พุทธปรินิพพานในตำนานอุรังคธาตุ

เรื่องราวแห่งมหาวิปโยคของชาวพุทธ จากเหตุการณ์พุทธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกว่า ๒,๖๐๐ ปีก่อน ได้ถูกเรียบเรียงและบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก เรียกว่า มหาปรินิพพานสูตร เป็นพระสูตรที่มีขนาดยาวจึงเรียกว่า ทีฆนิกาย เนื้อหาในพระสูตรนี้เป็นการประมวลลำดับเหตุการณ์ก่อนพุทธปรินิพพานในการจาริกธรรมครั้งสุดท้ายขององค์สมเด็จพระโคตมพุทธเจ้าการเสด็จดับขันธปรินิพพาน การถวายพระเพลิงการแจกพระบรมสารีริกธาตุ การสร้างสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๘ แห่ง เรียกว่า อัฏฐสารีริกาถูปา นอกจากนี้ ในมหาปรินิพพานสูตรยังได้บันทึกธรรมเทศนาที่มีหลายอนุสนธิคือมีหลายตอน ซึ่งในอรรถกถาถือเป็นพระสูตรประเภท อเนกานุสันธิกะ

ความในมหาปรินิพพานสูตรนี้ ชาวพุทธเชื่อว่าเรียบเรียงขึ้นตั้งแต่ครั้งปฐมสังคายนาพระไตรปิฎก แต่ Hajime Nakamura อธิบายว่าเป็นพระสูตรที่แต่งขึ้นในอินเดียประมาณพุทธศตวรรษที่ ๔ – ๘ อย่างไรก็ตาม พระสูตรนี้ได้แพร่ไปยังดินแดนพุทธศาสนาต่าง ๆ รวมถึงดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงโดยโบราณจารย์ลุ่มแม่นํ้าโขงผู้รจนาตำนานอุรังคธาตุ ได้นำเอาความในพระสูตรนี้มาเชื่อมโยงกับเรื่องราวของท้องถิ่นอย่างน่าสนใจ จึงจะได้นำมา เปิดผ้าม่านกั้ง ในครั้งนี้

ตำนานอุรังคธาตุ ได้นำเอาเรื่องราวจากมหาปรินิพานสูตรมาเป็นส่วนหนึ่งของตำนาน โดยกล่าวถึงเหตุการณ์ก่อนที่จะมีการอัญเชิญกระดูกหัวอกของพระพุทธเจ้า หรือพระอุรังคธาตุ มายังดอยกัปปนคีรี (ภูกำพร้า) เข็ญใจอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุพนม มีเนื้อหาสาระทั้งในส่วนที่เป็นลำดับเหตุการณ์ และข้อธรรมสำหรับเป็นอนุสติเตือนใจ.ที่สำคัญคือเนื้อหาที่เพิ่มเข้ามาจากคติความเชื่อของท้องถิ่น มีเนื้อความดังนี้

เหตุที่ต้องไปปรินิพพานที่ กุสสินาราย

…ที่นี้ ยังมีในกาลคาบอันหนึ่ง หมูง้วนก็เกิดมาเถิงแก่พระพุทธเจ้าแล พระเจ้าจีงถามเจ้าอานนท์ว่า ดูราอานนท์ วิหารหลังเก่ายัง อยุดอยา อยู่ก่อนดีบ่จา เจ้าอานนท์ว่า ปลูกใหม่อยู่ดีก็ข้าแล พระพุทธเจ้าจีงว่า พระตถาคตจักนิพพานแล้วเมืองใดแคว้นใหญ่จา เจ้าอานนท์ขานว่าเมืองราชคฤห์ใหญ่แล พระพุทธเจ้าจีงว่า พระตถาคตจักไปนิพพานในเมืองกุสสินารายแล เหตุว่าเราไป่ได้เมตตาสังคหะยังพราหมณ์ผู้หนึ่งหั้นแล

อยุดอยา” = ซ่อมแซม

เมืองอันนี้มีพราหมณ์ผู้ ๑ ชื่อว่า โสตถิยพราหมณ์ เอาหญ้าคาเขียวแปดกำมาปูให้พระตถาคตนั่ง ลวดเกิดเป็นแท่นแก้ว จีงได้ตรัสผญาสัพพัญญุตญาณแท้ดีหลีแล

เมื่อชาติอันพระตถาคตได้เป็นพญาสุทัสนจักรวรรติราชแม่นเมืองนั้นแล กงจักรแลแก้วมณีโชติ ก็ยังหั้นแล

เมืองกุสสินารายนี้หากเป็นที่นิพพานแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายมาซุองค์ดาย จักนีรพานไปในหว่างไม้รัง ๒ ตน อันเป็นคู่กันหั้นแล

อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูปด้วยไม้รัง ไม้โพธิ์

ไม้รังต้นใดก็ดี ครั้นว่า พระตถาคตนีพพานไปแล้ว บุคคลฝูงใดคิดฮอดองค์พระตถาคต ได้บริโภคแลเอาแก่นไม้รังทั้งหลายบ่อนอื่นมาสร้างแปงพุทธรูปไว้ ครั้นว่า บุคคลผู้นั้นได้ทัวรเทียวไปมาในวัฏสงสาร ก็หับยังปักตูอบายทั้ง ๔ เสียดีหลีแล เหตุว่า เป็นพุทธบริโภคสองชั้น แม้นว่าบุคคลผู้ใดได้เอาแก่นไม้ รังไม้ปาแป้งอันตายแล้วนั้น มาสร้างแปงเป็นพุทธรูปก็ดังเดียวนั้นซะแล เหตุว่า ไม้สองต้นนี้เป็นที่พระตถาคตได้บริโภคแลเป็นอันประเสริฐ แล

หับปักตู” = ปิดปักตู
ไม้ปาแป้ง” = ไม้โพธิ์
กรรมเก่าของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้ากล่าวดังนี้แล้ว ภายหน้าแต่นั้นบ่นานท่อใด พระเจ้าก็ได้ฉันยังซี้นหมูง้วนแล้ว จีงเข้าไปเมืองกุสสินารายแล พระเจ้าก็ฮากเป็นเลือดออก เจ้าอานนท์จีงไปเอานํ้ามาให้พระเจ้าฉัน ก็บังเกิดขุ่นเป็นตมเสียซุแห่ง เจ้าอานนท์จีงไหว้พระพุทธเจ้าว่า ผู้ข้าไปเอานํ้าที่ใดมาให้พระพุทธเจ้า ฉันก็ขุ่นเป็นตมซุแห่ง น้ำที่นี้ได้ยากนักจักไปควาเทียวหาอันใสมาให้ฉันก่อน ก็ข้าแล

ฮาก” = อาเจียน

พระพุทธเจ้าจีงกล่าวว่า อย่าได้ไปเอาเทอญแม่นว่าท่านไปเอาที่ใด นํ้าใสแต่ก่อนนั้นก็จักขุ่นเป็นตมสิ่งเดียวนี้แ

ดูราอานนท์เฮย เมื่อชาติก่อนพุ้น พระตถาคตได้เป็นพ่อค้าทางเกวียน งัวแค้นทางอยากน้ำ น้ำอันใสมีที่ไกลน้ำขุ่น มีที่ใกล้ คำคร้านมีฟ้าวยายยังเกวียนไปควาหน้า ได้จูงงัวไปให้กินนํ้าขุ่นแกมตม เวรอันนั้นไป่หมด ก็มาส่งผลซํ้าบัดนี้ ซะแล

ปัจฉิมพุทโธวาท เสียงสั่งครั้งสุดท้าย

แต่นั้น พระพุทธเจ้าก็ไปไสยาสน์ในหว่างไม้รัง แล้วพญาอินทร์มีตาหลิงเห็นพันช่อง จีงลงมาเพื่อคารวะพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสั่งไว้ว่าอย่าได้ปะวิไชยกุมารผู้เขาไหลน้ำไปฮอดเมืองลังกานั้นเสียเทอญ

พระพุทธเจ้าเล่าสั่งเจ้าอานนท์ว่า ธรรม ๘ หมื่น ๔ พันขันธ์ อันกูหากได้เทศนาไว้แก่สูท่านทั้งหลายนั้น ครั้นว่า พระตถาคตนิพพานแล้วธรรมอันนั้นหากเป็นครูสั่งสอนแก่สูท่านทั้งหลายแล ให้ไว้ศาสนาห้าพันวัสสา

บล๐๒ บล๐๖ จบผูก ๒

เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว บุคคลฝูงมีผญาปฏิบัติตามธรรมพระตถาคต สร้างแปงพุทธรูป เจดีย์ วิหาร เป็นสถานตั้งไว้สักการบูชาไหว้นบคมรบอยำแอยง ก็เสมอดังได้บูชาไหว้นบองค์พระตถาคตเมื่อยังทัวรมานนั้นดีหลีแล อยู่พํ่าเพ็งทานศีล ภาวนาปรารถนาเอาโลกียสุข แลโลกุตรสุข ก็จักได้โดยตามคำมักคำปรารถนาแห่งตนแล

เหตุเป็นดังไฟอันมอดแล้ว บุคคลผู้มีผญาไปเอาไม้หลัวอันไขแห้งตายแล้วมาตั้งไว้ จีงสีเอายังไฟนั้นมากระทำการดังอันตนหากมักนั้นแล

นัยหนึ่ง เป็นดังบุคคลเอาเหล็กกล้ามาต่อยหินเอาไฟ

นัยหนึ่ง เป็นดังบุคคลเอาแก้วหน่วยชื่อว่าสุริยกันตะ มารอแสงตะวันขึ้นหมื่อติดเอาไฟใส่ พอแม้ลุกแล้วจีงจุดใส่เทียนไต้เป็นเถ้าเป็นแปวแล้ว จีงมาจุดฝอยและหลัวฟืนเป่าลุกรุ่งเรือง จีงกระทำการเป็นอนันตคุณให้แล้วประโยชน์แก่คนทั้งหลายนั้นซะแล

นัยหนึ่งเป็นดังลำอ้อยมีกกอันขาดแล้วบุคคลผู้มักประโยชน์ด้วยรสอันหอมหวาน เอาปลายอ้อยมาตั้งไว้ในแผ่นดิน แลแตกรากเป็นหน่อเป็นกอลำอันหวาน มีใบก็คมดังนั้นแล ด้วยแท้อรหันตาชื่อว่า โรคสมสีสี คือว่า จิตสวาดเถิงในกาลเมื่อเป็นพยาธิแลเมื่อใกล้จุตินั้นก็มีหากเป็นปกติเท่าเสี้ยงกัปใหม่ตั้งก่อสิ่งเดียว

พุทธศาสนานี้เป็นดังขอบสระนํ้าตั้งไว้ ฝนตกลงหดในสระชุ่ม เย็นดี ดอกไมทั้งหลายมีดอกบัวแลอุบล แลดอกบุณฑริก เป็นเค้า ก็เกิดมีบานดี อันนั้นแล มีฉันใด เป็นดั่งอุปมาในเมื่อสร้างพุทธศาสนายังตั้งไว้ ภิกขุตนมีเพียรบุญสมภารแก่ แลกระทำวิปัสสนาให้หมั่น ก็ยังจักได้ถึงอรหัตตมรรคท่อบ่มีอิทธิฤทธีอันยิ่งแล้วซะแล

ผิว่า ไป่ได้ถึงในชาติอันนั้น เมื่อจุติไปเกิดเป็นเทวดา ได้ฟังธรรมเทศนาแห่งธรรมกถึกเทวบุตร ก็จักได้เถิงในสำนัก ซะแล ท่านทั้งหลายจงคอยกระทำกรรมฐานอย่าขาดเทอญ

ปริศนาธรรม : ปูชายะ อะปูชา อะปูชายปูชา

อนนฺท ดูราอานนท์ ปูชายะ อะปูชา อะปูชายะ ปูชา บุคคลบูชาพุทธรูปศาสนาพระตถาคตตั้งไว้นั้น ด้วยเครื่องบูชาภายนอก คือว่า ดอกไม้ธูปเทียนนั้น ไดชื้่อว่าบ่บูชาแล บุคคลผู้บ่บูชาได้ชื่อว่าบูชาแล

อธิบายคำพระพุทธเจ้าสั่งบัดนี้ว่า ภิกขุก็ดีสามเณรก็ดี คนคฤหัสถ์ก็ดี บ่ปฏิบัติตามคองธรรมคำสอนพระพุทธเจ้าตั้งไว้ และกระทำอันบ่ชอบมาบูชาได้ชื่อว่าบ่ได้บูชาแล อันว่า บุคคลทั้งหลายปฏิบัติตามคองธรรมคำสอนอันชอบแม่นว่าบ่มีสังบูชา ท่อแต่มีจิตใจเหลื่อมใสเชื่อบุญคุณแก้ว ๓ ประการ ไหว้นบแต่มืออันเปล่าก็ได้ชื่อว่าบูชาอันประเสริฐยิ่งกว่าประเสริฐ หั้นแล

การถวายพระเพลิง

พระพุทธเจ้าสั่งมหาอานนท์ไว้ดังนี้แล้ว จีงกระทำสัจจอธิษฐานไว้ว่า ตราบใดมหากัสสปเถรไป่มาเอาอุรังคธาตุไปไว้ดอยกับปนคิรีนั้น ไฟธาตุจงอย่าได้ไหม้องค์พระตถาคตเทอญ อธิษฐานแล้วก็นิพพานไป ซะแล

ท้าวพญาอามาตย์ทั้งหลาย เอาพระพุทธเจ้าใส่โกศประนม แต่งแปงก็แล้วซุอัน ยามนั้น ท้าวพญาแลคนทั้งหลายเจาะไฟใส่ก็บ่ไหม้มอดเสียเป็นหลายทีนัก

ยามนั้น มหากัสสปเถรเจ้า เสด็จลุกจากเมืองเวสาลีมาฮอดแล้ว พระพุทธเจ้ากระทำปาฏิหาริย์ยื่นบาทาตีนกํ้าขวาออกจากโกศมา มหากัสสปะเจ้าโจมเอาใส่หัวไว้

ยามนั้น อุรังคธาตุหากมัดป้อมห่อผ้ากัมพลออกจากโกศลงมาตั้งอยู่ฝ่ามือเบื้องขวาแห่งมหากัสสปะเถรเจ้าแล้วแล ไฟธาตุนั้นหากลุกเป็นแปวไหม้โกศองค์พระพุทธเจ้า ยังตั้งอยู่แต่ธาตุทั้งมวล

พระบรมสารีริกธาตุ

ธาตุกระโบงเกศ พญาพรหมชื่อว่า ฆฏิการเอาเมือไว้ในพรหมโลก ธาตุแข้วหมากแง โทณพราหมณ์เอาเหน็บเกล้าเซืองไว้ พญาอินทร์เอาเมือไว้เมืองตาวติงสา ธาตุดูกดํ้ามีด พญานาคเอาไปไว้ในเมืองนาค สรีรธาตุพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้นสํ่าท่อหน่วยถั่วกวาง๑๐ สํ่าท่อเม็ดข้าวสารหัก สํ่าท่อพันธุ์ผักกาด พญาอชาตศัตรูเอาไปไว้ในถํ้าสัตตบรรณคูหาพุ้น ก็มีแล

พระบรมธาตุกระโบงหัวคือ พระอุตมางคสิโรตม์
หรือกระดูกหน้าผาก
ธาตุแข้วหมากแงพระเขี้ยวแก้ว
เซือง” = ซ่อน
ธาตุดูกดํ้ามีดหรือ กระดูกด้ามมีด” = พระ
รากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า)
๑๐ เมล็ดถั่วกวาง” = ถั่วแตก
คำทั้งมวลหากแจ้งในนิพพานสูตรนั้นแล…

ความทั้งสิ้นที่ยกมาจากตำนานอุรังคธาตุนี้ให้ความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวแห่งพุทธปรินิพพานขององค์พระโคตรมพุทธเจ้าเมื่อกว่า ๒,๖๐๐ ปี ก่อน ที่ถูกเล่าขานสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

เป็นที่น่าสังเกตว่า เรื่องราวในมหาปรินิพพานสูตรจากพระไตรปิฎกนั้น พระสงฆ์ไม่ได้มีบทบาทในการตวงพระธาตุเพื่อแจกจ่ายให้กับเมืองต่าง ๆ แต่เป็นบทบาทหน้าที่ของพราหมณ์ที่ชื่อโทณะ ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะคำสอนอันเป็นแก่นแท้ที่ยึดถือกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลของพระพุทธเจ้า ไม่ได้มุ่งหมายที่จะให้พระสาวกของพระองค์กราบไหว้บูชาสถูปหรือรูปเคารพ แต่ต้องการให้ยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนโดยไม่ยึดติดในพิธีกรรม เนื้อหาในพุทธประวัติตอนแบ่งพระธาตุจึงเน้นบทบาทของกษัตริย์และพราหมณ์ที่เข้ามาแบ่งพระบรมสารีริกธาตุทั้งแปดส่วนไปประดิษฐานในบ้านเมืองต่าง ๆ รวมถึงบทบาทของเทวดาที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ โดยไม่ปรากฏบทบาทของพระสงฆ์เข้าไปเกี่ยวข้องเลย

ส่วนเนื้อความที่ปรากฏในตำนานอุรังคธาตุจะเห็นได้ชัดเจนว่า ผู้แต่งได้ให้ความสำคัญกับอุรังคธาตุหรือกระดูกหัวอกของพระพุทธเจ้า ที่พระมหากัสสปเถรเจ้าต้องมาอัญเชิญเสียก่อน จึงจะสามารถถวายพระเพลิงได้

การเคลื่อนคลายเปลี่ยนแปลงของคติชนเช่นนี้ เกิดขึ้นพร้อมกับการเติบโตของพุทธศาสนาที่แพร่ขยายไปในดินแดนต่าง ๆ โดยมีการปรับแปลงความเชื่อของท้องถิ่นเข้ามาผนวกกันอย่างไม่

พระมหากัสสปะบูชาพระบาทก่อนถวายพระเพลิง ศิลปะคันธาระมหาปรินิพพานวิหารและมหาปรินิพพานสถูป เป็นสถานที่ปรินิพพานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ศิลปะล้านช้าง ณ วัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง

Related Posts

ภาพพระเตมีย์ บนใบเสมาทวารวดีอีสาน
ต้นกำเนิดนิทาน “ตาเจี้ย ตาลูน – ปลาบู่ทอง – เต่าคำ และซินเดอเรลล่า”
เมืองฮม เมืองโบราณกว่า ๔๐๐ ปี ของลาว
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com