รุ่นห้าร้อย
“ป๋า...หนูขอนั่งร่วมโต๊ะได้ไหม?”
“ได้เลยหนู” พ่อเฒ่าแอ้อนุญาตเพราะดูแล้วหน้าตาสวยดี บักตุ๊ดก็เป็นผู้จัดแจงหาเครื่องดื่มบริการ
“ป๋าขา... หนูมีเรื่องเดือดร้อนทางการเงิน หนูมีห้องพักแต่ค่าเช่าห้องไม่พอ อยากให้ป๋าช่วยสองพัน”
สาววัยรุ่นอ้อน
“ห้าร้อยได้ไหม?”
ความหมายของขันหมากเบ็ง ลาวล้านช้างโบราณ
ขันหมากเบ็งจ์ หรือ ขันหมากเบ็ง เป็นเครื่องสักการะชั้นสูง มีมาแต่โบราณในอาณาจักรไท ทั้งในล้านนา
(หมากสุ่ม หมากเบง) ล้านช้าง (ขันหมากเบ็ง หมากเบญจ์) เป็นบายศรีโบราณ อายุนับหลายพันปี มีจารึก
ในใบเสมาทวารวดี ประวัติที่ชัดเจนของขันหมากเบ็งจ์ตามหนังสือผูกใบลานกล่าวถึงขันหมากเบ็งจ์ ดังนี้
“ศักราชได้สมัยพระเจ้าฟ้างุ้มมหาราช พระเจ้าแผ่นดินชวาเชียงทอง (ล้านช้าง) มีอัครมเหสีจากกรุงกัมปูชานครวัดนครทมนามว่า นางแก้วเกงยา (นางแก้วกัลยา) ตามจาฮีตดั้งเดิมในราชอาณาจักรนั้นตั้งมีการบรวงสรวงผีมเหศักดิ์หลักเมืองเพราะล้านช้างยังนับถือผีอย่างกล้าแข็ง พระองค์ทั้ง ๒ เสร็จประทับในพลับพลา ปะรำพิธีเลี้ยงผีเมืองผีแถนหลวงของล้านช้าง...
ฮีตเดือนสิบ เกิดจากคติเรื่อง “เมียหลวงอิจฉาเมียน้อย”
คำว่า ข้าวสลาก หรือ ข้าวสาก หรือข้าวกระยาสารท แปลว่า ของกินในฤดูสารท และคำว่า หม้อข้าว ข้าวทิพย์ ข้าวปายาส (ปายาด) ข้าวมธุปายาส ข้าวปาด ข้าวสัปปิยาคู ก็มีความหมายเดียวกันแต่เรียกต่างกัน คำว่า ข้าวสลาก มาจากคำว่า สารท (ศรทฺ) ในภาษาสันสกฤต (ภาษาบาลีมาจากคำว่า สรท) ต่อมาออกเสียงสากหรือสาด