นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 11

ฮีตคอง แผนที่ชีวิต เข็มทิศชุมชน

แผนอาชีพ คือ การทบทวนว่าอาชีพที่ทำอยู่ทำได้ดีแค่ไหน ใช้ความรู้ ใช้ข้อมูลอะไรบ้าง หรือทำตามคนอื่น หรือตามความเคยชินที่ทำ ๆ กันมาได้เรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพให้ดีกว่านี้บ้างหรือไม่ ทำนาก็ได้แค่ ๓๐๐ กิโลต่อไร่ ไม่เคยคิดจะทำให้ได้สักตันต่อไร่เหมือนคนอื่นอีกหลายคนบ้างหรือ

อองรี มูโอต์ (Henri Mouhot) ผู้เปิดดินแดนอินโดจีนสู่สังคมโลก

อองรี มูโอต์ มีผลทำให้ 'นครวัดนครธม' กลายเป็นสิ่งที่เลื่องลือถึงความมหัศจรรย์ของโลกตะวันออก (ตอนนั้นยังไม่มีคำว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือคำว่าอุษาคเนย์) และก็เป็นผลทำให้ฝรั่งเศสสนใจในดินแดนอินโดจีนอย่างมหาศาล : ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

สดับหู สะดุดตา สะกิดใจ

"แต่ที่ผมจะตั้งข้อสังเกตต่ออาจารย์ธัญญาก็คือที่ว่า "นายผี" ปลุกคนจนลุกต่อสู้นั้น... นอกจากต่อสู้กับผู้แทนที่เห็นท่าแต่กล้าโกง เที่ยววิ่งอยู่โทงโทง เที่ยวมาแทะให้ทรมาน...นอกจากนี้ ยังมีใครที่ใหญ่กว่าผู้แทน ซึ่งก็โกงและกดขี่บีฑาหนักกว่าผู้แทนอีกหรือไม่ หรือหยุดอยู่แค่ผู้แทน ที่มีเพียงปากและมือใช้ในสภาเท่านั้น..."

จากกรรมกรสู่คอลัมนิสต์ นักเขียน ป.๔ “เสรี ทัศนศิลป์”

เขาบอกอย่างไม่เคยอายใครว่า เขาจบการศึกษาเพียงแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากบ้านเกิดอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จับพลัดจับผลูเข้ามาเป็นกรรมกรลูกจ้างในโรงงานรองเท้า และขยับฐานะเป็นเจ้าของธุรกิจ ปัจจุบันเขามีโรงงานทำรองเท้าเล็ก ๆ แบบอุตสาหกรรมในครอบครัวเป็นของตัวเอง มีลูกน้องบริวารร่วมงานกว่า ๒๐ ชีวิต และลูก ๆ อีก ๒ คน ที่ต้องดูแลร่วมกันกับภรรยา

ปฐมบทแห่งชีวิต: อัตชีวประวัติ พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ตอนที่ ๒

ที่นี่ ผมเริ่มเป็นเด็กหนีเรียน แต่ไม่ได้หนีไปเกเรที่ไหน คือผมชอบเช่าหนังสือนิยายไปหลบอ่านอยู่แถวริมฝั่งมูล บางวันก็ข้ามไปหาดวัดใต้หามุมสงบอ่านนิยาย นิยายที่อ่านส่วนมากเป็นบทประพันธ์ของ ป.อินทรปาลิต อย่างเรื่อง เสือดำ เสือใบ แดนดาวโจร และหัสนิยาย พลนิกรกิมหงวน ชุดสามเกลอ อ่านแล้วหัวเราะท้องคัดท้องแข็ง ทั้งงานประพันธ์ของ จ. ไตรปิ่น ไม้ เมืองเดิม ยาขอบ มนัส จรรยงค์ อ่านลุยไปเรื่อย ทั้งกาพย์กลอนโคลงฉันท์

ทำไร่ ทำนา ทำปลาจ่อม ทำปลาแดก

"เกลือที่เหมาะทำปลาแดกก็คือเกลือสินเธาว์ เพราะเป็นเกลือต้มสุกแล้ว ส่วนเกลือทะเลหรือ "เกลือบักเม็ก" ใช้ทำปลาแดกไม่ได้ เพราะเป็นเกลือไม่สุกทำให้บูดเน่า ที่เรียกว่า "ปลาแดก" เพราะสมัยก่อนจะเอาปลาใส่ในครกตำข้าวแล้วใช้สากซึ่งหุ้มด้วยอะลูมิเนียมเจาะรู "แดก" ลงไปหรือตำลงไปเบา ๆ ให้เกล็ดปลาหลุดออกแล้วจึงล้างน้ำและนำไปทำปลาแดก..."

สัมภาษณ์ คุณวรพันธ์ โลกิตสถาพร “สถาพรบุ๊คส์”

ในบ้านเราทุกวันนี้ ยิ่งเศรษฐกิจเติบโตก็ยิ่งเกิดช่องว่างระหว่างรายได้ เกิดช่องว่างระหว่างฐานะมากขึ้น อันนี้จะกลายเป็นปัญหาในอนาคต สิ่งที่เราคิดมาตลอดคือ ทำยังไงเราจึงจะเป็นส่วนหนึ่งในการทำหน้าที่ปิดช่องว่างทางสังคม ปิดช่องว่างในด้านโอกาส

นิตยสาร “ทางอีศาน” ฉบับปัญหาพรมแดน
เล่มที่ ๑๑ ปีที่ ๑ ประจำเดือนมีนาคม ๒๕๕๖

เรื่องเด่น:
– คดีปราสาทพระวิหารรอบ ๒ ศึกนอกหนัก-ศึกในหน่วง
– อีสาน : แผ่นดินแห่งการต่อสู้ (ประวัติศาสตร์การเมืองอีสาน)
– ประวัติศาสตร์บางหน้าก่อนมีภาคอีสานของไทย โดย สมคิด สิงสง
– บทความพิเศษ อองรี มูโอต์ ผู้เปิดดินแดนอินโดจีนสู่สังคมโลก โดย ทศพนธ์ นรทัศน์

พร้อมเนื้อหาอันลึกซึ้งถึงรากเหง้า จากคอลัมน์ต่าง ๆ ในเล่ม และเรื่องสั้น – เรื่องยาว กวี สาระบันเทิงต่าง ๆ ครบครัน และเข้มข้นเช่นเคย

คอลัมน์:
สาส์นจาก “ทางอีศาน”, บทบรรณาธิการ, จดหมาย, เบิ่งโลก / เบิ่งไทย / เบิ่งอีสาน, วันวานกับวันหน้า, โลกนิติคำกาพย์ภาษาลาว, บทร้อยกรองของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์, บ้านเมืองเรื่องของเรา, ความจริงที่ราษีไศล, อีสาน : แผ่นดินแห่งการต่อสู้, คำผญา ปรัชญากวี, แสงเงาคมคำ, เรื่องจากปก, บทความพิเศษ อองรี มูโอต์, อุษาคเนย์เห่กล่อม, รางวัลวรรณกรรมแม่น้ำโขง, เด็ดขาด, อัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์อีศาน, ข่วงบักจุก, เดินทวนหนทาง, คำถิ่นกลิ่นอายขแมร์, ถนนสายอนาคต, ในเครื่องแบบ, ข่าวคนอีศาน, หอมดอกผักกะแญง, สดับหู สะดุดตา สะกิดใจ, รายงาน “ทางอีศาน”, เฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน, บทกวี “’พระไม้” , คนบนที่ราบสูง, แก่นเมือง, ส่องเมือง, เฮาอยู่ยะลา, นวนิยายกาบแก้วบัวบาน (ตอน ๑๑), เรื่องเล่าชุดพ่อเฒ่ากับลูกเขย, สัมภาษณ์, เรื่อย ๆ มาเรียง ๆ, ศิลปะนำชีวิต, ปิดเล่ม

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com