Tao Dialogue 3 บทวิจารณ์ มหากาพย์ชนชาติไท บรรพสอง
เมื่อศาสตราจารย์พิเศษชลธิรา สัตยาวัฒนา (อาจารย์ชล) เชื้อชวนผมให้เขียนถึงคำว่า ‘เต้า’ ใน ‘เต้า’ ตาม ไต ‘เต้า’ ทางไท อันเป็นบรรพสองของ “มหากาพย์ชนชาติไท” ทางหนึ่งจึงนับเป็นเกียรติยิ่งอีกครั้ง จากคราวก่อนที่ได้รับความเมตตาให้โอกาสเขียนถึงคำว่า ‘ด้ำ’ ผีบรรพชนผู้เฝ้าปกปักรักษาสายโคตรตระกูล ในมหากาพย์ฯ บรรพแรก: ‘ด้ำ’ แถน กำเนิดรัฐไท (ชลธิรา พ.ศ.๒๕๖๑)
Dam Dialogue 2 บทต่อเต้าความ “มหากาพย์ชนชาติไท”
ในงานเขียนเรื่อง ‘สาวรกรากต้นตอ คนไท ชุมชนไท-ลาว และความเป็นไท/ไต/ไทย/สยาม’ อันเป็นบรรพแรกของ “มหากาพย์ชนชาติไท” ศาสตราจารย์พิเศษชลธิรา สัตยาวัฒนา (อาจารย์ชล) ได้สืบสาวความหมายของ ‘ด้ำ’ ที่เชื่อมโยงถึงความเชื่อเก่าแก่หลากหลายนัยยะ เน้นย้ำถึงความสำคัญของคำว่า ‘ด้ำ’ อย่างเป็นพิเศษชนิด ‘ยวดยิ่ง’ ว่าคือ คำต้นเค้าต้นแบบอันเก่าแก่ดึกดำบรรพ์ที่มีอิทธิพลอย่างลึกล้ำต่อการ ‘แรก’ สร้างชุมชนสร้างเมืองของพวกไท-กะได โดยเฉพาะสายไท-ลาว-สยาม
TAO Dialogue 1 เวทีสังสันทน์ ว่าด้วยเรื่อง “เต้า”
มหากาพย์ชนชาติไท บรรพสอง “เต้าตามไต เต้าทางไท” กำลังใกล้จะสำเร็จเป็นรูปเล่มเพื่อให้บริการทางวิชาการแก่สาธารณชน โดยผู้เขียนทั้งสองถือเป็น ‘วิทยาทาน’ แก่สังคม
TAO Dialogue 2 “เต้า” สนทนา จากประสบการณ์อ่านวรรณคดี บนฐานคิด ‘มานุษยวิทยาสัญนิยม’
บนฐานคิดที่ว่า ‘ภาษา’ มีชีวพันธุกรรมต้นกำเนิด มีการแตกตัว เคลื่อนไหว เดินทาง กระจายตัว แม้ถูกกลืนกลาย ก็ยังสาวหารากร่วมได้ โดยการใช้ ‘กุญแจคำ’ ไขรหัสสิ่งที่เป็น ‘วัฒนธรรมร่วมเชื้อสาย’
สาส์นจากทางอีศาน – เชิญชวนท่องเที่ยววัฒนธรรมทางอีศาน (ครั้งที่ ๓)
เชิญชวนท่องเที่ยววัฒนธรรมทางอีศาน (ครั้งที่ ๓) 0 “เที่ยวแอ่งอารยธรรมอีสานเหนือ ~ สกลนคร”
ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๕
ตุ้มโฮมเพื่อนมิตรโดย นิตยสาร|มูลนิธิ| “ทางอีศาน” # นำเที่ยวโดย รศ.ดร.เสรี พงศ์พิศ และคณะวิทยากรชำนาญการ
ติดต่อ/ประสานงาน คุณแตงกวา ๐๘๖ ๓๘๘ ๙๐๙๕, คุณปุ๊ก ๐๘๖ ๓๗๘ ๒๕๑๖
รากเหง้ามีทั้งดีและเน่าเสีย
คำขวัญของนิตยสารรายเดือนทางอีศาน คือ “ลึกซึ้งรากเหง้า เข้าใจปัจจุบัน รู้ทันอนาคต” “รากเหง้า” ถ้าไม่ลึกซึ้งแล้ว เราจะไปเข้าใจและรู้ทันอะไรไม่ได้เลย