วันที่ลงจากเตียงผิดด้าน
เจ้าสุนัขพิตบูล หัวใหญ่ หน้าทะเล้น ที่มักโถมเข้ามาชวนเล่นราวตอร์ปิโดทุกคราวที่พบกัน บัดนี้ตาเหลือกลาน ขาทั้งสี่ข้างเหยียดเกร็ง น้ำลายฟูมปาก นี่มันอดทนต่อฤทธิ์ของยาพิษนั่นตั้งแต่เช้าเชียวหรือ ภาพนั้นทำให้หัวใจฉันกระตุกวูบ ที่หัวตาไม่มีการกะพริบตอบสนองเมื่อยามเคาะ
คำของ ‘ท่านกูฏ’ อัตชีวประวัติ พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ตอนที่ ๓
ที่นี่ผมได้พบกับคนมีชื่อเสียงของจังหวัดอุบลราชธานี ถึง ๒ คน คนแรกคือ อาจารย์ไพบูลย์ สุวรรณกูฏ หรือที่คนในวงการศิลปะเรียก “ท่านกูฏ” ศิษย์รุ่นแรกของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และอีกท่านคือ ศิลปชัย ชาญเฉลิม หรือ “นายหนหวย” นักเขียน-นักหนังสือพิมพ์ และยังเป็นนักจัดรายการที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเนื่องจากท่านทั้งสองมาบวชที่วัดสุปัฏวนาราม และเป็นโอกาสดีที่ผมได้เป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดท่านทั้งสอง
ผักกะแญง แรกแย้ม: อัตชีวประวัติ พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ตอนที่ ๑
ตอนเรียนอยู่ ม.๕ ไปหาซื้อของเร่ขาย ขายแป้งบาหยัน ขายสบู่ ร้องเพลงเลาะขาย สมเกียรติมาบอกแม่ว่า อ้ายพงษ์ไปเลาะขายของบ่ไปโรงเรียน แม่ใจหายวับเป็นห่วงลูก ย่านลูกเรียนบ่จบ ไอ้พงษ์มันแปลกบ่คือผู้ได๋ เกือบลูกบ่จบ ม.๖ อาจารย์เฉลิม สุขเสริมมาบอกแม่ว่า ลูกเจ้าบ่เข้าเรียนสิบ่ได้สอบ แม่ได้ขอครูให้ลูกสอบ ถึงบ่เข้าเรียนลูกกะบ่แม่นคนชั่วบ่มีนิสัยเกเร มันไปเรียนรู้ตามอารมณ์ของมัน ครูเลยให้สอบ ผลการเรียนออกมา ไอ้พงษ์สอบได้ที่ ๑
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
ทางอีศาน 13: “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็ก เกิดขึ้นจากการสะสมเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านส่วนตัว มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ด้วยการขอบริจาค ขอซื้อ รวมทั้งขอแลกเปลี่ยนจากชาวบ้าน ในเขตอำเภอลำปลายมาศแล้วขยายไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ตามโอกาสที่มี โดยใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรีบสะสมแต่อย่างใด เมื่อเห็นว่ามีเครื่องมือเครื่องใช้พอสมควร สามารถจัดแยกหมวดหมู่ จึงได้เปิดให้ผู้อื่นมาชื่นชมได้”
“ตลาดนัดสีเขียว” สุรินทร์ ประชาธิปไตยที่กินได้
ตลาดนัดสีเขียว คือเครื่องมือสำคัญ เป็นพื้นที่ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ถูกนำร่องทดลองตั้งขึ้นในหลายพื้นที่ เช่น สงขลา เชียงใหม่ ขอนแก่น มหาสารคาม สุรินทร์ ยโสธร
พรมแดนไทย สมัยต้นรัตนโกสินทร์
ในขณะที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกำลังตรากตรำพระราชภารกิจกอบกู้บ้านเมือง และเร่งขยายขอบขัณฑสีมาอยู่นั้น ทางกรุงเวียงจันทน์ก็เกิดกรณีขัดแย้งกับเมืองหนองบัวลุ่มภู หรือนครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้วบัวบาน จนเป็นตำนานในประวัติศาสตร์เมืองอุบลราชธานีในปัจจุบัน