คําผญา (๑๙) “สุขทุกข์นี้ของกลางเทียมโลก บ่มีไผหลีกล้มลงหั้นสู่คน”

ความสุขความทุกข์เป็นสิ่งคู่กัน และก็เป็นสมบัติของโลก ใครเกิดมาในโลกนี้ต่างก็ได้รับความสุขความทุกข์กันทั่วหน้า โดยไม่มีใครหลีกได้พ้น มันเป็นความจริงที่มาก่อนความตาย สุขแล้ว ทุกข์แล้วจึงตาย บางคนอาจตายขณะที่อิ่มเอิบด้วยความสุข บางคนอาจตายขณะที่มีความทุกข์ทรมาน ความสุขความทุกข์เป็นสมบัติของทุกคน นับแต่ขอทาน ยาจกคนมั่งมีมหาเศรษฐี ฯลฯ

บทร้อยกรองของ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ 50-53

๕๒. ศาสตรศิลป์เป็นเงินเป็นทรัพย์ ไปสำหรับกับผู้ตกไกล ปัญญาไวเป็นเงินของฝาก ยามเมื่อยากเกิดเหตุจิบหาย ธรรมทั้งหลายของดีเฮาก่อ เป็นของห่อต่อไว้ยามตาย ศีลทั้งหลายเป็นเงินเป็นแก้ว บ่ฮู่แล้วทุกเมื่อทุกยาม

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (46) สมุทโฆษคำฉันท์ (34)

นับเป็นเรื่องอัศจรรย์ ที่คำฉันท์เรื่องนี้ปรากฏต้นฉบับตัวเขียนเพียงฉบับเดียวเท่านั้นที่พบในปัจจุบันนี้ เป็นสมุดไทยดำ เขียนด้วยเส้นหรดาล ขนาดกว้าง ๑๑.๒ เซนติเมตร ยาว ๓๔.๕ เซนติเมตร เขียนอักษรสองด้าน รวม ๑๐๔ หน้า ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ส่วนภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี

“ฉันจะไปอนุสาวรีย์” ตอน อนุสาวรีย์จิตร ภูมิศักดิ์

ณ ชายทุ่งบ้านหนองกุง อ. วาริชภูมิ จ. สกลนคร สถานที่การสูญเสียอัจฉริยะทางวรรณศิลป์ ของปัญญาชนชื่อดังสมัยกึ่งพุทธกาล “จิตร ภูมิศักดิ์” ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ และวรรณคดี ผู้สร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมมีค่ามากมาย รวมถึงผลงานการวิจารณ์ที่มีคุณค่าต่อวงการวิชาการไทยหลายเรื่อง

รายการสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย – นิตยสารทางอีศาน

นิตยสารทางอีศาน ลึกซึ้งถึงรากเหง้า เข้าใจปัจจุบัน รู้ทันอนาคต รายการสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย ออกอากาศวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 14:00 น ถึง เวลา 16:00 น ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงพระพุทธศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม ชมรมคนมีบุญ FM 97.00 เมกกะเฮิร์ต และ106.75 เมกะเฮิรตซ์ ออกอากาศพร้อมกัน วัดบ้านอ้น ตำบลดงลาน อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ดำเนินรายการโดย ท่านทรภูไพร วันโพนทอง นายกสมาคมวิชาชีพสื่อวิทยุโทรทัศน์ภาคประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด

ยาพิษแสลงใจ

มนุษย์รู้จักยาพิษ และใช้มันเพื่อปลิดชีพตนเองหรือผู้อื่นมานานนับพันปี ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการฆาตกรรม ยาพิษมีข้อได้เปรียบคือ ไม่เปิดเผย ไม่ร้องเตือน และอาจไม่ทิ้งร่องรอย การประกอบยาพิษและการวางยาพิษ เป็นศิลปะที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ และรอคอยเวลาที่เหมาะสม แต่กว่าเหยื่อจะรู้ตัว ฆาตกรก็เผ่นหนีไปไหนต่อไหนแล้ว หรือไม่ก็แสร้งร้องไห้คร่ำครวญอยู่ข้างศพผู้ตายนั่นเอง

ทองกวาว/จาน ในมิติทางการแพทย์

ในฤดูฝนและฤดูหนาว ทองกวาวมีใบเขียว ดูกลมกลืนไปกับไม้อื่น ๆ รอบข้าง แต่ในตอนปลายฤดูหนาวต่อต้นฤดูแล้งเมื่อใบไม้ร่วง เป็นช่วงเวลาที่ทองกวาวมีสีสันสวยงามที่สุด โดดเด่นกว่าไม้ต้นอื่น ๆ ข้างเคียง ด้วยดอกสีส้มแดงอย่างที่เรียกว่า สีส้มอินเดีย (Indian orange) เต็มล้นกิ่งที่ปราศจากใบ การเป็นไม้ท้องถิ่นที่มีคนรู้จักดีเช่นนี้ น่าจะหมายถึงการมีคนรู้จักนำเอาส่วนต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายด้วย

กลอนลำฮีต-คอง ประเพณีเดือนสิบเอ็ด

ความโอ่ : โอ่จักหน่อยเถาะยกนี้ให้น้องนี้พี่ฟังเสร็จ ประเพณีเดือนสิบเอ็ดแม่นบุญออกพรรษาสิ้นปวารณาครบไตรมาสสามเดือน จุดประทีปธูปเทียนในมื้อขึ้นสิบห้าคํ่าฟังธรรมพร้อมโอ่ละนอ...นวล ๆ เอย

คำผญา (๖) หยอกไฟได้หนี้ หยอกขี้ได้กิน

หยอกไฟได้หนี้ หยอกขี้ได้กิน เล่นกับไฟได้หนี้ เล่นกับขี้ได้กิน ไฟเป็นของร้อน และอะไรที่ร้อน ๆ ก็เปรียบเสมือนไฟ โดยเฉพาะไฟที่เกิดขึ้นในใจนั้นร้อนมากและก็เป็นไฟที่ดับยาก ไฟโลภ ไฟโกรธ ไฟหลง ๓ ไฟนี้ร้อนมาก เมื่อเกิดขึ้นกับใคร นอกจากจะเผาตัวเองแล้วยังเผาผู้อื่นด้วย นี่ยังไม่รวมถึงไฟอบายมุขอื่น ๆ

คําผญา (๔)

ขุนแสนกว้าน ขุนก็คือนักปกครองสมัยก่อน ปกครองบ้านปกครองเมือง กว้านคือบ้านเรือน คือครอบครัว ขุนแสนกว้าน จึงหมายถึงขุนที่ปกครองบ้านเมืองนับแสนครอบครัว แสนครอบครัวรวมกันแล้วอาจจะเป็นเมือง ๆ หนึ่งที่ใหญ่โตพอสมควร

มะกอก ในความคิดคำนึง

มะกอก ใคร ๆ ก็รู้ว่าเป็นชื่อต้นไม้ แต่ในหลายครั้งของการพูดคุยเรื่องมะกอก กลับพบว่า พูดกันคนละเรื่อง เพราะมะกอกของคุณกับมะกอกของผม อาจไม่ใช่มะกอกต้นเดียวกัน เพียงแค่ในสำนวน “มะกอกสามตะกร้า ปาไม่ถูก” ที่ได้ฟังติดหู ขึ้นใจ เป็นมะกอกชนิดไหน เพียงแค่นี้ ก็มีเรื่องให้ถกเถียงกันได้แล้ว

ข้าว มะพร้าว ตาล : เมรัยพฤกษ์ของไทย

เราไม่รู้แน่ชัดว่าเหล้าเกิดขึ้นเมื่อไร นิทานพื้นบ้านของไทยหลายท้องถิ่นกล่าวไว้คล้าย ๆ กันว่า มีเหล้าเกิดขึ้นจากการหมักของผลไม้ที่ตกค้างอยู่ในโพรงไม้ ตอนแรกก็เป็นลิงหรือสัตว์ป่ามากิน ต่อมามนุษย์ก็กินตาม กินแล้วก็เมาสนุกสนาน จนเลยเถิดเป็นโทษเป็นทุกข์ เล่าขานกันเป็นนิทานชื่อ “มูลละเหล้า” ชี้ให้เห็นเหตุอันควรละเลิกสุรา

๓๖๕ น้ำพริก – ๑๗. น้ำพริกเต้าหู้พริกไทยอ่อน

พริกไทยเป็นอาหารที่เหมาะอย่างมากสำหรับคนธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุลม (พฤษภาคม-กรกฎาคม) ซึ่งจะช่วยป้องกันการเจ็บป่วยต่าง ๆได้ พริกไทยอ่อนช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี นอกจากนั้นยังนิยมนำมาทำน้ำพริกพริกไทยอ่อน นิยมใช้พริกไทยอ่อนเป็นส่วนประกอบใน ผัดเผ็ด ผัดฉ่า แกงป่า น้ำพริกพริกไทอ่อน

คำฉันท์ (๖)

อเล่าถึงวรรณคดีอีสาน เรื่อง “นางแตงอ่อน” สักหน่อยหนึ่ง แม้ว่าฉันทลักษณ์เรื่องนี้จะเป็นโคลงลาว เหตุที่จำเป็นต้องกล่าวถึง เพราะวรรณคดีอีสานเรื่องนี้มีฉาก “การคล้องช้างเผือก” ด้วยบ่วงบาศเชือกปะกำ วรรณคดีภาคกลางที่บรรยายฉากการคล้องช้างไว้ละเอียดที่สุดคือเรื่อง “สมุทรโฆษคำฉันท์” เหตุที่กวีประพันธ์ฉากนี้ไว้ละเอียด น่าจะเนื่องจากพระราชนิยมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดการคล้องช้างมาก ข้าพเจ้าเคยเขียนเล่าไว้ในคอลัมน์นี้ถึงห้าหกตอน

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (45) สมุทโฆษคำฉันท์ (33)

ตำนานเรื่องพราหมณ์ที่สำคัญเรื่องหนึ่งคือ ตำนานพราหมณ์นครศรีธรรมราช เล่าว่า ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์เมืองรามนครในอินเดียส่งเทวรูปพระผู้เป็นเจ้า และพราหมณ์ เข้ามาถวายพระเจ้าอู่ทอง หัวหน้าพราหมณ์ชุดนั้นชื่อผแดงธรรมนารายณ์ มีพราหมณ์อีกหลายคน

ไก่นึ่งผักชีลาว

สำหรับเมนูนี้ นั่นก็คือเมนู "ไก่นึ่งผักชีลาว" เป็นเมนูอาหารประเภทนึ่งที่พิมทำทานบ่อยพอประมาณค่ะ แต่ว่าก็จะเปลี่ยนผักสมุนไพรไปเรื่อยๆ ตามชอบ บางทีมีโหระพาก็ใช้โหระพา บางทีมีใบแมงลักก็ใช้ใบแมงลัก บางทีมีแต่ตะไคร้อย่างเดียวก็ใช้ตะไคร้ บางทีไม่มีใบอะไรเลยก็เดินเข้าไปในสวน แล้วเด็ดกระเพรามาสัก 3-4 กิ่ง ทำเป็นไก่นึ่งใบกระเพรา
1 2 3 6
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com