By

โชติช่วง นาดอน

สรุปย่อรากเหง้าร่วมของวัฒนธรรมอาเซียน

“ลักษณะไทย” “ความเป็นไทย” “อัตลักษณ์ไทย”? หัวข้อนี้เป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนที่ทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมไทย วงวิชาการไทยทํางานด้านนี้มามาก แต่บางช่วงก็ “หลง” ไปทาง “ไทยนิยม” มากไป

ความยากจนและเครื่องชี้วัด

เรื่อง “ความยากจน” นั้น เมื่อจะพูดกันควรทำข้อตกลงกันไว้ก่อนให้ชัดเจน ว่าผู้พูดกำลังจะพูด “ด้านใด” ของเรื่องความยากจน และความหมายเรื่อง “ความยากจน” ที่กำลังจะกล่าวถึง

พระแซกคำ

พระแซกคำ พระพุทธรูปสำคัญซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ วัดคฤหบดี แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กทม. นั้น คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า เป็นพระพุทธรูปจากประเทศลาว(ล้านช้าง) แต่จากประวัติศาสตร์ลาว มีบันทึกชัดเจนว่า พระเจ้าโพทิสาราช (โพธิสารราช) พระราชบิดาของพระเจ้าไชยเชถถาทิราช (ไชยเชษฐาธิราช) ขอไปจากนครเชียงใหม่-ล้านนา

บทกวี ดาวชีวิต

ด้วยมีดาวในชีวิตไม่คิดขม แม้เหงาหงอยเศร้าบ้างบางอารมณ์ ใจยังคมวับเชือดเลือดสาดแดง ดั่งวสันต์ปลอบขวัญฉันฝันหวาน แสนดอกไม้บานประชันออกขันแข่ง เช็ดน้ำตาปวงประชา..มาร่วมแรง หลังพายุกระหน่ำแรง...ฟ้าจักงาม รัตติกาลนานยาวดาวยังฉาย เหมันต์กรายถึงวสันต์วันอร่าม พลังปฏิวัติเกิดทั่วทุกชั่วยาม ดาวชีวิต วาวงามนิรันดร

สิทธิพลเมืองกับความยากจน

ปัญหาความยากจนนั้น รัฐมักมองว่ามันเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจไม่เกี่ยวกับด้านอื่น ๆ เช่นสิทธิมนุษยชน แต่ในทางเป็นจริง ความยากจนเป็นทั้งผลและเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชน

คำสอนโลกคดีธรรม ภาษาลาว

ช่วงนี้กำลังค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือภาษาลาว ได้พบ “คำสอนโลกคะดีทำ” ในหนังสือ “คำพี อานาจักและทัมมะจัก แห่งทัมมะสาด กดหมายบูรานลาว” ของท่าน สำลิด บัวสีสะหวัด น่าเสียดายที่ท่านสำลิดไม่ได้บอกแหล่งที่มาของเรื่องนี้ และไม่มีอธิบายข้อมูลอะไรเพิ่มเติมไว้เลย ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นธรรมสอนใจดีมาก ใช้ได้ทั้งใน “วันวาน” และ “วันหน้า”

ศีลธรรมกับวัฒนธรรม

ศีลธรรม ในคำวัดหมายถึง เบญจศีล และเบญจธรรม คือ ศีล ๕ และธรรม ๕ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมระดับต้นสำหรับให้สมาชิกสังคมประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบสุข ไม่สะดุ้งกลัว ไม่หวาดระแวงภัย เป็นหลักประกันสังคมที่สำคัญสังคมที่สงบสุข ไว้วางใจกันได้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันไม่เบียดเบียน ไม่ทะเลาะ ไม่กดขี่ข่มเหง ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นต้น ก็เพราะสมาชิกของสังคมยึดมั่นอยู่ในหลักศีลธรรมนี้

บทบาทของท้าวพมแห่งอัตตะปือ ในการช่วยเจ้าฟ้างุ่มรวบรวมดินแดนล้านช้าง

กองทัพของเจ้าฟ้างุ่มยกขึ้นไปจากอาณาจักรพระนครหลวง จะต้องผ่านดินแดนลาวใต้ก่อน ข้อมูลประวัติศาสตร์ช่วงนี้ ยังมีน้อยในเอกสารภาษาไทย ข้าพเจ้าจึงปริวรรตถ่ายคำข้อมูลเหล่านี้จากเอกสารภาษาลาว “ปะวัดติสาด และกานเคื่อนไหวปะติวัด อัตตปือ” เขียนโดย ท่านบุนทัน จันทะกาลี หน้า ๔๕ - ๔๘ ดังต่อไปนี้

คำฉันท์ (๖)

อเล่าถึงวรรณคดีอีสาน เรื่อง “นางแตงอ่อน” สักหน่อยหนึ่ง แม้ว่าฉันทลักษณ์เรื่องนี้จะเป็นโคลงลาว เหตุที่จำเป็นต้องกล่าวถึง เพราะวรรณคดีอีสานเรื่องนี้มีฉาก “การคล้องช้างเผือก” ด้วยบ่วงบาศเชือกปะกำ วรรณคดีภาคกลางที่บรรยายฉากการคล้องช้างไว้ละเอียดที่สุดคือเรื่อง “สมุทรโฆษคำฉันท์” เหตุที่กวีประพันธ์ฉากนี้ไว้ละเอียด น่าจะเนื่องจากพระราชนิยมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดการคล้องช้างมาก ข้าพเจ้าเคยเขียนเล่าไว้ในคอลัมน์นี้ถึงห้าหกตอน

ไม่มีชาติใดเป็นศัตรูกันทางประวัติศาสตร์

ไม่มีชาติใดเป็นศัตรูกันทางประวัติศาสตร์ ดินแดนภาคใต้ของประเทศจีนปัจจุบันนับตั้งแต่ใต้แม่น้ำแยงซีเกียง (ฉางเจียง) ลงมาจนถึงอุษาคเนย์ทั้งภาคพื้นทวีปและภาคพื้นสมุทร (คืออาเซียนทั้งหมด) มีต้นเค้าอารยธรรมดั้งเดิมร่วมกันคือ “วัฒนธรรมข้าว” หลักฐานการเพาะปลูกข้าวในช่วงปลายยุคหินใหม่เก่าแก่ถึง ๗,๐๐๐ ปี ขุดพบที่ “เหอหมู่ตู้” มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com