“ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไท” เป็นการสาวรกรากต้นตอคนไท|ไต|ลาว|สยาม|ไทย ผ่าน “สัญญปริศนา”

“ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไท” เป็นการสาวรกรากต้นตอคนไท|ไต|ลาว|สยาม|ไทย ผ่าน “สัญญปริศนา”

My books

๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๑

“ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไท” เป็นการสาวรกรากต้นตอคนไท|ไต|ลาว|สยาม|ไทย ผ่าน “สัญญปริศนา” ในภาพชุดประติมากรรมบนฝากลองมโหรทึกและหม้อใส่เบี้ยของอาณาจักรเตียนในยูนนาน โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎี “อรรถปริวรรตกรรม” ว่าด้วย ‘ต้นกำเนิดแห่งพฤติกรรมมนุษย์ที่แสดงออกผ่านนาฏพิธี-นาฏลีลา-พิธีกรรม ที่มักจะมีการพกพา หยิบยืม หมุนเวียน ผลิตซ้ำ ปรับ-รื้อ-สร้างใหม่ จากฐานคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ดั้งเดิม’ เป็นแสงส่องทางเดินดั้นเมฒของชุมชนชาวกลองมโหรทึก ว่าได้แวะเวียนไป “ปักหลักสร้างฐานที่มั่น” ใหม่ ที่ไหนกันบ้าง หนังสือเล่ม (ไม่เล็ก) นี้ ทำได้เพียงสร้างรอยต่อสายเล็กๆ เพื่อเชื่อมร้อยให้เห็นเส้นทาง ‘การเดินทางไกลของบรรพชนไท-ลาว ไปทางทิศตะวันออก’ เป็นทิศทางหลัก (ของการศึกษาวิจัย) สู่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของพระยานาคบรรดามี ตลอดแนวสองฟากฝั่งของลุ่มแม่น้ำโขง จนถึง “อาณาจักรแถน” ของชุมชนชาวไทแห่งสาธารณรัฐเวียดนามปัจจุบัน และ “อาณาจักรลานช้าง” ของชุมชนชาวลาวแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นกลุ่มชนสายวัฒนธรรมกลองมโหรทึกที่พูดภาษาตระกูลไท-ลาว (ฝั่งตะวันออก)

“มหากาพย์ชนชาติไท” คือ งานเขียนที่ตกผลึกการศึกษาวิจัยแนวสหวิทยาการ ของชุมชนชาวไท ฟากฝั่งตะวันตก โดยใช้ตำแหน่งแห่งที่ของ “อาณาจักรเตียน” เป็นจุดเริ่มต้นพิกัด เพื่อเสาะหาร่องรอยเค้าเงื่อนของบรรพชนไท ที่ได้ดุ่มเดินทางไกล ล่องเลียบสายน้ำ ข้ามขุนเขา ฝ่าทะเลหมอก ไปสร้างฐานที่มั่นใหม่ ตลอดแนวสองฟากฝั่งของลุ่มแม่น้ำคง หรือแม่น้ำสาละวิน ต่อไปจนถึงลุ่มแม่น้ำอิระวดี จนจรดขุนเขา ขอบฟ้า ป่าหิมพานต์ รวมถึงคาบสมุทร (ฝั่งตะวันตก)

เพื่ออรรถรสของการอ่าน โปรดอ่านหนังสือ”ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไทฯ” ก่อน หรือพร้อมๆ กันไปกับการติดตามอ่าน “มหากาพย์ชนชาติไท” ที่เริ่มทะยอยเขียนลง Facebook ตั้งแต่วันขึ้นปีใหม่ไท ไตศักราช ๒๓๑๑ ขึ้น ๑ ค่ำ เหลินเจ๋ง

******

อาจารย์ชลธิรา สัตยาวัฒนา

๑๖ กันยายน ๒๕๖๒

เพิ่งปิด ‘ต้นฉบับร่าง’ บทที่ ๑๒ ของ “มหากาพย์ชนชาติไท” (The Tai Epics) เสร็จกลางดึกเมื่อคืนวาน
หลังจากปรับปรุง ‘ยกร่าง’ นี้มาแล้ว ไม่ต่ำกว่า ๗ รอบ โดยได้ ‘หยอด’ ผ่าน Facebook มา ๑ รอบ เพื่อฟังเสียงผู้อ่าน
เป็นตอนที่ว่าด้วย “คติชนไท ‘ความเป็นแม่’ กับ เคล็ดไทว่าด้วย ‘ซิ่นแม่’”

‘ต้นฉบับร่าง’ นี้ ได้ส่งไปให้ท่านอาจารย์ชายชื้น คำแดงยอดไตย ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง ‘ไทใหญ่’ ซึ่งรับเชิญให้เป็น ‘ผู้เขียนร่วม’
เพื่อตรวจสอบย้อนทวนอีกคำรบหนึ่ง ก่อนการส่ง ‘ต้นฉบับ’ ให้กองบรรณาธิการนิตยสาร “ทางอีศาน” พิจารณาและจัดหน้า

อาจารย์ชลได้ทำเช่นนี้มากับทุกบททุกตอน เพื่อนำเสนอ “มหากาพย์ชนชาติไท” ให้กับวงวิชาการ
เป็นการเขียนงานวิชาการ ที่ผ่านกระบวนการวิจัย ที่ต้องใช้ทั้ง ‘องค์ความรู้จากการอ่านเอกสารปฐมภูมิและเอกสารหายาก’
ประสานกับ ‘องค์ความรู้เบื้องลึก’ ที่ต้องผ่านการเสาะแสวงหา ทั้งจาก ‘สนามวิจัย’ ด้วยตนเอง และจาก ‘ผู้บอกข้อมูล’ ที่เชื่อถือได้
จากนั้น เรียบเรียงด้วย ‘ฐานคิดทางทฤษฎี’ ที่เลือกสรรมาทดลอง เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของตนเอง
และเพื่อกลั่นกรองการนำเสนอทางทฤษฎี โดยเลือกใช้ ‘วิธีวิทยา’ ที่เหมาะสมและสอดคล้องต้องกัน

*** Status นี้ เขียนไว้ให้ลูกศิษย์ ทั้งสายตรง สายอ้อม สายนอก สายใน ‘อ่าน’
เพื่อให้รู้และตระหนักว่า นักวิชาการ ‘สายวิจัย’ ที่รับผิดชอบต่อผลงานที่นำเสนอสู่สาธารณชน ทำงานอย่างไร

ขอบคุณโพสต์จากเฟซบุ๊กผู้เขียน

Cholthira Satyawadhna

สนใจสั่งซื้อหนังสือ ติดต่อ ไลน์ chonniyom2

โทร. 086-378-2516 

เฟซบุ๊กเพจ ชนนิยม เราทำหนังสือมีชีวิต


Related Posts

ชายเป็นใหญ่ : จาก “แถน” สู่ “เทพ”*
“ด้ำเสือ”
(๑๕) อีแม่นางกวัก บรรพสตรียุคปางด้ำนาย ของชุมชนชาวไท
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com