Category

จากใจทางอีศาน

ปิดเล่ม

เวลาหนึ่งเดือนผ่านไปอย่างรวดเร็ว งานทำหนังสือรายเดือนเหมือนกาลเวลาที่พลิ้วผ่านไป มีเรื่องราวที่ต้องปรับปรุงแก้ไขมากมาย แต่ข้อ จำกัด บีบรัดเราก็มากมายเช่นกัน

เหลือใจกับการเสียชีวิต ของลูกหลานไทศรีสะเกษ

ขอแสดงความเสียใจร่วมกับพ่อแม่พี่น้องญาติมิตรทุกคน เหลือใจอย่างยิ่งกับการตายของคนหนุ่มสาวจำนวนสิบกว่าคนในคราวเดียวกัน

สายแนนอุษาคเนย์

นํ้าเต้าปุ้งผุดจากซากควายเขาลู่ ฝูงคนหมู่อาศัยได้อุปถัมภ์ ปู่ลางเซิงขุนคานซีเจาะนำ ได้ป่องเกิดอยู่กํ้าเมืองลุ่มเพียง นํ้าเต้าปุ้งควํ่าหงายกายเพศแม่ ยามครรภ์แก่กลมใหญ่ใครจะเถียง ภูมิปัญญาบรรพชนคนเทียบเคียง จึงเรียบเรียงนิทานตำนานมา

บทบรรณาธิการ : โจกโหลกฟ้า

สารานุกรม ภาษา อีสาน-ไทย-อังกฤษ” ของ ปราชญ์ปรีชา พิณทอง อธิบายว่า โจกโหลก ว. ที่ลุ่มซึ่งเป็นแอ่งใหญ่ เรียก ขุมโจกโหลก. large (of hole or pond). สำหรับการใช้ในภาษาพูด(ปาก)ทั่วไปกินความถึง พื้นที่หนึ่ง, ขอบเขต, อาณาเขต เช่น “ใต้โจกโหลกฟ้านี้ใครจะใหญ่เกินกู

ต่อหน้าจิตกาธาน

ร่างของทนง โคตรชมภู กำลังถูกเผาไหม้ ภายในโครงครอบหนาทึบ ส่วนบนเป็นโลงบรรจุศพ ส่วนล่างอัดแน่นด้วยถ่านชุ่มน้ำมัน มีช่องเร่งไฟและปล่องควัน ญาติพี่น้องและเพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมพันคนมาชุมนุมร่วมส่งสะการ มาเพื่อเรียน”วิชามนุษย์ที่ชื่อทนง โคตรชมภู”

สูงสุดสู่สามัญ

ที่โคนต้น เขาเฝ้าดูผู้คนปีนป่ายต้นไม้แห่งลาภ ยศ อันสูงลิบยอดเลือนหายไปในเวิ้งฟ้า อากาศ เป้าหมายจะไปให้สูงสุด เพื่อจะคืนสู่สามัญตามคำโบราณว่าไว้

ทางอีศาน 38 : ปิดเล่ม

สภาพเศรษฐกิจและสังคมอีสานในช่วงทศวรรษ ๒๔๗๐ – ๒๔๘๐ อันเป็นยุคเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตยนั้น น่าใส่ใจศึกษาค้นคว้าให้มากขึ้นอีก “ทางอีศาน” ฉบับนี้ทำได้เพียงสรุปเสนอภาพกว้าง ๆ อย่างย่อ ๆ ไว้ก่อนเท่านั้นทางรถไฟที่สร้างมาถึงโคราช (พ.ศ. ๒๔๔๓)

“อู่น้ำแอ่งอารยธรรม”

แม่นํ้าโขงเป็นมหานทีของโลก มีสายนํ้าสาขาจากภูเขาและที่ราบสูงน้อยใหญ่ไหลสมทบมากมายมนุษย์ได้อาศัยอยู่กิน ได้สร้างสมเสพวัฒนธรรมกันอยู่ทุกซอกผาและตามแหล่งที่ราบลุ่ม ย้อนไปก่อนมีเส้นขีดแดนประเทศ กลุ่มเผ่าเหล่าชนได้รวมตัวกันอยู่ตามสภาพธรรมชาติ มีวิถีชีวิต การดื่มกิน ที่พักอาศัย ภาษา นิทาน ตำนานความคิดความเชื่อ แสดงออกด้วยแบบแผนเดียวกัน ส่วนหนึ่งของเขตราชอาณาจักรไทยในปัจจุบันหมู่บ้านตำบลเมืองทางด้านภาคเหนือ และโดยเฉพาะภาคอีสาน ที่อยู่ในแอ่งอารยธรรมแม่นํ้าโขงเราต่างมีวัฒนธรรมร่วมกับอีกฟากฝั่งแม่น้ำและตามสายสาขาแม่นํ้าต่าง ๆ

แอ่งอารยธรรมแม่น้ำโขง

สองลุ่มฝั่งแม่น้ำโขง เป็นเรือนเกิดเรือนตายของกลุ่มชาติพันธุ์วรรณนาหลากหลาย ผู้คนได้หยัดยืนต่อสู้กับธรรมชาติและภัยมนุษย์มาด้วยความหฤโหดและหฤหรรษ์ ก้าวข้ามพัฒนามาตามห้วงแห่งความเปลี่ยนแปลง เกิดชุมชนบ้านเมือง เกิดรัฐเล็กรัฐน้อยและอาณาจักรต่าง ๆ

เสียงพิณเสียงแคน

เสียงพิณเสียงแคนเป็นดังชีวิตจิตวิญญาณของอารยชนลุ่มแม่น้ำโขง แม้พลัดพรากไปอยู่แห่งหนตำบลไหน ครั้นได้ฟังได้ยินจะถวิลหารากเหง้าเหล่าตน เหมือนคนที่ฝังสายรกสายแฮ่ไว้หมู่บ้าน แม้ดิ้นรนทำมาหากินอยู่ถิ่นไหนบั้นปลายชีวิตหากเลือกได้ก็ปรารถนากลับมาตายที่บ้านเกิด

ปิดเล่ม ทางอีศาน 19 : ตำนานผาแดง-นางไอ่

คนไทในดินแดนเวียดนามยุค “สังคมแม่เป็นใหญ่” มีสองโคตรวงศ์ ต้องแต่งงานข้ามโคตรกันสองโคตรนั้นคือโคตรนกกับโคตรเงือก (ต่อมาใช้คำว่า “ลวง” และ “นาค”) “ซิ่นผี” ที่คนทรงนุ่งขณะเชิญผีบรรพชนเข้าทรงจะมีลายบ่งบอกโคตรวงศ์ คือ ลายนก กับลายนาค เงือกหรือลวงหรือนาคมีความหมายลึกลํ้ามากกับคนตระกูลไท-ลาว

เริ่มจากเรื่องใกล้ตัว เริ่มที่งานรูปธรรม

ข้อเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนคือ เราควรเริ่มจากเรื่องง่าย ๆ แม้การทำสิ่งใดบนโลกนี้ไม่มีอะไรง่ายเริ่มจากเรื่องใกล้ตัวไปไกลตัว เริ่มจากงานรูปธรรมสู่งานนามธรรม เริ่มจากครอบครัว เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมเรียนร่วมอาชีพ รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ช่วยกันสร้างปัจจัยสี่ ให้มีกินมีใช้ มีความสุขในวิถีฮีต - คองวัฒนธรรมของตน กำหนดและเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม จากกิจกรรมกลุ่มขยายสู่กิจกรรมชุมชน

การเปลี่ยนผ่าน

จากสังคมทาส การเกณฑ์แรงงาน เลกไพร่ ส่งส่วย มาถึงสังคมทุนนิยมที่มีการกินส่วนต่าง ส่วนเกิน ใช้เงินต่อเงิน ถึงวันนี้สภาพชีวิตผู้คนใน เกือบแสนหมู่บ้านทั้งประเทศไทย ไม่เหมือนสมัย ปู่ย่าตายายอีกแล้ว คนหนุ่มสาวคนวัยแรงงาน แทบไม่มีเหลือในหมู่บ้าน แถมยังมีชีวิตอย่างไร้ หลักประกันความมั่นคงในทุกด้าน ยิ่งตลกร้ายที่ ให้คนประกอบการภาคอุตสาหกรรมผูกขาดมา สอนการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ให้คนในระบบ ราชการมาสอนนวัตวิถีแก่คนรากหญ้า ซ้ำเติม หมู่บ้านเข้าไปอีกเมื่ออภิมหาทุนรุกเข้าไปกินป่า ครอบครองทำลายภูเขาแม่น้ำ และได้สัมปทาน ขุดผลาญแร่ธาตุใต้พิภพยิ่งขึ้น
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com