ท้าวผาแดง – นางไอ่

วรรณคดีภาคอีสานโบราณซึ่งมีอยู่ในหนังสือผูกที่สำคัญเรื่องหนึ่งคือ “ท้าวผาแดง-นางหนังสือผูกนี้โดยปกติจานลงในใบลานเป็นตัวหนังสือไทยน้อย โดยทั่วไปตัวหนังสือที่ใช้อยู่ในภาคอีสานแต่ก่อนนั้นมีอยู่ ๓ แบบ

ตัวหนังสือไทยน้อย นั้นส่วนมากใช้ในวงการบ้านเมืองทางคดีโลกและวรรณคดี แบบที่สองคือ ตัวหนังสือธรรม ส่วนมากใช้ทางคดีธรรม คือใช้ในวัดแบบที่สาม คือ ตัวหนังสือขอม เป็นอักษรสำหรับจารึกพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ทั้งสามแบบนี้

ใช้เหล็กแหลมจาน (ขีด) จารึกไว้บนใบลาน โดยใช้เส้นเชือกร้อยหรือผูกไว้ ถ้าหากมีขนาดยาวก็เรียกว่า “หนังสือผูก” ซึ่งมักจะเป็นเรื่องวรรณคดี ถ้าหากจารึกลงในใบลานขนาดสั้นก็เรียกว่า “หนังสือก้อม” โดยมักจะเป็นประเภทตำราต่าง ๆ ทางวิชาการ

ตัวอักษรดังกล่าวข้างต้นนี้ รวมตลอดทั้งอักษรไทยสมัยพระเจ้าขุนรามคำแหง อักษรพม่า – มอญ มีลักษณะตัวกลม ๆ ก็เพราะใช้เหล็กแหลมจานลงในใบลาน คงจะดัดแปลงมาจากอักษรอินเดียโบราณด้วยกันทั้งนั้น

เค้าโครงของวรรณคดีหนังสือผูกเรื่องท้าวผาแดง – นางไอ่ เห็นจะมาจากตำนานในสังคมขอมโบราณ แต่เป็นงานของนักปราชญ์ชาวอีสานที่ได้แปลหรือร้อยกรองไว้เป็นกลอนภาษาไทยน้อยเหมือนกับเรื่องอิเหนาซึ่งเป็นวรรณคดีไทยที่ได้เค้าโครงเรื่องมาจากชวา อาณาจักรของขอมมีอาณาเขตถึงไหนเราจะสังเกตเห็นว่ามีปราสาทหินหรือกู่  – เจดีย์ อยู่ในบริเวณนั้น โดยเฉพาะทั่วบริเวณภาคอีสานแทบทั้งหมดจะมี “กู่” กระจายอยู่ทั่วไป “กู่” ขนาดใหญ่ก็มักจะเป็นที่ตั้งของเมืองใหญ่ตามสัดส่วน มีข้อที่น่าสังเกตว่า เมืองโบราณทางภาคอีสานมีซากศิลปวัตถุสมัยมอญอยู่มากเหมือนกันและศิลาจารึกบางแห่งมีอักษรตัวธรรมซึ่งใกล้ไปทางหนังสือไทยใหญ่อยู่ด้วย

วรรณคดีอีสานมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะแทรกคติสอนในทางศีลธรรมด้วยเสมอ เรื่องท้าวผาแดง – นางไอ่ นี้ก็เช่นเดียวกัน จะเห็นได้ชัดว่ามีการเน้นหนักให้สำนึกถึงความเลวร้ายของการอาฆาต – พยาบาท – มาตรหมาย เรื่องกรรม – เวร ตลอดจนความวินาศซึ่งเป็นผลมาจากการพนัน

ถ้าวิเคราะห์ในเชิงประวัติศาสตร์ จากตำนานเรื่องนี้จะมองเห็นภาพที่ขอมกำลังครอบครองดินแดนอีสานอยู่เกือบทั้งหมด โดยเฉพาะผู้มีบทบาทสำคัญของเรื่อง คือ พญาขอมนั้น ครองเมืองหนองหารน้อย มีลูกหลานวงศ์ตระกูลเดียวกันครองอยู่หลายเมือง เช่น มีขบวนแห่บั้งไฟจากเมืองต่าง ๆ มาร่วมงานบุญของพญาขอม คือ

อันว่าหลายชายท้าวเชียงเหียนฟ้าแดด สองก็ตามเผ่าผู้แพงล้านที่ตน” “เมื่อนั้นผาแดงท้าวถวายคะดีบนบอก เฮาก็หว่ายย่านนํ้าไกลกว้างตุ่งเถิง เนาอยู่ผาโพงพุ้นฮิมของนคเรศ” อันว่าบาสีแก้วเมืองหงส์เสมอภาค กันแล้ว ไฟหากขึ้นสู่บั้งบ่อมีค้างแตกโตน” เมืองเชียงเหียนได้แก่บ้านเอียดเซียงเหียน อยู่ในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม เมืองฟ้าแดดสงยาง อยู่บ้านบักก้อมเข้าหลาม ในเขตอำเภอกมลาไสย เมืองสีแก้วผักแว่น อยู่ในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด เมืองหงส์ เมืองทอง อยู่ในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน ส่วนเมืองผาโพงฮิมของนั้น ยังไม่แน่ว่าอยู่แห่งใด

ภาพปก : ไพบูลย์ ธรรมเรืองฤทธิ์

ตำนานผาแดง – นางไอ่ นี้เป็นเรื่องของชาวขอมในท้องเรื่องเราจะสังเกตเห็นมีคนต่างชาติจากขอมรุกรานเข้ามาในอาณาบริเวณนี้คือ พวกพระยานาคซึ่งคงจะเป็นพวกไทย – ลาว เพราะมีเค้าเรื่องสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ไทย – ลาว เช่น

“เมื่อนั้น ราชาท้าวทั้งสองพระยานาค ก็จึงพากที่นั้นถึงห้องแห่งตน พาเอาพลไพร่น้อยหนีจากหนองกระแส ตามบัญเทพะแมนเมืองฟ้า” โดยมีท้าวสุวรรณนาคนาโคบุกลงทางใต้คือ “ท้าวก็พาพลสร้างถางภูบุก่น คนจึงเอิ้นว่านํ้าน่านกว้างคราวนั้นสืบมา” และมีท้าวสุทโธนาคราชบุกลงมาอีกทางหนึ่ง แต่งเป็นกลอนว่า “อันราชาท้าวสุทโธนาคราช พรากถิ่นดั้งเดิมผ้ายเผ่นหนี พากันซีดินหญ้าภูผาขุดก่น ขนคาบไม้ไปถิ่นผีกทาง หางก่วยเบื้องฟาดผ่าภูผา ก็จึงเป็นคงคาแม่ของเขาเอิ้น” … พระยานาคตนนี้มีบุตรชายชื่อภังคี ซึ่งหลงรักนางไอ่จนตัวตาย นางไอ่เป็นนางขอม แต่ท้าวภังคีเป็นคนต่างชาติกัน โดยสมมุติว่าเป็นนาค (ไทย-ลาว) ดังคำสอนของแม่ภังคีแต่งเป็นกลอนไว้ว่า “อันหนึ่งเฮาหากเป็นนาคนํ้าถํ้าใหญ่เป็นโฮง เขานั้นเนาปรางค์ทองยู่โฮงพันห้อง”

จุดสุดยอดของวรรณคดีเรื่องท้าวผาแดง – นางไอ่ อยู่ที่การเกิดแผ่นดินถล่ม จนกลายเป็นหนองหารน้อย มีคำกลอนดังต่อไปนี้ “เมื่อเดิ๊กซักไซ้เถิงเที่ยงราตรี กรรมสิมาเวียนถองคอบสนองชาวบ้าน ดูดั่งปืนตำต้องธรณีน้าวน่วง คือดังฟ้าแป่ม้างดินสะท้านหวั่นไหว ดินก็หวนหันปึ้นหลุบหล่มจมลง ปฐพีพอยพัดหลั่งลงทะหลังหล่ม ฝูงหมู่รุกขาไม้ทั้งหลายหักโค่นทั้งหมู่เฮือนและเล้าทะลายหล้มหล่มลง ท้าวก็โจมเอาแก้วกัลยานางไอ่ ฮีบมาไปเถิดน้องเมืองบ้านหล่มหลวง”

นิยายเรื่องแผ่นดินถล่มในภาคอีสานนี้ เห็นจะมีเค้าความจริงมาแต่โบราณดึกดำบรรพ์อยู่บ้างเพราะดินแดนภาคนี้เชื่อว่าเคยเป็นทะเลนํ้าเค็มจัดหรือทะเลตายมาก่อน เวลานี้ยังปรากฏซากสิ่งที่มีชีวิตซึ่งเป็นสัตว์นํ้าโบราณเหลืออยู่เช่น มีซากหอยจำนวนมาก ชาวบ้านเรียกว่า “ขี้นกอินทรีย์” อยู่ในบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด

***

จุดเด่นของนิทานท้าวผาแดง – นางไอ่ อีกข้อหนึ่งก็คือ มีการพรรณนาถึงประเพณีการทำบุญบั้งไฟ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ในภาคอีสาน เพราะก่อนถึงฤดูทำงานหนักในรอบปีได้แก่การทำนา เมื่อยามเดือน ๖ ชาวอีสานจะมีพิธีงานบุญสำคัญประจำปีคือ “บุญบั้งไฟ”

คำกลอนเกี่ยวกับบุญบั้งไฟของพระยาขอมมีดังนี้

“เฮาจักตามฮีตเค้าเฒ่าเก่าคองหลังกูจักพาสูทำแต่งบุญแปลงสร้าง

เดือนหกขึ้นวันเพ็งสิบห้าคํ่า กับทั้งเบิกแผนกพร้อมวันซํ้าส่งบุญ

จักได้มีการเล่นไฟหางบั้งหมื่น กับทั้งมีบวชพร้อมสรงนํ้าราชครู”

“เซียงเหียนพร้อมไวเปียงไปไส่ บอกให้ได้ไฟบั้งหมื่นปลาย

กับทั้งไฟตะไลพร้อมไฟพะเนียงเป็นดอก……………………….”

“พากันตกแต่งสร้างผามกว้างซ่วงสูง

ฝูงหนึ่งให้ได้ไม้เสาใหญ่ปุกผาม

บ้านนํ้าฆ้องสามพาดพันดอน

ให้เขาหาตงกอนก่อผามมุงหญ้า”

หนังสือผูกเรื่อง ท้าวผาแดงนางไอ่ เป็นวรรณคดีอมตะและมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับชาวอีสานเรื่องหนึ่ง

*****

อ่านเรื่อง ท้าวผาแดง – นางไอ่ ฉบับเต็มได้ในคอลัมน์ วรรณคดีอีสาน นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ ๑๙ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๖

ซื้ออ่านได้ทาง อี – แม็กกาซีน ผ่าน https://www.mebmarket.com/index.php

คลิก>> https://www.mebmarket.com/index.php…

สมัครสมาชิก/สั่งซื้อ/สอบถาม

🛒 inbox หนังสืออีศาน m.me/166200246799901

🛒 line id : @chonniyom (มี@) คลิก https://lin.ee/amxqtvW

โทร. 086-378-2516

Related Posts

มั น ก ะ โ พ ด
คำผญา ปรัชญากวี : คนบนหลังเสือ
เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๒)
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com