หนองหงส์ ทับหลัง และข่าวล่าสุด
ประวัติปราสาทหนองหงส์
ตั้งอยู่ที่บ้านโนนดินแดง อยู่ทางด้านซ้ายของแนวสันเขื่อนลำนางรอง ห่างจากตัวเขื่อนประมาณ 500 เมตร
วัดคาทอลิก
วัดคาทอลิก
วัดแม่พระคนกลางแจกจ่ายพระหรรษทาน - โรงเรียนมารดาวนารักษ์
วัดโพธิ์ย้อย 12 กันยายน 2563
อุโบสถไม้พังถล่มลงนานมาแล้ว ก่อนหน้านั้นกรมศิลป์ห้ามซ่อมห้ามปรับปรุง บัดนี้ก็ห้ามแตะต้อง
จ.บุรีรัมย์ มีปราสาท|กู่โบราณสมัยขอม มากที่สุดในประเทศไทย
วันนี้เดินทางไปชื่นชม"ปราสาทโคกงิ้ว" อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์
ทีมช่างกำลังลุยปรับปรุง ทำงานกันมาได้ 4 เดือนแล้ว ภายในต้นปีหน้าคงเสร็จสมบูรณ์
อุโบสถไม้ที่วัดโพธิ์ย้อย
วัดโพธิ์ย้อย ตำบลไทยเจริญ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ริมถนนสาย 224 ใกล้สามแยกปะคำ ภายในวัดมีอุโบสถไม้หลังเก่าซึ่งสร้างซ้อนทับลงบนฐานศิลาแลงสูงเด่น
พระธรรมบาล ประติมากรรมขอม
ธรรมบาล แปลว่า ผู้รักษาธรรม หรือผู้พิทักษ์ธรรม
ในทางพุทธศาสนา พระธรรมบาล (สันสกฤตว่า ธรฺมปาลมฺ, Dharmapala) หมายถึง ผู้ปกป้องหรือพิทักษ์พระธรรมคำสอน อาจเป็นเทพ นาค คนธรรพ์ กินนร ยักษ์ ทั้งเพศชายและหญิง เรื่อยไปจนถึงภูตผีก็ได้ มีใจเคารพพระรัตนตรัย ยอมรับหน้าที่ที่จะดูแลคำสอน ธรรมสมบัติ ขับไล่ผีร้ายและอุปสรรคขัดขวางการปฏิบัติธรรม และช่วยเหลือผู้ปฏิบัติ
มอม, ตัวมอม, สิงห์มอม หมายถึงอะไร ?
ปัจจุบันนี้คงหาคนอธิบายได้ยาก
มอม คือสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ มีรูปร่างลักษณะผสมระหว่าง สิงห์ เสือ แมว ค่าง นิยมทำเป็นประติมากรรมเฝ้าพุทธสถาน (ล้านนา, อีสาน, ลาว) และลายสักขา (อีสาน)
เรื่องจากปก : สัก (สับ) อีสาน สนทนา
นี่อาจเป็นครั้งแรกที่คุณได้ยินคำว่า “สั บ ขา ลา ย” ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ ศิลปินหนุ่มเลือดอีสานผู้หลงใหลในรอยสัก และมองเห็นคุณค่าของงานสัก ได้ใช้เวลากว่า ๕ ปี ออกเดินทางทั่วประเทศ เพื่อตามหาและบันทึกประวัติศาสตร์ของงานสักขาลายรุ่นสุดท้ายไว้...
เยี่ยมพิพิธภัณฑ์ หนูฮัก พูมสะหวัน “หนึ่งในวีรบุรุษแห่งอารยธรรมลุ่มน้ำโขง” สืบสานความสัมพันธ์สองฝั่งโขง
เยี่ยมพิพิธภัณฑ์ หนูฮัก พูมสะหวัน
“หนึ่งในวีรบุรุษแห่งอารยธรรมลุ่มน้ำโขง”
สืบสานความสัมพันธ์สองฝั่งโขง
ปราสาทพนมรุ้ง เทพสถานอีสานใต้
สมัย “ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์” ยังสถิตอยู่ที่ชิคาโก ข้าพเจ้าไม่เข้าใจหรอกว่าทำไมที่ประดิษฐานดั้งเดิม จึงอยู่เหนือซุ้มประตูทางเข้าปราสาทหินพนมรุ้ง
ประวัติและที่มา ทำไมพระอาทิตย์และพระจันทร์จึงอยู่บนท้องฟ้า
พระอาทิตย์และน้ำเป็นเพื่อนรักที่ดีต่อกันมาชั่วกาลนาน ทั้งสองต่างอาศัยอยู่บนโลกเดียวกันมาก่อน พระอาทิตย์มักจะไปเยี่ยมน้ำเพื่อนรักอยู่เป็นประจำไม่ขาดปฏิบัติเช่นนี้เรื่อยมาจนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่ตรงกันข้ามกับน้ำที่ไม่เคยไปเยี่ยมพระอาทิตย์เลยสักครั้งหนึ่ง เป็นเพราะเหตุผลใดไม่สามารถจะรู้ได้
ประวัติและที่มา ทำไมเจ้าของแผ่นดินจึงได้ชื่อว่า เจ้าแม่นางธรณี และนกกะแดดเด้า
ในคัมภีร์ปฐมกัปป์ได้บอกไว้มีว่า “ลมชูนำน้ำกะเล่าซูปลา ปลาชูหินหินชุดินจังบ่จมลงได้ลมพัดให้เป็นดินสองแผ่น แผ่นหนึ่งหญิงอยู่เฝ้าเป็นเจ้าแผ่นดิน แผ่นหนึ่งชายอยู่เฝ้าเป็นเจ้าแผ่นดิน ไกลกันล้ำพอประมาณฮ้อยโยชน์ แล้วจั่งติดต่อจ้ำกันเข้าแผ่นเดียว” เกิดแผ่นดินและสิ่งมีชีวิตขึ้นในโลกนี้ มีทั้งสวรรค์ นรก อเวจี ครุฑ นาค เทวดา พระอินทร์ พระพรหม พระอาทิตย์และพระจันทร์ แต่ยังไม่มีแสงส่องพื้นโลก
วัดหลวงปากเซ การประสมประเสที่น่าทึ่ง
“ปากเซ” เป็นเมืองเอก หรือเมืองศูนย์กลางของแขวงจำปาสัก และยังถือเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การค้า การคมนาคม ของสปป.ลาว ในเขตภาคใต้ อีกทั้งยังเป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดของลาวอีกด้วย
“หมอลำหลวง” เมืองอุบลฯ
มีด้วยหรือ “หมอลำหลวง” ?
มีซิ ทำไมละ ในเมื่อ “โหรหลวง” หรือหมอดูหลวงยังมีเลย
แต่ “หมอลำหลวง” มีในอดีตสมัยรัชกาลที่ ๕ โน่น
ท้าวผาแดง – นางไอ่
วรรณคดีภาคอีสานโบราณซึ่งมีอยู่ในหนังสือผูกที่สำคัญเรื่องหนึ่งคือ “ท้าวผาแดง-นางหนังสือผูกนี้โดยปกติจานลงในใบลานเป็นตัวหนังสือไทยน้อย โดยทั่วไปตัวหนังสือที่ใช้อยู่ในภาคอีสานแต่ก่อนนั้นมีอยู่ ๓ แบบ
ตัวหนังสือไทยน้อย นั้นส่วนมากใช้ในวงการบ้านเมืองทางคดีโลกและวรรณคดี แบบที่สองคือ ตัวหนังสือธรรม ส่วนมากใช้ทางคดีธรรม คือใช้ในวัดแบบที่สาม คือ ตัวหนังสือขอม เป็นอักษรสำหรับจารึกพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ทั้งสามแบบนี้
ใช้เหล็กแหลมจาน (ขีด) จารึกไว้บนใบลาน โดยใช้เส้นเชือกร้อยหรือผูกไว้ ถ้าหากมีขนาดยาวก็เรียกว่า “หนังสือผูก” ซึ่งมักจะเป็นเรื่องวรรณคดี ถ้าหากจารึกลงในใบลานขนาดสั้นก็เรียกว่า “หนังสือก้อม” โดยมักจะเป็นประเภทตำราต่าง ๆ ทางวิชาการ