บันทึกการเดินทางในลาว ครั้งยังเป็นภาคอีสาน : เอเจียน แอมอนิเย ตอนที่ 1

นอกจากนี้ยังเล่าถึงบรรยากาศงานศพว่า มีพระมาสวดพระอภิธรรมทุกคืน พวกหนุ่มสาวพากันมาพูดคุยหยอกล้อเฮฮากัน สนุกสนานและเกี้ยวพาราสี มีดนตรีบรรเลงตลอดและมีการพนันทุกประเภท พวกลูกๆของผู้ตายไม่แต่งชุดไว้ทุกข์

ข ว ย จี ห ล่ อ

“แม่นไผ บักใด๋เข้ามาขุดจีหล่อในวัดน่ะ บาปตกนรกหมกไหม้เด้อ บ่ได้ผุดบ่ได้เกิดเด้อ สิบอกให้ หยุดเด้อ! บาป ๆ” พูดแล้วหลวงพ่อก็ รีบเดินเข้าหาคนขุดจีหล่อ! พอหลวงพ่อเดินเข้าไปใกล้คนขุดจิ้งหรีด จึงเห็นว่าเป็นบักแก้วผู้เป็นลูกเขย “ที่ข่อยมาขุดจีหล่อนี่ก็จะเอาไปทอดมา ถวายหลวงพ่อนี่ละ!”

ฟอสซิลปลาโบราณ “ภูน้ำจั้น” บ้านดงเหนือ ต.เหล่าใหญ่ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์

มีการค้นพบ ฟอสซิลปลาโบราณกว่า 100 ซาก และถือว่าเป็นการค้นพบฟอสซิลปลาโบราณครั้งแรกในประเทศไทย โดยปลาที่พบเป็น’ปลาเลปิโตเทสิ’ ปลาน้ำจืดมีความยาวประมาณ 30–60 ซม. ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ 65 ล้านปีที่แล้วและสูญพันธุ์ไปพร้อมไดโนเสาร์ โดยซากฟอสซิลปลาโบราณส่วนใหญ่สภาพสมบูรณ์ ก๊าซออกซิเจนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้แบคทีเรียเติบโตไม่สามารถเข้าถึงซากปลาได้ ซากปลาจึงไม่เน่าและถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน

ผญา: คองคอย

บทผญา คองคอย โดยพระไม้: คองว่าสิได้ มาเห็นหน้า หวนคืนบ้านเก่า คองว่าสิได้ เห็นหน้าเจ้า เมือบ้านถิ่นอีสาน อีสานบ้าน บ่อนแถนแปงอินทร์หล่อ ว่าสิ มีคู่ค้ำ มาตุ้มสร้างสา ฯ โอนอ พอว่าเถิงเดือนอ้าย เดือนเจียง ลมล่วง หนาวหน่วงน้าว ใจอ้ายอ่าวกระสัน พันธนังฮ้อน ฮนฮวยคึดฮอดอุ่น อวลเอย บุญห่านี้ บ่มีน้องอยู่เคียง ฯ

โศกนาฏกรรมการก่อเกิดบ้านเหล่าใหญ่ ทัวร์วัฒนธรรมอีศาน – ลึกซึ้งรากเหง้าวิถีพี่น้องผู้ไท

การอพยพย้ายถิ่นผู้ไทเหล่าใหญ่ บรรพชนคนผู้ไทเคยยิ่งใหญ่มาเก่าก่อน แต่ด้วยเหตุที่มีนิสัยรักความสงบ ชอบความอิสระ ใช้ชีวิตเรียบง่าย ชอบอาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่มีชายป่า เชิงภูเขา ชอบทำการเกษตร มีภาษาพูดเป็นภาษาผู้ไท มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง บรรพบุรุษของคนผู้ไทอยู่ที่เทือกเขาอัลไต เมืองน่านเจ้า ไม่ชอบการปกครองของฮ่องเต้เมืองจีน จึงได้อพยพมาสร้างบ้านแปงเมืองอยู่สิบสองปันนา สิบสองจุไท เรียกเมืองนาน้อยอ้อยหนู เขตรอยต่อระหว่างประเทศเวียดนาม กับประเทศลาว

ปีที่สร้างพระธาตุพนมในตำนานอุรังคธาตุ

พระธาตุพนมเป็นศาสนสถานสำคัญของลุ่มแม่น้ำโขง เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุหัวอกของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า “อุรังคธาตุ” ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สถานที่ตั้งขององค์พระธาตุพนมเป็นเนินดินสูงกว่าบริเวณโดยรอบประมาณ ๒ เมตร เรียกตามตำนานอุรังคธาตุว่า “ภูกำพร้า”
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com