Category

อีสานบ้านเฮา

มะเขือในครัวไทย

โบราณว่าไว้ “ของดี ไม่กินก็เน่า เรื่องเก่า ไม่เล่าก็ลืม” เรื่องราวของมะเขือ พืชผักที่แสนธรรมดาในสายตาหลายคน มะเขือนานาชนิด เคยโดดเด่นอยู่ในถ้วยอาหารไทยทุกภาคถิ่น กลางและใต้ มีแกงเผ็ดใส่มะเขือ ยำเนื้อใส่มะเขือ ทางเหนือมีตำมะเขือส้ามะเขือ อีสานมีซุบมะเขือ มาถึงวันนี้ อาหารไทยสมัยใหม่มีมะเขือน้อยลง ทั้งชนิดและปริมาณ ด้วยเกรงว่าเรื่องของมะเขือในครัวไทยจะถูกลืม เอาละวันนี้เราจะมาคุยกัน…เรื่องมะเขือ

ตุนอาหาร

พ่อเฒ่าเกรียงศักดิ์ มีลูกเขยชื่อ จักษ์ เป็นคนชอบเล่นไพ่ในระดับต้น ๆ บางครั้งก็ได้ บางครั้งดวงซวยก็เสีย แต่ส่วนใหญ่ก็จะหนักไปทางเสียซะมากกว่า จนพ่อเฒ่าเกรียงศักดิ์ ต้องเตือนแล้วเตือนอีก เนื่องจากสงสารลูกสาวกับหลาน ๆ ต้องหารายได้จากทางอื่นมาเสริม ดูแลครอบครัว

ร่องรอยหลักฐาน

พ่อเฒ่าสุทัศน์ เป็นคนย้านเมียมาตั้งแต่แต่งงานวันแรกจนถึงปัจจุบัน การกระทำกิจกรรมใด ๆ ต้องอยู่ในกรอบที่เมียกำหนดทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องผู้หญิง พ่อเฒ่าสุทัศน์จะถูกเมียตัดสิทธิ์โดยสิ้นเชิง อย่าให้มีหลักฐานให้รู้เห็นเป็นอันขาดถ้าได้พบเห็นเป็นต้องเกิดเรื่องใหญ่เป็นแน่แท้!

ยางหมากกะถุน

“พ่อเฒ่า ! ข้อยเบิ่งเจ้าคล้ายกับคนมีความเหงา เก็บกดเนาะ! หรือว่า เจ้าอยากได้เมียใหม่ ?” บักคำถามแบบแย็บหมัดตรง “มึงฮู้ได้จั้่งได๋วะ ? ที่จริงพ่อก็อยากได้เมียใหม่อยู่” พ่อเฒ่าช้างเว้าอ้อมแอ้ม แล้วว่าต่อ “พ่ออยากได้เมียเป็นสาวน้อยว่ะ...แม่ฮ้างนางหม้ายพ่อบ่เอ๋าเด้อ!”

แม่ผู้เพาะต้นกล้าภาษา และวัฒนธรรมไทยในสวิส

“แม่ ใจเย็น ๆ แม่รอคิวก่อน” เสียงเด็กชายหน้าตาฝรั้งฝรั่ง จับมือแม่บอกแม่ใจเย็น ๆ ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ท่าตูม เมืองสุรินทร์ หรือที่กรุงเทพ ย่อมไม่แปลก แต่ที่แม่ลูกยืนคุยกันอยู่นั้นคือที่ เมืองเวททิงเง่น รัฐอาร์เกา สวิตเซอร์แลนด์

กิ น ก้ อ ย ซี้ น

พ่อเฒ่ากิ เป็นผู้ใหญ่บ้านที่เข้มแข็ง เป็นคนเอาการเอางานดีมาก ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในอำเภอจะรู้จักแกดี หากมีงานสำคัญ ๆ ในอำเภอก็มักจะเรียกใช้แกเป็นแม่งานหลัก ผู้ใหญ่กิ แกมีถิ่นกำเนิดอยู่ “ทางอีศาน”

“เมืองเลยฉันรักเธอ” เสียงแผ่นดิน สื่อสารสุขไทเลย

จังหวัดเลยเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อในเรื่องของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติภูเขาป่าไม้ที่สวยงามและยังเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศให้หมุนเวียนกันเข้ามาเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเลยอย่างไม่ขาดสาย

ผาพุงเมืองเลยผ่านเลนส์ : อะเมซิ่งใหม่สุดที่ต้องดูด่วนเลย

รักครั้งแรกประทับใจเสมอไม่มีวันลืมเลยสมัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมอยู่ที่โรงเรียนบ้านนานายกพิทยากร เห็นภาพครั้งแรกจากหน้าปกหนังสือ อสท. ใบเมเปิ้ลสีแดง จำภาพได้แม่น นึกในใจเมืองไทยสวยอย่างนี้เลยหรือ เลยสวยอย่างนี้จริง ๆ หรือเลย

จ.บุรีรัมย์ มีปราสาท|กู่โบราณสมัยขอม มากที่สุดในประเทศไทย

วันนี้เดินทางไปชื่นชม"ปราสาทโคกงิ้ว" อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์ ทีมช่างกำลังลุยปรับปรุง ทำงานกันมาได้ 4 เดือนแล้ว ภายในต้นปีหน้าคงเสร็จสมบูรณ์

คนละเรื่อง

“แม่ พื้นเพแม่เป็นคนจังหวัดไหนครับ?” แม่เฒ่าอ่อนทาตอบ “แม่เป็นคนตาก!” ทองรัตน์หันหน้าไปถามพ่อเฒ่าละบ้าง “พ่อเฒ่าล่ะครับ?” พ่อเฒ่าละไม่ทันได้ตั้งตัว ได้ยินแว่ว ๆ ว่า แม่เฒ่าอ่อนทาเป็นคนตาก ก็ตอบไปทันทีว่า “กูเป็นคนซัก! มึงก็รู้ ไม่น่าถาม!”

หมาน

การดำเนินชีวิตของชาวอีสานนั้น ค่อนข้างจะเรียบง่าย การทำมาหากินตามทุ่งนา ป่าเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ล้วนแต่เป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ และคนอีสานกินได้สารพัด พืชผักตามท้องไร่ท้องนา ข้างรั้วบ้านมีให้เลือกกินได้อย่างสบาย ยิ่งเป็นพวกแมลงก็เป็นอาหารของชาวอีสานเกือบทุกชนิด เห็ดที่ขึ้นตามป่าหรือตามท่อนไม้ คนอีสานเลือกกินได้ทั้งนั้น แม้ในกระเป๋าไม่มีเงินสักบาทคนอีสานก็ไม่อดตาย

กลัวงู

เวลานาทีในแต่ละวัน มันช่างขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วจนไม่น่าเชื่อ นี่ก็จะถึงวันปีใหม่อีกแล้ว พ่อเฒ่าหลวยนักดื่มตัวยงแห่งบ้านกุดแห่บอกบักหลอดผู้เป็นลูกเขย “หลอดเอ้ย! ใกล้ฮอดปีใหม่แล้วเด้อ...หาเงินเก็บเงินไว้ซื้อเหล้าฉลองปีใหม่แหน่เด้อ...ปีนี้เอาให้ซอดแจ้งโลด!” “บ่ต้องห่วงพ่อ ปีนี้ทั้ง ๔๐ ดีกรี และสาโทเตรียมการไว้แล้ว!”

วิธีระงับโกรธ

เรื่องลูกเขยกับพ่อเฒ่านี่ เขียนมาหลายเรื่องพ่อเฒ่าก็โดนลูกเขยเล่นงานอยู่เสมอ ไม่รู้มันเป็นบาปกรรมของพ่อเฒ่ารึเปล่าก็ไม่อาจทราบได้ มีพ่อเฒ่ารายหนึ่งอ่านเรื่องพ่อเฒ่ากับลูกเขยในนิตยสาร “ทางอีศาน” มาหลายเรื่องจึงหาทางแก้เผ็ดลูกเขยบ้าง จะไม่ยอมให้ลูกเขยตัวเองมาสร้างวีรกรรม เหนือกว่าพ่อเฒ่าได้อีกต่อไป!

บักโอกเหลือง

บักเทือง เป็นคนมีอารมณ์ดีเหมือนพ่อเฒ่า แต่ลูกเล่นแพรวพราวทันสมัยกว่าพ่อเฒ่าทองมากเพราะเป็นคนรุ่นใหม่ เมื่อเสือ ๒ ตัวมาอยู่บ้านหรือถํ้าเดียวกัน พูดอะไรออกมาก็ทันกันหมด จนพ่อเฒ่าทองถอดใจ ยิ่งตอนนี้แม่เฒ่ามน เมียแกตายไปแล้ว ไม่มีคู่ปรึกษาก็เลยเข้าบวชที่วัดในหมู่บ้าน ลูกหลานก็ยินดี เข้าวัดทำบุญอุปถัมภ์ ดูแลพึ่งใบบุญของหลวงพ่อเสมอมา
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com