By

ปรีดา ข้าวบ่อ

วันเสาร์ที่ 8 และวันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2565 งานรำลึกและเฉลิมฉลองครบรอบ 25|26 ปี อนุสรณ์สถานวีรชนประชาชน-อีสานใต้

วันเสาร์ที่ 8 และวันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2565 งานรำลึกและเฉลิมฉลองครบรอบ 25|26 ปี อนุสรณ์สถานวีรชนประชาชน-อีสานใต้ ณ บ้านโคกเขา อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์ .         ...
Read More

สนั่น ชูสกุล นักรบวัฒนธรรมผู้พลีชีพกลางสนามรบ (๓)

สนั่นหวนคิดถึงรากเหง้าของตนเสมอ แม้ได้ใช้ชีวิตอยู่ภาคอีสานมากกว่าที่บ้านเกิดของตน มาอยู่อีสานจนส่องซอดถึงระบบนิเวศบุ่ง ทาม มาอยู่จนตั้งสร้างครอบครัว มีลูกสองคน นายนาคร ชูสกุล และนางสาววรรณลีลา ชูสกุล

สนั่น ชูสกุล นักรบวัฒนธรรมผู้พลีชีพกลางสนามรบ (๒)

ดร.เสรี พงศ์พิศ ได้แสดงตัวอย่างรากลึกทางวัฒนธรรมที่บรรพชนสร้างไว้ “การรุกเข้าไปในชุมชนเป็นไปในหลายรูปแบบ ถ้าเปรียบกับธุรกิจ นายทุนใช้ทั้งไม้แข็งไม้นวม ใช้การครอบงําแบบซื้อตัว ซื้อที่ ซื้อความรู้ความสามารถของชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ที่เป็นอุปสรรคต่อการ ‘ฮุบ’ ที่ดิน การผูกขาดพันธุกรรม ทำลายความหลากหลาย ทําลายพันธุ์พืชพื้นบ้าน โดยการซื้อที่ดินที่ปลูกพืชเหล่านี้ก็มี แล้วให้เจ้าของที่ดินมาทํางานด้วยค่าแรงที่ไม่อาจปฏิเสธได้

สนั่น ชูสกุล นักรบวัฒนธรรมผู้เสียสละกลางสนามรบ

“ความรู้เรื่องระบบนิเวศอยู่กับชาวบ้าน ในน่านน้ำมีปลากี่ชนิดเขารู้จักและนับให้คุณฟังได้หมด รู้นิสัยของปลา รู้ว่ามันวางไข่เดือนอะไร วางไข่ที่ไหน เดือนไหนมันอยู่ที่ไหน หากินน้ำลึกหรือน้ำตื้น รู้หมด แล้วถ้าจะจับมันจะต้องมีเครื่องมือชนิดไหนเขาก็รู้ จับอย่างไรไม่เป็นการล้างผลาญเขาก็รู้ก็ทำ เขาหวงแหนและมีกุศโลบายในการดูแลให้มีอยู่มีกินถึงลูกถึงหลาน เขามีพิธีแสดงความรักความกตัญญูต่อธรรมชาติ ทั้งตาแฮก ปู่ตา แม่คงคา แม่ธรณี แม่ย่าเพีย มเหศักดิ์หลักเมือง

หมู่บ้านที่ไม่ปรากฏบนแผนที่ประเทศไทย

หมู่บ้านนี้ชาวบ้านตั้งชื่อกันเองว่า หมู่บ้าน"คาเซ" ตามชื่อหมู่บ้านในละครเรื่อง"เก็บแผ่นดิน" ที่ชาวบ้านลุกขึ้นมาต่อสู้กอบกู้แผ่นดินเกิดของตน ชื่อหมู่บ้านดั้งเดิมตั้งตามลักษณะภูมิศาสตร์ - "ตะกาดบัวผุด"

จากใจชาว “ทางอีศาน”

สนั่น ชูสกุล ได้รับการปลูกฝังให้รักชาติรักประชาชนตั้งแต่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย แล้วตัดสินใจเลือกใช้ชีวิตและสร้างครอบครัว ท่ามกลางการต่อสู้เพื่อสิทธิเพื่อปากท้องของประชาชนคนรากหญ้า พร้อมกับฝึกทักษะงานด้านวรรณศิลป์จนชำนาญ ผลงานเขียนทุกประเภทของเขาสามารถถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ออกมาได้อย่างถึงเลือดถึงเนื้อ เข้าถึงจิตวิญญาณและมีพลังความใฝ่ฝัน โดยเฉพาะงานสารคดีช่วงสุดท้ายเมื่อเขากลับจากไปตระเวนศึกษาดูงานที่ต่างประเทศ

ใ จ ค น อี ศ า น

ให้ข้อมูลคณะก้าวหน้า เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ประชาชนบนภูพาน อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ผ่านนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนตุลาคม ๒๕๖๔ เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงประวัติศาสตร์... และมอบหนังสือ "ทางอีศาน" เพื่อให้ศึกษา ถ้าหากอยากอยู่ในใจคนอีสานครับ

ธรรมนูญประชาชน

เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไทย นับวันยิ่งมีรายได้ลดน้อยลง แต่หนี้สินกลับพอกพูน สังคมเต็มไปด้วยอภิสิทธิ์อิทธิพล เศรษฐกิจถูกผูกขาด ข้ารัฐการไร้คุณภาพขาดคุณธรรม ระบบเผด็จการครองเมืองมายาวนาน ทั้งมหาอำนาจต่างแย่งยื้อกันเข้าครอบงำยิ่งขึ้น จึงนำเสนอ “ธรรมนูญประชาชน” เพื่อต้านยัน รุกคืน สร้างความกินดีมีสุข และความเจริญรุ่งเรือง

ปึ้มเรื่อง “สาวผู้ไทในนอร์เวย์”

ปึ้มเรื่อง "สาวผู้ไทในนอร์เวย์" เขียนโดย สฤษดิ์ ผาอาจ และจารุณี ศรีหริ่ง มาทิเซ่น หนังสือเล่มนี้เขียนโดยพี่ชายและน้องสาวที่ต่างพ่อต่างแม่กัน ทั้งสองเกิดหมู่บ้านเดียวกัน เรียนหนังสือถึงชั้นมัธยมต้นโรงเรียนเดียวกัน ชอบอ่านหนังสือ ชอบร้องรำทำเต้น และเท่าที่จับสังเกตจากสำนวนภาษา จากจริตระหว่างบรรทัด คนทั้งสองน่าจะขี้ดื้อพอ ๆ กัน เนื้อหาเล่าบอกชีวิตแต่งงานของ จารุณี ศรีหริ่ง กับหนุ่มใหญ่ชาวนอร์วีเจี้ยน โดยสร้างครอบครัวใหม่ขึ้นที่นอร์เวย์
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com