เสียงจิ้งหรีด กลิ่นข้าวปุ้น และกรุ่นควันปืน
ฟ้าหมาดฝนหม่นแดดก่อนเที่ยงวันนั้นผมเลี้ยวรถเข้าไปใน "โรงงานอุตสาหกรรมน้ำยาง ยะลา จำกัด" ผมเคยมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อเดือนก่อน ครั้งนี้จึงเปิดกระจกยิ้มบอกยามที่เฝ้าประตูโรงงานเพื่อความสะดวกโยธินว่า "สิเข้าไปหาซื้อจิ๊หรีดเด้อ"
จดหมายจากผู้อ่าน “ทางอีศาน”
ได้อ่านคอลัมน์อัศจรรย์เรื่องเล่า ๔๕ นาที ฝีมือเล่าเรื่องของ คุณอดิศร พวงชมพู และการถอดความโดย คุณประกาศิต คนไว ความรู้สึกขณะอ่านนั้นตื่นเต้นมากเหมือนกับเรานั่งฟังคุณอดิศรเล่านิทานให้ฟัง เป็นเรื่องที่เราไม่เคยรู้มาก่อน ทุกอย่างสดใหม่มากสำหรับเรา น่าติดตามตลอด
The God of Gipom
เสียงกรีดเหมือนเสียงร้องของมันระงมอยู่ในลมหนาวช่วงหัวค่ำ มันทำให้ผมคิดถึงบ้านเสมอ ในทุกคราวครั้งที่ต้องนอนค้างอ้างแรมคืนอยู่ไกลบ้านเหมือนกับยามแว่วยินเสียงว่าวสะนูหรือเสียงแคนมันคิดถึงจนทำเอาน้ำตาซึมเงียบ ๆ อยู่คนเดียวหลายครั้ง อย่างเช่น การเดินทางไปผาแต้ม อ.โขงเจียม
ความฮู้จากผู้เฒ่า เรื่อง ภาคอีสาน
ฉบับสุดท้ายที่ราชบัณฑิตย์ฯจัดทำและพิมพ์จำหน่ายคือ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย-สถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ พจนานุกรม ฯ พ.ศ.๒๕๒๕ หน้า ๙๒๖ ให้ความหมายของอีสาน ๒ อย่าง คือ ๑. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ๒. พระศิวะหรือพระรุทร และให้ที่มาของคำ อีสานเป็นภาษาบาลี อีศานเป็นภาษาสันสกฤต
การเตรียมลูกหลานที่ดี คือการวางใจในอนาคต ๓
สอนให้ลูกทำตาม เช่น ตื่นเช้าสอนอาบน้ำ ใส่เสื้อผ้าเอง.. สอนการวางรองเท้าให้ถูกต้อง ทำความสะอาด สอนความรับผิดชอบงานในหน้าที่.. ทำตามที่บอก พร้อมกันนั้นผู้ใหญ่ก็ปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้เขาเห็นอย่างเป็นรูปธรรมและสม่ำเสมอด้วย การเข้าแถวรับบริการหรือทุกกิจกรรมก็ฝึกมาตั้งแต่อนุบาลเคารพสิทธิของคนอื่น
ชาวลาวในจดหมายเหตุประวัติศาสตร์จีน
อักษรตัวนี้ คนทั่วไปมักอ่านว่า “เหลียว” 僚 แต่จริง ๆ แล้วโบราณเขาอ่าน “เหล่า”ทั้งคำว่า 骆 และ 僚 เป็นการถอดเสียงจากภาษาชนพื้นเมืองจนกระทั่งในยุคราชวงศ์ถัง (คริสต์ศตวรรษที่ ๗-๑๐) ชื่อ “เหล่า” เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดชื่อ “เหล่า-ลาว” เริ่มเรียกกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๓ ดังนั้นชื่อ “ลาว” จึงเก่ากว่าชื่อ “ไท” มาก