ฤดูแห่งสีสันและชีวิต
ใครคนใดเข้าใจและใช้ชีวิตได้สอดคล้องกับคนด้วยกัน กับธรรมชาติ และกับสิ่งเหนือธรรมชาติคน ๆ นั้นก็จะมีชีวิตที่สุข สมบูรณ์ และสงบ ดังความเข้าใจภูเขาของนักเดินป่าที่บอกกล่าวกันมา... ถ้ามองดูภูเขาแล้วเห็นภูสีเขียวพรืดเป็นเทือกไปทั้งหมด นั่นแสดงว่าเรายังอยู่ห่างภูเขาไกลนัก เดินต่อไปจนเห็นสีใบไม้แตกต่างกัน มีสีเขียวแก่ เขียวอ่อน ครีม นํ้าตาล นํ้าตาลไหม้ แดง กระด่างดำ ฯลฯ เราเข้าใกล้ตีนเขาแล้ว
ดอกจาน [Palasha] ‘เล็บแดงแห่งกามเทพ’…มิ่งไม้มหามงคล
สีแดงเริงร่าแห่งดอกจานยามบานตระการมีพลังร้อนแรงจนฝรั่งตั้งฉายาว่า “เปลวไฟในพนา” - frame of the forest แต่ชาวภารตะเปรียบเปรยได้งดงามไพเราะกว่าว่า ดอกจานคือ “กามเทวนะขา – เล็บ (แดง) แห่งกามเทพ” เจาะดวงใจผู้มีรัก...
แนวอยู่ แนวกิน
เรื่องอาหารการกินคนอีสานเรียกว่า แนวอยู่แนวกิน รสนิยมการกินของคนเราแตกต่างกันไปตามแต่วัตถุดิบตามธรรมชาติของแต่ละพื้นที่ อาหารตามธรรมชาติบางอย่างหากินได้เฉพาะฤดูกาล ปีหนึ่งอาจได้กินครั้งเดียว เช่น อึ่ง แมงกินูน กิโป่ม ฯลฯ คำเปรียบเปรยของคนอีสานที่ว่า “ของแซบอยู่กับผู้มัก” แล้วแต่รสนิยมเก่าแก่แต่โบราณมา อาหารการกินของคนภาคไหน ๆ ก็คงเหมือนกัน แล้วแต่ใครจะมีวัตถุดิบ พืชพันธุ์ธัญญาหารตามถิ่นที่มี
พระอุปคุตปราบมาร
พระอุปคุต เป็นนามพระเถระที่มีบทบาทสำคัญ ในคติความเชื่อของคนในลุ่มแม่น้ำโขงพบว่า ในพิธีกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนาของชาวอีสาน เช่น งานบุญผะเหวด งานบวช งานกฐิน นิยมสร้างหอพระอุปคุตและทำพิธีนิมนต์ท่านมาร่วมในงานพิธี ด้วยคติความเชื่อที่ว่าท่านมีฤทธิ์มาก สามารถปราบมารไม่ให้มาก่อกวนในงานพิธีได้
เชิญร่วมงานใหญ่ประจำปีของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร งานมหกรรมภูมิปัญญาพื้นบ้าน มูนมังอีสาน ครั้งที่ ๑๑
“ข้าว - ปลา - ป่า - เกลือ”
ระหว่างวันที่ ๓๐ มกราคม - ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ชมนิทรรศการ ฟังเสวนา ทัศนาการแสดงหลากหลาย ซื้อผลิตภัณฑ์และอาหารจากชุมชน ฯลฯ เฉพาะวันศุกร์ ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๓
เชิญร่วมงานมอบรางวัล “ศิลปินภูพาน" และชมการแสดงของอ”หมาเก้าหาง"
[๑๐] ถํ้าเป็ดทอง และจารึกปฏิวัติ
ถํ้าเป็ดทอง อยู่ในเส้นทางขันหมาก หากเราศึกษาในระดับตำนาน ก็จะได้เพียงเรื่องเล่าที่ดูเหมือนไม่มีมูลความเป็นจริง ที่ว่าเป็นสถานที่ที่พระปาจิตนำส่วนหนึ่งของขันหมากคือ เป็ดทองมาไกลถึงที่แห่งนี้ เพราะอยู่ในเขตลำนํ้ามาศเหมือนกันกับ ลำปลายมาศ และบ้านกงรถ แต่เมื่อได้เดินทางไปสำรวจ ศึกษาเอกสาร และสถานที่ในบริเวณนี้กลับกลายเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญด้านโบราณคดีในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเป็นที่ตั้งของร่องรอยประวัติศาสตร์และโบราณคดีของการตั้งถิ่นฐานก่อนสมัยนครวัด