By

สมปอง ดวงไสว

บุญข้าวสาก : ไปยามกัน สานสายใยเชื่อมโยงญาติ

มีคำผญากล่าวถึงบรรยากาศวิถีชีวิตงานประเพณีเดือนสิบ  บุญข้าวสาก อยู่ว่า              “ เถิงเดือนสิบ   สิก่นมันมาต้ม    พ่องกะงมกอข้าว   หาเทากำลังอ่อน   พ่องกะคนต่าน้อย   ลงห้วยฮ่องนา   เดือนนี้บ่ได้ช้...
Read More

ผาพุงเมืองเลยผ่านเลนส์ : อะเมซิ่งใหม่สุดที่ต้องดูด่วนเลย

กครั้งแรกประทับใจเสมอไม่มีวันลืมเลย สมัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมอยู่ที่โรงเรียนบ้านนานายกพิทยากร เห็นภาพครั้งแรกจากหน้าปกหนังสืออสท. ใบเมเปิ้ลสีแดง จำภาพได้แม่น นึกในใจ เมืองไทยสวยอย่างนี้เลยหรือ เลยสวยอย่างนี้จริงๆหรือเลย

บุญผะเหวด : บุญมหาชาติงานช้างในหัวใจศรัทธาชาวอีศาน

ก่อนวันเทศน์มหาชาติหนึ่งวัน เรียกกันว่า วันโฮม หรือ วันรวม ตอนเช้าผู้อาวุโสของหมู่บ้านได้ทําพิธีเชิญพระอุปคุตจากหนองนํ้า ใกล้วัดมายังบริเวณพิธีงานเทศน์มหาชาติด้วยมีความนับถือพระอุปคุตและเชื่อกันว่าพระอุปคุตซึ่งมีฤทธานุภาพในการปราบพญามาร สถิตอยู่ใจกลางมหาสมุทรสะดือทะเล จะป้องกันภยันตรายและบันดาลดลให้งานนั้นสําเร็จลุล่วงด้วยดีงานใหญ่ ๆ ทั้งหลายจึงมีการอัญเชิญพระอุปคุตมาไว้ ณ บริเวณพิธีด้วยประการฉะนี้

ปู่น้ำเงิน เบ็ญพาด : ปราชญ์ผู้นำอนุรักษ์จุดประทีปตีนกาของเมืองกาญจน์

กว่าจะเป็นปราชญ์ต้องเป็นปู่ ศึกษาเป็นผู้รู้ดำรงที่องอาจ กอปรด้วยรักเมตตาเป็นสามารถ เป็นที่นับถือของเบญพาดทุกรูปนาม

แม่ผู้เพาะต้นกล้าภาษา และวัฒนธรรมไทยในสวิส

“แม่ ใจเย็น ๆ แม่รอคิวก่อน” เสียงเด็กชายหน้าตาฝรั้งฝรั่ง จับมือแม่บอกแม่ใจเย็น ๆ ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ท่าตูม เมืองสุรินทร์ หรือที่กรุงเทพ ย่อมไม่แปลก แต่ที่แม่ลูกยืนคุยกันอยู่นั้นคือที่ เมืองเวททิงเง่น รัฐอาร์เกา สวิตเซอร์แลนด์

สิงหา-กันยา : สองศรีพี่น้องเพลงพิณ

เสียงเพลงพิณได้ยินมาแต่ไกล ให้นึกถึงเพลงพิณของ มงคล อุทก “ชีวิตเหมือนพิณกรีดสาย เล่นไปตามลายตามสายเสียงเพลง คนนี้ใจนี้มือนี้ ชีวิตเขามีแต่ดนตรีบรรเลง...”

ผาพุงเมืองเลยผ่านเลนส์ : อะเมซิ่งใหม่สุดที่ต้องดูด่วนเลย

รักครั้งแรกประทับใจเสมอไม่มีวันลืมเลยสมัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมอยู่ที่โรงเรียนบ้านนานายกพิทยากร เห็นภาพครั้งแรกจากหน้าปกหนังสือ อสท. ใบเมเปิ้ลสีแดง จำภาพได้แม่น นึกในใจเมืองไทยสวยอย่างนี้เลยหรือ เลยสวยอย่างนี้จริง ๆ หรือเลย

ไสว แกล้วกล้า : ผู้กล้าสร้างสีสันทุ่งกุลาร้องไห้

ลูกอีสานรักงานศิลปะ เรียนศิลปะ สอนศิลปะ และสร้างสรรค์งานศิลปะ ตามแบบฉบับของหัวใจ ใช้ชีวิตอยู่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เสาะหาวิถีชีวิตจิตวิญญาณของทุ่งกุลาร้องไห้ แล้วสร้างสีสันให้ปรากฏบนผืนผ้าใบ เป็นไปได้อย่างไรที่ทุ่งกุลาร้องไห้จะมีสีสัน

ไหว้ตาแฮกที่ปลายนา : หัวใจบุญข้าวสาก

บุญข้าวสาก เป็นงานบุญเดือนสิบของคนอีศาน นอกจากทำบุญอันเป็นพิธีทางศาสนาในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นประเพณีที่มีความเชื่อถือถึง วิถีชีวิต การทำมาหากิน รวมอยู่ในงานประเพณีที่สำคัญของบุญเดือนสิบ – บุญข้าวสากอีกด้วย

บุญคูนลานเดือนยี่ : ทำนาปลูกข้าว บุญก็ได้หัวใจก็ม่วนซื่น

ครูคำมูนว่าคาถาตีข้าว อาคัจฉาหิ อภิชาตสหมมะ ว่า ๗ ครั้ง ตีข้าว ๗ หน จากนั้นเริ่มต้นคนแรก ใช้เครื่องมือจับมัดฟ่อนข้าวแล้วยกให้สูงเหนือหัว แล้วฟาดลงไปที่ลานข้าว ข้าวร่วงออกจากรวง ตีข้าวอยู่สองสามหนจนข้าวร่วงหมดจากมัดฟ่อนข้าวแล้ว คราวนี้ก็เป็นการโยนมัดฟ่อนข้าวไปเก็บกองไว้อีกที่ แล้วการละเล่นสนุกสนานก็เกิดขึ้น

ลูกอีสาน ทำงานเติมน้ำมันเครื่องบินที่อลาสก้า

ฝรั่งตาน้ำข้าวเพื่อนที่ทำงานที่สนามบินด้วยกันถามว่า “ยูอยู่บ้านยูเมืองร้อน ๆ มาอยู่เมืองหนาวอย่างอลาสก้าได้อย่างไร” ผมหัวเราะให้เขาทั้งที่ยังหนาวสั่นมือเย็นเฉียบ “คุณอยู่ได้ฉันก็อยู่ได้แหละ ไม่มีปัญหา” หนุ่มอีสานแห่งเมืองอุบลราชธานี บอกว่าอยู่อีสานบ้านของเรา เคยมีกิน เคยอด ทั้งร้อนทั้งหนาว เราผ่านชีวิตต่ำสุดตรงนั้นมาแล้ว มาถึงวันนี้อยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ธรรมดามาก ๆ

ลูกอีศานรังสรรค์ลูกอีสาน

คนเขียนถ้าไม่ใช่ลูกอีสานจะถ่ายทอดสภาพร้อน ๆ แล้ง ๆ ถึงขนาดหมู่บ้านร้างเช่นนี้ได้อย่างไร ทำให้ได้คิด เมื่อเห็นหนังสือลูกอีสาน ฉบับครบรอบ 40 ปี หน้าปกเป็นรูปหนุ่มคูน ถือฉมวกห้อยข้องหาปลา คนออกแบบปกเป็นลูกอีสานบ้างหรือไม่ ทำไมจึงได้รสชาติเช่นนี้

หลวงพ่อคูณ : เทพเจ้าด่านขุนทด ในความทรงจำ

แม้ว่าร่างกายสังขารวิญญาณ พระเทพวิทยาคม หรือหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ จะสลายร่างลับล่วง แม้เถ้าถ่านก็ละลายไปกับสายแม่น้ำโขง ทำไมพระบ้านนอกธรรมดา ๆ องค์หนึ่งจึงยังคงอยู่ในหัวใจอยู่ในความทรงจำของพุทธศาสนิกชน

ตำซั้ว : จากเชียงคานสู่ รังสิตธรรมศาสตร์

ตำซั้วเชียงคานที่แปลกและแตกต่างคือใช้ผักสดลวก ลวกแบบสะดุ้งน้ำร้อนแล้วขึ้นเลย ไม่แช่นาน ทำให้กรอบ ผักที่ใช้เป็นของพื้นบ้านเชียงคานปลูกกันเอง

ไผว่าอีศานฮ้าง

ยามบ่ายตะวันคล้อย แสงแดดอ่อน ๆ ลมไล้โชยมายามเย็น ภาพที่เห็นผู้สาวนั่งทอผ้าอยู่ที่ในบริเวณบ้านเรือนของตน แม้จะมีอยู่ไม่มากเรือนนัก แต่ก็เห็นได้ว่ายังมีการทอผ้า คนทอผ้าอยู่และผ้าทอจากฝีมือของผู้สาวบ้านนี้ยังมีอยู่
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com