กลอนเครือเขากาด

“กลอนเครือเขากาด” นี้ เป็น “กลอนประวัติศาสตร์” แต่งโดย หมอลำทองลา สายแวว บ้านหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี รวมอยู่ในหนังสือ “ไขภาษิตโบราณอีสาน” ของ ดร.ปรีชา พิณทอง

บันทึกการเดินทางในลาว ครั้งยังเป็นภาคอีสาน : เอเจียน แอมอนิเย ตอนที่ 3

ในกรณีเกิดการเจ็บป่วย เกิดโรคระบาด พวกเขาเอาไม้ไผ่มาหุ้มห่อตั้งแต่พื้นดินถึงพื้นเรือน ตามเสาเรือน ขึ้นไปใกล้ ๆ ที่หัวของคนป่วย พวกเขาล้อมกระท่อมด้วยเชือกของหญ้าคา 3 เส้นที่ฟั่นเข้ากัน นั่นคือหญ้าที่พวกเขมรเรียกว่า “เซโบพลัง”สุดท้ายพวกเขาก็ฝังเฉพาะไม้ไผ่ที่สานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสไว้ที่มุมหมู่บ้านทั้งสี่มุม แทนเครื่องหมายตาแหลว แล้ววิญญาณจะอภัยโทษให้

ฮีตเดือนเจ็ด

คำว่า ซำฮะ (ชำฮะ) หมายถึง การชำระล้างสิ่งที่เป็นความชั่วร้าย หรือสิ่งเลวร้ายที่เกิดจากนํ้ามือของมนุษย์ การทำบุญซำฮะเป็นงานบุญที่นิยมทำกันในเดือน ๗ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม เรียกว่า บุญซำฮะบ๋าเบิก

งาน “สายธารวัฒนธรรมเพื่อชีวิต ลิขิตผ่านกาลเวลา ฯ” ทัวร์วัฒนธรรมอีศาน – เที่ยงวันที่ 30 ถึงงานคอนเสิร์ต

กาลเวลาที่เคลื่อนผ่านของชีวิตคนเรานั้น เป็นฉากช่วงเวลาที่สามารถระลึกถึง มีทั้งที่ประทับใจ เป็นรอยยิ้ม คือความสุข มีทั้งความขมขื่น เป็นทุกข์หรือคลอเคล้าด้วยน้ำตา แต่ทั้งสิ้นทั้งปวงนั้นคือประสบการณ์ของชีวิตที่ผ่านมา

กิจกรรมงานสายธารวัฒนธรรมเพื่อชีวิตฯ ทัวร์วัฒนธรรมอีศาน ณ บ้านหัวงัว อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์

คำว่า “วัฒนธรรม” หรือมีผู้เสนอใช้คำ “พฤติธรรม” ที่ถอดมาจากคำภาษาอังกฤษ “Culture” ในส่วนงานวัฒนธรรมสมควรทำหน้าที่บำรุงเลี้ยงและกำกับสั่งงานการเมืองและงานความมั่นคง เสมือนหัวใจและสมองที่หล่อเลี้ยงและสั่งงานแขนขา รวมทั้งอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย คำว่า “เพื่อชีวิต” ไม่เพียงผูกโยงกับงานการเมือง แต่ครอบคลุมทุกองคาพยพทุกมิติของการขับเคลื่อนทางสังคม

บันทึกการเดินทางในลาว ครั้งยังเป็นภาคอีสาน : เอเจียน แอมอนิเย ตอนที่ 2

ตามคำบอกเล่าของคนในพื้นที่ บอกว่าเมืองอุบลนี้ได้สถาปนาขึ้นโดยพวกขุนนางที่อพยพมาจากทางทิศเหนือ จากหนองบัวลำภู ซึ่งเดิมมาจากแถบเมืองเวียงจันทน์ อดีตเมืองเอก เจ้าพระตามีลูกสาวคนหนึ่งซึ่งงดงามมากที่สุด ได้พาลูกสาวหนีจากการถูกบีบบังคับจากเจ้าอนุ เจ้าผู้ครองเมืองเวียงจันทน์
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com