖๓, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ส.ธรรมภักดี, ๒๕๑๘), หน้า ๒๒๓ – ๒๒๘.

อยู่มาวันหนึ่ง พระวิปัสสีพุทธเจ้าได้เสด็จมาแสดงธรรมแก่พระขัณฑราชกุมาร ผู้เป็นน้องชายและบุตรชายของปุโรหิตชื่อว่า “ติสสะ” ที่เขมมิคทายวัน เมื่อเทศนาจบลงแล้วท่านทั้งสองได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระอรหันต์ และทรงสถาปนาพระขัณฑเถระเป็นพระอัครสาวกรูปที่ ๑ พระติสสเถระเป็นพระอัครสาวกรูปที่ ๒ ฝ่ายพระราชาผู้เป็นพระพุทธบิดาทรงทราบเรื่องแล้ว ก็ได้เสด็จมาหาทรงสดับพระธรรมเทศนาแล้วก็แสดงตนเพื่อเข้าถึงพระรัตนตรัย และกราบทูลนิมนต์ให้เสด็จเสวยภัตตาหารในวันพรุ่งนี้เช้าหลังจากพระราชาเสด็จถึงพระราชวังแล้วก็ทรงดำริได้ว่า “ในเมื่อตอนนี้ลูกคนโตของเราออกบวชเป็นพระพุทธเจ้า คนที่ ๒ ก็เป็นพระอัครสาวก ส่วนลูกชายปุโรหิตเองก็เป็นสาวกคนที่ ๒ และพระภิกษุอีกจำนวนหนึ่งแต่ก่อนก็เคยเป็นบริวาร อีกทั้งเมื่อก่อนนั้นเขาก็เคยดูแลเราด้วยกันทั้งนั้น เราควรดูแลพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นด้วยปัจจัย ๔ จึงจะดีกว่า” เมื่อดำริได้เช่นนี้จึงได้สร้างรั้วกั้นสองข้างทางตั้งแต่ซุ้มประตูวิหารไปจนถึงพระราชนิเวศน์ด้านบนก็ทำเพดานประดับด้วยพวงดอกไม้ต่าง ๆ และตกแต่งเส้นทางเสด็จเป็นอย่างดี จนทำให้ผู้คนฝ่ายนอกไม่สามารถจะมองเห็นพระพุทธเจ้าและพระภิกษุได้เลย อันเป็นการปิดโอกาสผู้อื่นไม่ให้ทำบุญและสักการบูชาพระพุทธเจ้าได้ด้วย

เมื่อเวลาผ่านไปนานถึง ๗ ปี ๗ เดือนแล้ว ผู้คนทั้งหลายต่างพากันคิดและปรึกษาหารือกันว่า“พระพุทธเจ้าตรัสรู้ตั้ง ๗ ปี ๗ เดือนแล้ว แต่พวกเรายังไม่มีโอกาสได้เข้าใกล้เลย พระราชาได้ทำบุญกับพระพุทธเจ้าแต่เพียงผู้เดียว ทำอย่า งนี้ได้อย่างไรกัน เพราะว่า “พระพุทธเจ้าพระสงฆ์ท่านเป็นบุคคลสาธารณะ ท่านเป็นสมบัติของคนทุกคน เราก็มีส่วนในการสร้างบุญด้วย ขณะที่พระราชาได้อุปัฏฐากดูแลอยู่พระองค์เดียว ทั้งที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่ใช่อุบัติมาเพื่อพระราชาเท่านั้น นรกสวรรค์เป็นของทุกคน ทุกคนมีสิทธิ์จะทำบุญด้วยเหมือนกัน ถ้าหากยังเป็นเช่นนี้อยู่พวกเราจะเข้ากราบทูลให้พระราชาทรงทราบเพื่อให้พระองค์ประทานพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สามเณรให้แก่พวกเราได้ทำบุญและสักการบูชาบ้างถ้าหากการขอไม่เป็นผลแล้วก็จะพากันเปิดศึกรบกับพระราชา แล้วนำพระภิกษุสงฆ์สามเณรไปบำเพ็ญบุญเลย”

หลังจากที่ชาวบ้านชาวเมืองเขาปรึกษากันแล้วจึงมีความเห็นร่วมกันว่า “หากว่ามีเพียงลำพังพวกเราชาวบ้านธรรมดา เป็นการยากมากที่งานนี้จะสำเร็จ ไม่อาจจะกระทำการใหญ่นี้ได้ พวกเราต้องเข้าหาคนที่มีอิทธิพลที่เห็นด้วยกับพวกเราให้เป็นแกนนำ” เมื่อทุกคนเห็นด้วยแล้วก็พากันไปพบท่านเสนาบดี แจ้งความประสงค์ให้ทราบ ท่านเสนาบดีก็เข้าร่วมด้วย จากนั้นท่านเสนาบดีไปเข้าเฝ้าพระราชาแล้วกราบทูลว่า “ข้าแต่สมมติเทพ ชาวบ้านชาวเมืองพากันโกรธเคืองพระองค์มาก เพราะพระองค์อุปัฏฐากพระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว คนอื่นไม่มีโอกาสเช่นนี้เลย หากได้ทำบุญและได้สักการบูชาบ้างพวกเขาก็จะไม่โกรธ ถ้าไม่ได้พวกเขาก็จะเปิดศึกรบกับพระองค์ทันที พระเจ้าข้า…”

เมื่อพระราชาได้รับทราบเช่นนั้น พร้อมทั้งมีสายรายงานความเคลื่อนไหวของประชาชน และกลุ่มข้าราชการทหารบางส่วนที่เข้าร่วมกับประชาชนเมื่อทรงทราบถึงการรวมตัวของชาวพระนครที่มีกำลังพลมาก อีกทั้งเสนาบดีก็ยังเป็นฝ่ายเดียวกับชาวบ้านด้วย จึงตรัสว่า “ขอให้ชาวบ้านรอไปอีก ๗ ปี ๗ เดือนก็แล้วกัน” เมื่อชาวบ้านได้รับคำตอบเช่นนั้น จึงพากันไม่ยอมรับข้อเสนอเพราะเห็นว่าเอาเปรียบประชาชนมากไป ในเมื่อประชาชนไม่ยอมพระราชาจึงลดทิฐิมานะลง แล้วทรงจัดแสดงการเตรียมเครื่องไทยทานไว้สำหรับทำทานตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ทรงนำเครื่องไทยทานเหล่านั้นมาจัดถวายใน ๗ วันเท่านั้น จึงได้ให้ทานอยู่ ๖ วันพอถึงวันที่ ๗ รับสั่งให้เรียกชาวบ้านมาดูการทำมหาทานของพระองค์ แล้วตรัสว่า “ดูก่อนท่านทั้งหลาย พวกท่านสามารถที่จะให้ทานได้อย่างนี้หรือไม่…?”

เมื่อชาวบ้านได้เห็นเช่นนั้นจึงทูลว่า “ข้าแต่พระราชา ทานเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยพวกข้าพระองค์ ฉะนั้นพวกข้าพระองค์ก็สามารถจะทำได้เช่นกัน” ในเมื่อชาวบ้านจะทำได้ พระองค์ถึงกับนํ้าพระเนตรไหล จากนั้นก็เสด็จเข้าไปถวายบังคมพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์จะขอพระภิกษุสามเณรประมาณ  ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป เพื่อจะให้ชาวบ้านรับไปอุปัฏฐากตลอดชีวิต ด้วยชาวบ้านโกรธข้าพระองค์ที่ไม่ได้ให้พวกเขามีส่วนร่วมในการถวายทาน ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ไปขอพระองค์ได้โปรดอนุเคราะห์ชาวบ้านด้วยเถิด” วันต่อมาท่านเสนาบดีพร้อมกับชาวบ้านก็ได้พากันถวายทาน แล้วรวมกันจัดงานทำบุญให้ยิ่งใหญ่กว่าที่พระราชาทำ

 


ต้นตำนานงานบุญคูนลาน

ในกาลครั้งนั้นที่ชายหนุ่มได้กลับชาติมาเกิดเป็นผู้มีอันจะกิน มีชื่อว่า “มหากาล” โอกาสนี้เองจึงได้ถวายทานในวันต่อมาร่วมกับชาวบ้านทั่วไปด้วยและเขาได้บอกกล่าวกับนายจุลกาลผู้เป็นน้องชายว่า “น้องชาย วันพรุ่งนี้เป็นวันที่ครอบครัวเราจะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าถวายสักการะพระพุทธเจ้าแล้วโอกาสทองมาถึงพวกเราแล้วแหล่ะ” เมื่อน้องชายได้รับรู้อย่างนี้แล้ว จึงกล่าวว่า “พี่ชายที่รัก มีแต่ท่านเท่านั้นหรือที่รู้วิธีสักการะพระพุทธเจ้าคราวนี้”

ฝ่ายพี่ชายจึงกล่าวอีกว่า “เอาอย่างนี้ไหมถ้าหากว่าเจ้ายอมให้เราได้มีโอกาสดี ๆ ในคราวนี้ตามใจชอบ ก็จะให้คนแกะเมล็ดข้าวที่กำลังตั้งท้องแล้วประมาณ ๗๐๔ ทะนาน แล้วนำเอานํ้านมข้าวซึ่งเป็นส่วนของข้าวที่ดีที่สุดมาหุงต้มแล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้า”

“จากตำนานนายมหากาลถวายข้าวจากการทำนาในพุทธสมัยของพระวิปัสสีพุทธเจ้า จนถึงเรื่องชาวนาสองพี่นอ้ งที่ทำนาอยูด่ ว้ ยกัน เมื่อถึงเวลาที่จะต้องทำบุญครั้งแรกในตอนที่ข้าวเป็นนํ้านม ก็มีแต่ผู้พี่ทำข้าวมธุปายาสถวายพระภิกษุสามเณรอย่างเป็นกิจวัตร จึงสำเร็จเป็นพระสงฆ์รูปแรกในพุทธสมัยของพระสมณโคดม ส่วนผู้น้องทำบุญถวายข้าวเพียงครั้งเดียว จึงมีดวงตาเห็นธรรมเป็นองค์สุดท้ายก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพาน ปราชญ์อีสานจึงพากันทำบุญกันตามความเชื่อดังกล่าวนี้ เรียกว่า บุญคูนลาน หรือบุญเดือนยี่”

เมื่อน้องชายได้ยินเช่นนั้นก็รู้สึกไม่เห็นด้วย จึงกล่าวคัดค้านพี่ชายว่า “พี่จะเอาอย่างนั้นเลยหรือการกระทำอย่างนั้นไม่มีประโยชน์แก่ใครเลยนะน้องว่าวิธีอย่างนั้นไม่เห็นด้วยเลย”

พี่ชายเสนอแนวทางให้ว่า “เอาอย่างนี้ก็แล้วกันพี่จะขอแบ่งนาแปลงนี้ออกเป็น ๒ ส่วนให้ได้คนละเท่า ๆ กัน โดยผ่ากลางท้องนาไปเลย แล้วให้น้องเลือกเอาก่อนน้องจะได้ไม่เสียประโยชน์”

เมื่อน้องชายได้ฟังแนวความคิดก็เห็นด้วยกับวิธีการนี้ หลังจากนั้นก็ได้จัดแบ่งเขตนากัน แล้วพี่ชายก็ให้คนแกะเอานํ้านมข้าวเอาไปแล้วนำไปเคี่ยวกับนํ้านม (มธุปายาส) พร้อมกับใส่ของเพิ่มลงไปอีก ๔ชนิดเพื่อชูรสความอร่อย แล้วนำไปถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสามเณร ด้วยอานิสงส์ในการถวายข้าวเจือนํ้านมในครั้งนี้ ส่งผลให้ข้าวที่ถูกเก็บมารีดเอานํ้านมนั้นกลับเต็มท้องนาอีกอย่างเดิม

หลังจากข้าวแก่พอจะทำเป็นข้าวเม่าได้ นายมหากาลได้จัดทำข้าวเม่าไปถวายอีกเป็นครั้งที่ ๒

ต่อมาเมื่อข้าวแก่ขึ้นมาอีกก็ได้เก็บข้าวนั้นพร้อมกับชาวบ้าน และได้ไปถวายพระสงฆ์ด้วยเป็นครั้งที่ ๓

ในครั้งที่ ๔ ในเวลาที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ก็ได้นำข้าวไปถวายในเวลาที่ข้าวเก็บเกี่ยวนั้น

พอถึงเวลาเตรียมมัดข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้ว ก็ได้จัดข้าวที่ดีไปถวายในครั้งที่ ๕ อีก

ครั้นถึงเวลาในการมัดข้าวเป็นฟ่อน ก็ได้จัดข้าวไปถวายพระสงฆ์สามเณรอีกเป็นครั้งที่ ๖

ในครั้งที่ ๗ เวลาที่ขนข้าวขึ้นไปกองที่ลานแล้วก็ได้จัดข้าวนั้นไปถวายตอนข้าวกองในลาน

หลังจากนั้นในเวลานวดหรือตีข้าว ก็ได้จัดข้าวไปถวายเป็นครั้งที่ ๘ หลังนวดแล้ว

การถวายในครั้งสุดท้าย ในเวลาที่ข้าวขึ้นยุ้งฉางแล้ว ก็คัดข้าวที่ดีจัดไปถวาย

จะเห็นว่า นายมหากาลได้คัดเลือกข้าวในแต่ละขั้นตอนของการทำนานั้น ถวายทานตามคราวจนกว่าจะเอายุ้งได้ ๙ ครั้ง พอมาถึงครั้งสุดท้ายน้องชายจึงเข้าร่วมงานบุญด้วย ซึ่งการทำบุญเกี่ยวกับข้าวในช่วงฤดูกาลทำนาครั้งนี้ ยังมีการทำบุญด้วยเครื่องไทยทานอื่น ๆ ด้วย ด้วยอานิสงส์การทำบุญชว่ งการทำนา ผลผลิตข้าวของมหากาลก็มีอยู่อย่างเหลือเฟือตามเดิม พฤติกรรมการทำบุญดังกล่าวสมัยพระวิปัสสีพุทธเจ้าครั้งที่ยังมีพระชนม์อยู่และตราบเท่าที่พระสงฆ์ยังมีอยู่ในพระพุทธศาสนายังคงมีอย่างสมํ่าเสมอ ต่อมาชายหนุ่มในชาตินายมหากาลก็สิ้นอายุขัย ตายจากอัตภาพนั้นแล้วก็ไปเกิดบนเทวโลก

www.dharma-gateway.com

ครั้นล่วงเลยศาสนาของพระวิปัสสีพุทธเจ้าแล้วต่อมาไม่นานอายุแห่งสารกัปนั้นก็เป็นอันสิ้นสุด แต่มีช่วงว่างระหว่างกัปเป็นสุญญกัปเป็นเวลากัปแล้วกัปเล่ากินเวลาไปถึงหกสิบมหากัป เมื่อสูญกัปทั้ง ๖๐ ล่วงพ้นไป คราต่อมาจึงมีกัปใหม่เกิดขึ้นเรียกว่ามัณฑกัป ในกัปนี้มีพระพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติ ๒ พระองค์ ในสมัย “พระสิขีพุทธเจ้า” พระองค์แรกในครั้งอดีตกัปที่ ๓๑ นับถอยหลังจากกัปนี้ ในกัปนี้มนุษย์มีอายุขัย ๗๐,๐๐๐ ปี และพระองค์ก็มีพระชนมายุ ๕๖,๐๐๐ ปี เมื่อกาลเวลาแห่งศาสนาของพระสิขีพุทธเจ้าหมดไป โลกนี้ก็ว่างจากพระพุทธศาสนากินเวลาไปถึงหนึ่งพุทธันดร หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ ในมัณฑกัปนี้มาตรัสรู้ทรงพระนามว่า “พระเวสสภูพุทธเจ้า” ในครั้งอดีตกัปที่ ๓๑ นับถอยหลังจากกัปนี้ไป ในกัปนี้มนุษย์มีอายุขัย ๖๐,๐๐๐ ปี และพระองค์ก็มีพระชนมายุ ๔๘,๐๐๐ ปี

 

ครั้นกาลเวลาแห่งศาสนาของพระเวสสภูพุทธเจ้าเสื่อมสูญไป อยูต่ อ่ มามัณฑกัปก็สิ้นไปด้วย ในช่วงระหว่างกัปเรียกว่า สุญญกัป แทรกเข้ามาในระหว่างกัปกินเวลายาวนานถึง ๒๗ มหากัป นับว่าโลกต้องว่างเปล่าจากพระพุทธศาสนาเป็นกาลนานแสนนานถัดจากนั้นมาก็มาถึงมหากัปสำคัญที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน หรือเรียกชื่อว่า “ภัทรกัป” หมายถึง กัปที่เจริญที่สุดเจริญยิ่งกว่ากัปใดที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนานครั้งจึงจะปรากฏมีภัทรกัปเช่นนี้ เพราะว่า จะมีพระพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติถึง ๕ พระองค์ คือ “พระกกุสันธพุทธเจ้า” “พระโกนาคมนพุทธเจ้า” “พระกัสสปพุทธเจ้า” ทั้ง ๓ องค์นี้ได้ตรัสรู้และหมดศาสนาไปแล้ว “พระโคตมพุทธเจ้า” เป็นยุคปัจจุบันที่ดำเนินไปอยู่ และ “พระศรีอาริยเมตไตรยพุทธเจ้า” จะมาตรัสรู้ในอนาคต

 

ในชาติสุดท้ายชายหนุ่มได้มาเกิดในหมู่บ้านพราหมณ์โทณวัตถุ ก่อนที่พระพุทธเจ้าโคตมะจะประสูติ ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ผู้มั่งมีเพียบพร้อมทุกสิ่งอย่าง หมู่บ้านอยู่ไม่ไกลจากกรุงกบิลพัสดุเท่าใดนัก ท่านมีชื่อว่า “โกณฑัญญะ” เมื่อเจริญเติบโตแล้วได้เรียนจบไตรเพทพร้อมด้วยลักษณะมนต์ทั้งหลาย (ตำราทายลักษณะฯ) ได้ทำราชการประจำราชสำนักศากยะ หลังจากพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะประสูติก็ได้ร่วมทำนายพระลักษณ์มั่นใจว่า พระโอรสจะออกบวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ท่านจึงออกจากราชสำนักไปบวชเป็นฤๅษีรอจนกว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จออกผนวช เมื่อได้ตรัสรู้แล้วท่านก็ได้เข้าเฝ้าฟังปฐมเทศนากัณฑ์แรกชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” จบแล้วท่านก็เข้าถึงธรรมเป็นพระปฐมอริยสาวก พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “อญฺญา สิ วต โภ โกณฺฑโญ แปลว่า โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ” จึงทำให้มีชื่อใหม่ว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” นับแต่บัดนั้น ตามคำอธิษฐานที่ได้ปรารถนาเมื่อครั้งสมัยของพระปทุมมุตตรพุทธเจ้า

สํ.มหา. ๑๙/๑๐๘๒/๕๙๖

ส่วนน้องชายที่ชื่อนายจุลกาลได้กลับชาติมาเกิด มีชื่อว่า “สุภัททะ” เพราะอานิสงส์ที่ได้ทำบุญข้าวเพียงครั้งเดียวและเป็นครั้งสุดท้ายนั้น จึงได้เข้าถึงธรรมเป็นรูปสุดท้าย ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพานเพียงเสี้ยวนาที

นับตั้งแต่เรื่องนี้ถูกเปิดเผยขึ้นให้สาธารณชนทราบ ปวงประชาเห็นด้วยและคล้อยตามจนกลายเป็นความศรัทธา มีคติความเชื่อตามหลักปรัชญาและเหตุผลทางตรรกะ ปราชญ์ชาวอุษาคเนย์จึงนำเหตุการณ์ดังกล่าวมาเป็นอุทาหรณ์สอนใจให้กับชาวพุทธ จึงได้คิดริเริ่มงานบุญคูนลานร่วมกันขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเลือกเหตุการณ์การถวายทานในครั้งนั้น ซึ่งเหมาะกับช่วงเวลาเก็บเกี่ยวข้าวแล้วมีความสมดุลยภาพต่อวิถีชีวิตในช่วงเดือนนี้ จึงเรียกว่า บุญเดือนยี่

การทำบุญคูนข้าวยังมีงานบุญอีกลักษณะหนึ่งที่พัฒนามาเป็น “บุญกุ้มข้าวใหญ่” ที่นิยมกันในหมู่คนอีสานปัจจุบัน เพราะลานข้าวเริ่มหมดไปจากวิถีการทำนา การทำพิธีนั้นชาวบ้านจะใช้บริเวณลานวัดเป็นสถานที่ประกอบพิธี โดยชาวบ้านจะแบ่งข้าวเปลือกของตนมากองรวมกันเป็นพะเนินไว้ที่ลานหรือที่ ๆ จัดไว้ให้ จนถูกเรียกว่า “กุ้มข้าวใหญ่” เมื่อถึงเวลาประกอบพิธีในตอนเย็นก็จะนิมนต์พระภิกษุมาเจริญพระพุทธมนต์ รับศีล ฟังเทศนา พระภิกษุจะนิยมยกเอาหลักธรรมและคำ สอนเกี่ยวกับอานิสงส์ผลแห่งการรู้บุญคุณข้าวมาแสดง และอาจมีมหรสพฉลองสมโภช พอตอนเช้าวันถัดมาก็จะมีพิธีถวายภัตตาหารและถวายข้าวเปลือก พร้อมทั้งทำพิธีสู่ขวัญข้าวเปลือกตามคติความเชื่อพราหมณ์๑๐

๑๐ ประจวบ ประเสริฐสังข์ และประยงค์ อุปเสน, “รายงานการวิจัย การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมพระนักเทศน์มหาชาติทำนองอีสาน”, (สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖), หน้า ๑๐๗ – ๑๐๘.

การจัดงานบุญดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงจิตใจของคนท้องถิ่นที่ชอบทำบุญ บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิตข้าว หากได้ข้าวกองใหญ่ ฝนฟ้าในปีนั้นจะตกต้องตามฤดูกาล การเก็บเกี่ยวข้าวจะมีมากพอที่ชาวบ้านจะสามารถแบ่งมาทำบุญได้มาก นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความศรัทธา และความสามัคคีของชาวชุมชน

Related Posts

ภาพพระเตมีย์ บนใบเสมาทวารวดีอีสาน
ฮีตเดือนห้า
ต้นกำเนิดนิทาน “ตาเจี้ย ตาลูน – ปลาบู่ทอง – เต่าคำ และซินเดอเรลล่า”
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com