By

ธีรภาพ โลหิตกุล

ชวนตะลึง! ลึงคบูชา ราชันย์ภิเษก (๒)

ห้องศิลป์อีศาน ฉบับที่แล้ว ผมเล่าเรื่องลัทธิบูชาเทวลึงค์ในฐานะที่เป็นบุคลิกภาพอันศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์กัมพูชา ในยุครุ่งเรืองสมัย เมืองพระนคร (Angkor Period) ด้วยความเชื่อว่าความรุ่งเรืองของอาณาจักรขึ้นอยู่กับราชลึงค์อันสำคัญนี้ วิหารที่เก็บศิวลึงค์ต้องอยู่บนยอดเขา เป็นทำนอง “ภูเขาวิหาร” อาจเป็นภูเขาธรรมชาติ หรือจำลองขึ้นก็ได้ โดยตั้งอยู่กลางนครหลวง ที่ตรงนี้จะได้รับการเชื่อถือว่าเป็นแกนแห่งจักรวาล

ชวนตะลึง! ลึงคบูชา ราชันย์ภิเษก

วันหนึ่ง ผมได้ชมภาพการแสดงแสงสีเสียง ชุด “บูชาเทวัญ ราชันย์ภิเษก เอกบูรพาปราสาทสด๊กก๊อกธม” จัดแสดงที่ปราสาทสด๊กก๊กธม อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว เมื่อต้นปี ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา เป็นผลงานภาพของคุณรวินท์นิภา อุทรัง ช่างภาพชาวสระแก้ว ที่ผมเห็นแล้วตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก

ศิวนาฏราช ณ พนมรุ้ง ขอท้าว่าไม่ควรพลาดชม

“ศิวนาฏราช” หรือ พระศิวะร่ายรำเป็นภาพที่ชาวฮินดูลัทธิไศวนิกายนิยมประดับไว้ ที่ศาสนสถานเพื่อยกย่องพระศิวะในฐานะเทพ ผู้ทรงอานุภาพทั้งสาม คือ ผู้ให้กำเนิดโลก ผู้ปกป้องคุ้มครองโลก และผู้ทำลายเมื่อโลกถึง ยุคเข็ญ การร่ายรำของพระศิวะทำให้โลก หมุนเวียนเปลี่ยนกาลเวลา เช่น เมื่อโลกก้าวสู่ สหัสวรรษใหม่ ชาวฮินดูอธิบายว่าเกิดจาก “ศิวนาฏราช” ซึ่งหากพระองค์ทรงร่ายรำใน จังหวะที่พอดีโลกจะสงบสุข แต่หากพระองค์ทรง ร่ายรำด้วยจังหวะร้อนเร่า รุนแรง โลกก็จะเกิดกลียุค…

มหัศจรรย์ ‘ภูพาน’ บันดาลใจ (๑)

รูปลักษณ์ของดอกเหียงแลดูคล้ายเครื่องหมาย “สวัสดิกะ” ของชาวพุทธฝ่ายมหายาน ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก “สวัสดิกะ” ของชาวฮินดู เพียงแต่หมุนกลับข้างกัน (ของฮินดูหมุนวนทางขวา ของฝ่ายพุทธหมุนวนซ้าย) เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์มงคล เป็นเครื่องหมายแห่งพลวัตร การเคลื่อนไหว...

พุกาม : มรดกโลกใหม่ของพม่า

มิถุนายน 2562 ในที่สุดองค์การยูเนสโกก็ประกาศขึ้นทะเบียน พุกาม เป็นเมืองมรดกโลกแห่งใหม่ล่าสุดของพม่า เมืองที่เซอร์ เจมส์ สก็อต ประพันธกรชาวอังกฤษ ถึงกับพรรณนาไว้ในหนังสือ “The Burma, His Life and Notions” ตั้งแต่ พ.ศ.2425 หรือเมื่อกว่าร้อยปีมาแล้วว่า... “…ในบรรดาเมืองที่เกี่ยวข้องกับศาสนาในโลก ไม่ว่าจะเป็นเยรูซาเร็ม โรม เคียฟ พาราณสีไม่มีเมืองใดที่มีวัดวาอารามอยู่มากมายเป็นที่เชิดหน้าชูตาของเมืองเท่าพุกาม…

มงคลชีวิตที่หนองประจักษ์

ผมชอบเกาะกลางบึงนํ้าที่ออกแบบให้มีสะพานเชื่อมระหว่างเกาะ มีสวนดอกไม้ สวนสุขภาพสนามเด็กเล่น แต่ที่สุดยอดคือเส้นทางเดิน วิ่ง และขี่จักรยานรอบบึงนํ้า ได้มาตรฐานยุโรปราวกับสวนสาธารณะริมทะเลสาบเจนีวาในสวิตเซอร์แลนด์ จนรู้สึกอิจฉาชาวเมืองอุดรธานี นึกถึง “พุทธวจนะ” บทที่ว่า...การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เป็น ๑ ในมงคล ๑๐๘ ประการ

โอ้ นารายณ์ขายาวผู้ลือเลื่อง

ในตำนานอุรังคธาตุ เล่าว่าเมื่อพระมหากัสสปะอัญเชิญพระอุรังคธาตุมา จากอินเดีย พระยาสุวรรณภิงคารประสงค์จะขอแบ่งพระธาตุมาบ้าง จึงมีกุศโลบายชักชวนราษฎรชายและหญิง สร้างปราสาทแข่งกัน ของ ใครเสร็จก่อนจะได้เป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ ฝ่ายชายจึงสร้างปราสาทภูเพ็กขึ้นแข่งกับฝ่ายหญิงที่สร้างปราสาทนารายณ์เจงเวง

รำลึก ๑๒๙ ปีชาตกาล และกึ่งศตวรรษอสัญกรรม “ลุงโฮ” วีรบุรุษแห่งอัมนัม (๒)

“...ปวงชนชาวเวียดนามต่างสำนึกร่วมกันแล้วว่า พวกเขาได้ต่อสู้เพื่อจบสิ้นความขมขื่นที่บรรดานักล่าอาณานิคมฝรั่งเศสได้ทำไว้ และบัดนี้เราได้ชัยชนะของชาติกลับคืนมาแล้ว...”

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ ไม่ไป ไม่ผิด แต่น่าเสียดาย

เพียงแค่แลดูรูปทรงสถาปัตยกรรมของตัวอาคาร ก็ได้ใจ ชวนให้เข้าไปชมอย่างไม่ลังเลใจเลย เข้าไปแล้วก็ไม่ผิดหวัง เพราะนำเสนอความเป็นมาจากอดีตถึงปัจจุบันของสุรินทร์อย่างตั้งอกตั้งใจ ไม่ใช่แค่เอาของเก่ามาวางกองให้ดูรก ๆ แล้วเข้าใจว่านั่นคือสิ่งที่เรียก “พิพิธภัณฑ์”

รำลึก ๑๒๙ ปีชาตกาล และกึ่งศตวรรษอสัญกรรม “ลุงโฮ” วีรบุรุษแห่งอัมนัม (๑)

นับย้อนหลังพุทธศักราช ๒๕๖๒ ไปกึ่งศตวรรษ หรือ ๕๐ ปี ตรงกับวัน ๒ กันยายน ๒๕๑๒ เป็นวันเวลาแห่งการสูญเสียครั้งสำคัญของประชาชาติเวียดนาม เมื่อมีข่าวยืนยันว่าท่านประธานาธิบดีโฮจิมินห์ หรือที่ชาวเวียดนามเรียกขานด้วยความเคารพนับถือท่านดั่งญาติสนิทว่า “บัคโห่” หรือ “ลุงโฮ” ถึงแก่อสัญกรรมแล้วในวัย ๗๙ ปี

ปราสาทรวงข้าว พระธาตุรวงทอง พลังศรัทธากึกก้องของชาวอีสาน

เคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อผมได้เห็นพิธีกรรม “สู่ขวัญข้าว” อย่างใกล้ชิดเป็นครั้งแรกที่อำเภอพนมทวน กาญจนบุรี เมื่อปลายปี ๒๕๖๑ ทั้ง ๆ ที่ผมตั้งชื่อจริงของลูกสาวว่า “ขวัญข้าว” มานาน

ท่องทิพยวิมานอีสานใต้ ฮินดูดราม่า ณ เมืองต่ำ (๓)

มูลนิธิทางอีศาน จัดรายการทัศนศึกษาแหล่งโบราณสถานประเภทปราสาทหิน ซึ่งมีสถานะเป็น“ทิพยวิมาน” หรือ“เทวาลัย”

ท่องทิพยวิมานอีสานใต้ ประทับไว้ในดวงจิต (๒)

มูลนิธิทางอีศาน จัดรายการทัศนศึกษาแหล่งโบราณสถานประเภทปราสาทหิน ซึ่งมีสถานะเป็น “ทิพยวิมาน” หรือ “เทวาลัย” ของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู

ตานข้าวปุ๊กสนุกสุด ณ เมืองสามหมอก

เย็นวันนั้น ตัวเมืองแม่ฮ่องสอน จากมุมสูง ที่พระธาตุดอยกองมู ทำให้ผมกระจ่างใจว่าเหตุ ใดดินแดนที่ได้สมญานามว่าเมืองสามหมอก (หมอกหนาว หมอกฝน และหมอกควัน) จึงยัง รักษาวัฒนธรรมของตนเองไว้ได้มากกว่าเมืองอื่น

“ไพบูลย์ บุตรขัน” ร้อยปีมีหน คนเพลงมหัศจรรย์

ผมเกิดและเติบโตในเมืองกรุง จะได้เห็นชนบทก็ตอนปิดเทอม ได้ไปเที่ยวบ้านก๋ง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของพ่อ ณ ริมคลองบางพระ ฉะเชิงเทรา ชาวบ้านย่านนั้นส่วนใหญ่มีอาชีพเลี้ยงไก่ไข่ คำว่า “บ้านนอกคอกนา” ที่แท้จริง จึงไม่มีในจินตภาพของผมเลย
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com