By

"ศิรเทพ๑๑๐๗๘"

มรดกวัฒนธรรมพิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน

ธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 จนถึง พ.ศ. 2310 ลักษณะงานมีรูปแบบ องค์ประกอบ เทคนิค และวัฒนธรรม ตามแบบจิตรกรรมไทยประเพณีภาคกลางที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย จีน เขมร และอิทธิพล ของศิลปไทยยุคก่อนกรุงศรีอยุธยา ในระยะแรกใช้สีในวรรณะเอกรงค์ ต่อมาเมื่อมีการติดต่อกับต่าง ประเทศ ทำให้มีสีต่างๆ เพิ่มเข้ามา นิยมเขียนเรื่องอดีตพุทธ พุทธประวัติ ทศชาติชาดก เทพชุมนุมและ ภาพลวดลายต่างๆ ปิดทองที่ภาพสำคัญและทำลายดอกไม้ร่วงที่พื้นหลังภาพ สถานที่ตั้งจิตรกรรมส่วน ใหญ่พบที่อุโบสถ ปรางค์ วิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร กุฏิ ตู้พระธรรม สมุดข่อย และพระบฏ

พระธรรมบาล ประติมากรรมขอม

ธรรมบาล แปลว่า ผู้รักษาธรรม หรือผู้พิทักษ์ธรรม ในทางพุทธศาสนา พระธรรมบาล (สันสกฤตว่า ธรฺมปาลมฺ, Dharmapala) หมายถึง ผู้ปกป้องหรือพิทักษ์พระธรรมคำสอน อาจเป็นเทพ นาค คนธรรพ์ กินนร ยักษ์ ทั้งเพศชายและหญิง เรื่อยไปจนถึงภูตผีก็ได้ มีใจเคารพพระรัตนตรัย ยอมรับหน้าที่ที่จะดูแลคำสอน ธรรมสมบัติ ขับไล่ผีร้ายและอุปสรรคขัดขวางการปฏิบัติธรรม และช่วยเหลือผู้ปฏิบัติ

งานจำหลักไม้ บานประตูเรือนไทย

ศิลปะงานไม้ที่โดดเด่นสมัยโบราณก็คืองานจำหลักไม้ ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรม ทั้งบ้านเรือนที่อาศัยและสถาปัตยกรรมทางศาสนา

ปริศนาสุริยะเทพ

ประติมากรรมหินรูปสุริยะเทพ พบไม่มากในอาเซียน และที่พบในไทยและกัมพูชานั้นแตกต่างจากที่พบในชวาชัดเจน สุริยะเทพที่พบในไทยและกัมพูชาส่วนหนึ่งสวมหมวกแขกหรือที่เรียกว่า กีริฎมงกุฎ อีกส่วนหนึ่งสวมหมวกแขกเหลี่ยม บางรูปมีหนวดเครา (เช่นองค์ที่พบ ที่ศรีเทพ) สุริยะเทพสวมหมวกเหลี่ยมนี้ ผู้รู้ท่านว่าเป็นลักษณะพิเศษที่พบในอาเซียน แต่ไม่พบในอินเดีย ส่วนสุริยะเทพสวมหมวกแขกนั้นเป็นอิทธิพลช่างอินเดีย

พระพุทธรูปยืนทวารวดีในภาคกลาง (๑)

นักปราชญ์ท่านสรุปลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวารวดี แบ่งออกเป็น ๓ ยุค คือ ๑. มีลักษณะของอินเดียแบบคุปตะและ หลังคุปตะ บางครั้งก็มีอิทธิพลของอมราวดีอยู่ ด้วย ลักษณะวงพักตร์แบบอินเดีย ไม่มีรัศมี จีวร เรียบเหมือนจีวรเปียก พระพุทธรูปนั่งจะขัด สมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุในราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๒

เครื่องเบญจรงค์ ๒

ศิลปะเครื่องเคลือบของจีนมีพัฒนาการต่อเนื่อง และเป็นสินค้าออกที่สำคัญของจีนตราบจนถึงยุคล่าอาณานิคม ในสมัยราชวงศ์หมิงเครื่องเคลือบของจีนพัฒนาการจนใช้สีได้ห้าสีและมากกว่า เรียกว่า “อู๋ไฉ่” (五彩) หมายถึงเครื่องกระเบื้องเคลือบห้าสี ได้แก่ สีแดง เหลือง เขียวอ่อน เขียวแก่ และสีม่วงอมดำ

ภาพพระบฏ

“พระบฏ” ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้น และแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า “บฏ” มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือผืนผ้า

มรดกความเปลี่ยนแปลง

ทุกวันนี้มนุษย์ส่วนใหญ่มองเห็นและเข้าใจความสำคัญของประวัติการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น.. บางเผ่าพันธุ์มนุษย์ก็มีหลักฐานเรื่องราวย้อนอดีตไปได้ยาวไกล แต่บางเผ่าพันธุ์ก็ย้อนอดีตไปได้ไม่ไกล

พระพุทธรูปนั่ง ทวารวดียุคเก่า ที่บุรีรัมย์

พระพุทธรูปนั่งแบบทวารวดีในภาคอีศาน ที่มีอายุเก่าที่สุดที่พบในประเทศไทย คือพระพุทธรูปนั่งหินสลัก พบที่พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา)

เทพนม

ในพิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน มีศิลปวัตถุไม้แกะสลักชิ้นไม่ใหญ่สะดุดตาเป็นรูป “เทพนม” สำหรับชาวไทยแล้วประติมากรรม,ปูนปั้น, ลายประดับตกแต่งอาคาร รูป “เทพพนม” นั้น ชาวไทยพบเห็นอยู่ทั่วไปแทบจะทุกหนทุกแห่ง จากศาลพระภูมิในบ้าน, วัด, ราชวัง ฯลฯ
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com