By

ยุทธพงศ์ มาตย์วิเศษ

พระอุปคุตปราบมาร

พระอุปคุต เป็นนามพระเถระที่มีบทบาทสำคัญ ในคติความเชื่อของคนในลุ่มแม่น้ำโขงพบว่า ในพิธีกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนาของชาวอีสาน เช่น งานบุญผะเหวด งานบวช งานกฐิน นิยมสร้างหอพระอุปคุตและทำพิธีนิมนต์ท่านมาร่วมในงานพิธี ด้วยคติความเชื่อที่ว่าท่านมีฤทธิ์มาก สามารถปราบมารไม่ให้มาก่อกวนในงานพิธีได้

แทนน้ำนมแม่ สำนึกของลูกอีสาน

วรรณกรรมอีสานหลากหลายเรื่องราวถูกจดจารลงในใบลาน เรียงร้อยด้วยสายสนองเรียกว่า “หนังสือผูก” เป็นมรดกทางภูมิปัญญาของบรรพชนที่ส่งต่อสำนึกทางวัฒนธรรมให้กับคนรุ่นต่อมา ลูกอีสานเมื่อครั้งยังอาศัยวัดเป็นสำนักเรียนรู้ คงคุ้นเคยกับวรรณกรรมสำคัญเรื่อง “แทนน้ำนมแม่” ซึ่งมีเรื่องราวที่เล่าถึงพระคุณแม่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเมื่อครั้งเสด็จโปรดพุทธมารดาที่เมืองฟ้า

คักแท้แท้ แพรอีโป้ (มหัศจรรย์ ผ้าขาวม้า)

หากจะอธิบายเรื่องผ้าขาวม้า โดยยึดชื่อนี้เป็นหลัก แล้วอธิบายตามทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม ที่ว่าทุกสรรพสิ่งต้องมีจุดเริ่มต้นแล้วแพร่หลายไปสู่ที่อื่น ๆ

ชมปราสาทหินพิมาย เสพกลิ่นอายวัชรยาน

ปราสาทหินพิมาย เป็นปราสาทหินในอารยธรรมขอมโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ อำ เภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ในกาลนี้ผู้เขียนขอชวนท่านผู้อ่าน “ชมปราสาทหินพิมาย เสพกลิ่นอายวัชรยาน” โดยสะท้อนสาระสำคัญผ่านเรื่องราว ๕ ประเด็น ได้แก่ เรียนรู้ภูมิประวัติ ปริทรรศน์วิมายะปุระ ตามรอยวัชรยาน แผนผังจักรวาลสู่ความหลุดพ้น และมณฑลพระชินพุทธะ

ปีที่สร้างพระธาตุพนมในตำนานอุรังคธาตุ

พระธาตุพนมเป็นศาสนสถานสำคัญของลุ่มแม่น้ำโขง เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุหัวอกของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า “อุรังคธาตุ” ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สถานที่ตั้งขององค์พระธาตุพนมเป็นเนินดินสูงกว่าบริเวณโดยรอบประมาณ ๒ เมตร เรียกตามตำนานอุรังคธาตุว่า “ภูกำพร้า”

นอ เครื่องคํ้าของคูณแห่งลุ่มแม่นํ้าโขง

“คํ้าคูณ” หมายถึง เป็นมงคล หรือบังเกิดความสุขความเจริญ สิ่งใดที่มีแล้วเชื่อกันว่าจะนำมาซึ่งความเป็นมงคล ทำให้บังเกิดความสุขความเจริญแก่เจ้าของคนสองฝั่งแม่นํ้าโขงเรียก สิ่งนั้นว่า “เครื่องคํ้าของคูณ” ซึ่ง คุณพ่อ ปรีชา พิณทอง ปราชญ์แห่งเมืองอุบลราชธานีได้สาธยายเรื่องเครื่องคํ้าของคูณไว้ใน “สารานุกรมภาษา อีสาน-ไทย-อังกฤษ” ว่าเป็นสิ่งที่คนโบราณถือว่าใครมีไว้ในบ้านเรือนจะสมบูรณ์พูนสุขด้วยลาภยศ

พุทธศาสนาเข้าสู่อีสาน…ในตำนานอุรังคธาตุ

ในดินแดนอีสานปัจจุบัน มีการนับถือศาสนาที่หลากหลาย เนื่องจากมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมจากต่างถิ่น เพราะศาสนาเหล่านั้นล้วนมีต้นกำเนิดจากแดนไกล ที่ไหลบ่าเข้ามาแทนที่และซ้อนทับศาสนาผีดั้งเดิมที่มีอยู่ในแผ่นดินอีสาน ศาสนาที่ปักหลักมั่นและแพร่ขยายอย่างกว้างขวางคือ “พุทธศาสนา” จึงเป็นที่น่าสนใจว่า ตั้งแต่ยุคต้นพุทธกาลจนถึงหลังจากพุทธปรินิพพานเมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีก่อน ดินแดนอีสานและลุ่มแม่นํ้าโขงได้มีการซึมซับรับเอาพุทธศาสนาเข้ามาอย่างไร?

ฤกษ์งาม ยามดี : โลกเก่าที่เล่าซํ้าบนโลกใหม่

การแสดงจุดยืนด้วยท้องถิ่นนิยมที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในสังคมอีสานปัจจุบัน เช่น การรณรงค์อาหารอีสาน การเที่ยวเมืองอีสาน การรื้อฟื้นประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน ตลอดถึงการฟื้นฟูภูมิปัญญาอีสาน

ทบทวนความรู้เรื่อง สมณยศ และพิธีหดสรง ในแผ่นดินอีสาน

ในวัฒนธรรมอีสาน – ล้านช้าง มีธรรมเนียมแต่งตั้งสมณยศแก่พระสงฆ์ผู้บวชเข้ามาเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา โดยพิธีกรรมที่เรียกว่า “หดสรง” ขั้นตอนสำคัญของพิธีกรรมคือการรดน้ำผ่าน “รินสรง” ที่ปัจจุบันมักเรียกว่า “ฮางหด” ซึ่งทำจากไม้แกะสลักเป็นรูปพญานาคอย่างสวยงาม แม้ว่าปัจจุบันการเลื่อนสมณยศของพระสงฆ์ในอีสานในทางปกครอง

ภาพจำลองอุตตรกุรุทวีปในพิธีศพชาวอีสาน

ประเพณีงานศพที่น่าสนใจในวัฒนธรรมชาวพุทธที่สะท้อนให้เห็นว่า เป็นการจำลองถึงพิธีศพอันเกิดในอุตตรกุรุทวีป อันเป็นดินแดนอุดมคติของมนุษย์ตามคติไตรภูมิ ที่จะนำมาเปิดผ้าม่านกั้งเรื่องราวการตายที่สัมพันธ์กับประเพณีของคนอีสานในครั้งนี้

พุทธปรินิพพานในตำนานอุรังคธาตุ

เรื่องราวแห่งมหาวิปโยคของชาวพุทธ จากเหตุการณ์พุทธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกว่า ๒,๖๐๐ ปีก่อน ได้ถูกเรียบเรียงและบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก เรียกว่า มหาปรินิพพานสูตร เป็นพระสูตรที่มีขนาดยาวจึงเรียกว่า ทีฆนิกาย

สำบายดี ปี เมิงเฮ้า

“ปักขทึน (ปัก-ขะ-ทึน)” เป็นคำเก่าในวรรณกรรมอีสานโบราณ ตรงกับคำภาษาบาลี ว่าปักขทิน ตรงกับภาษาสันสกฤตว่า ปฺรติทิน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Calendar ปัจจุบันใช้ว่า ปฏิทิน แปลว่า แบบสำหรับดูวันเดือนปี คำว่า ปักขทึน มาจากคำ ๒ คำ

มังมูน บุญข้าว : เสาค้ำวัฒนธรรมอีสาน

มนุษย์ที่อาศัยในแผ่นดินอีสานค้นพบข้าวป่าและนำมาเป็นอาหาร จากยุคเก็บหาจนสามารถนำมาเพาะปลูกในผืนนาที่จัดการระบบนํ้าอย่างชาญฉลาด บนเส้นเวลาทอดยาวกว่าหมื่นปีที่วิถีข้าวและวิถีคนปรับปนจนเป็นเนื้อเดียวกัน ผูกพันก่อเกิดเรื่องราวของการผลิต การแปรรูป ความเชื่อ และประเพณี ที่สะท้อนถึงความสมบูรณ์มั่งคั่งโดยมีข้าวเป็นแก่นสารของการก่อเกิดวัฒนธรรม

ลุ่มแม่น้ำโขงยุคก่อนประวัติศาสตร์ในตำนานอุรังคธาตุ

ยุคประวัติศาสตร์เริ่มต้นเมื่อมนุษย์มีการจดบันทึกเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษร สำหรับดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงแล้วน่าจะเริ่มต้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ เป็นต้นมา ซึ่งหมายความว่าก่อนหน้านั้นเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์

เมืองฟ้า : สวรรค์ของคนอีสาน

“...สวรรค์บ้านนาอยู่ไหน ๆ ไม่รู้อะไร ใครมองไม่เห็น บ้านนาสวรรค์ทั้งเป็น ๆ โปรด มองให้เห็นนะจะเป็นความสุข ไม่เหมือนความ ทุกข์ของคนในบาร์ ๆ ...”
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com