ฮูปแต้มวัดบ้านประตูชัย
Drawings of Esan ฮูปแต้มอีศาน
โดย “เลือดผา”
วัดบ้านประตูชัย บ้านประตูชัย หมู่ ๗ ถนนแจ้งสนิท ตำบลนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด เดิมเรียกกันว่า “วัดบ้านคำไฮ” สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕
สิมหลังเดิมสร้างปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ ผนังทั้งด้านในและด้านนอกประดับโดยฮูปแต้ม ฮูปแต้มด้านนอก เขียนโดย นายสีสมุดและอาจารย์ซาหอม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ฮูปแต้มผนังด้านใน เขียนในราว พ.ศ. ๒๔๖๐
ฮูปแต้มผนังด้านนอก ผนังสกัดหน้าชั้นในด้านนอก เขียนเรื่องเวสสันดรชาดก เริ่มตั้งแต่
กัณฑ์วนประเวศน์ ไปจบเรื่องที่ผนังรี (ด้านทางยาว) ด้านนอกทางทิศเหนือ
ผนังรีด้านนอก (ผนังด้านข้าง) ด้านทิศใต้ผนังสกัดหลัง แลสีขาวนวล เป็นสีพื้น เขียนเส้นโครงร่างตัวภาพด้วยสีนํ้าตาลดำ ระบายสีสันตัวภาพด้วยสีฉูดฉาด แดง เขียว นํ้าเงิน คราม พิจารณาจากเส้นโครงร่างสันนิษฐานว่า ช่างผู้เขียนน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากการเขียนภาพฝาผนังภาคกลาง
ส่วนฮูปแต้มในผนังด้านใน ผนังด้านข้าง (ผนังรี) และผนังสกัดหน้า เขียนภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งทรงเครื่อง แสดงปางประทานพรจำนวนเท่าอายุของผู้สร้าง มีข้อความภาษาไทยในภาพแรกว่า “หลวงสารพลสร้างพระบทครบอายุเกิด วันพุฒ เดือนแปด พ.ศ. ๒๓๘๓” (จึงทำให้ประมาณได้ว่า ภาพชุดนี้เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐) ช่างเขียนนิยมใช้สีร้อนแรงตัดกับสีเย็นคือ ระบายตัวภาพด้วยสีแดง สีเหลือง และตัดเส้นด้วยสีนํ้าเงินเข้มเป็นสีพื้น ตัวภาพมีขนาดใหญ่และแบ่งภาพเป็นช่อง ๆ ชัดเจน
(ข้อมูลและภาพจาก “สารานุกรมไทย ภาคอีสาน” (ฉบับเพิ่มเติม) เล่ม ๒)

บทความที่เกี่ยวข้อง
- ส่องซอด
คำสอนของหลวงปู่ปรีดา (ทุย) ฉนฺทกโร วัดป่าดานวิเวก (วัดดงศรีชมภู) ต.ศรีชมภู อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ
- คำโตงโตย
“ฮ้อนกว่าไฟ ได้แก่ใจ ปกติของใจ นึกจะทำอะไรก็อยากจะทำเร็ว ๆ อยากจะให้เสร็จเร็ว ๆ ที่ว่าไฟฮ้อนก็ไม่ฮ้อนเท่าใจเพราะไฟธรรมที่ว่าร้อน ก็เผาได้แต่เฉพาะกาย
- มรดกผ้าอีสาน
อิ้ว เป็นเครื่องกลที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้สัก มีแกนไม้ประกบกันสองอัน ขบกันด้วยเฟืองที่ปลายแกนไม้ทั้งสอง ปลายแกนอีกด้านหนึ่งทำเป…
- การปั้นพระปางปฐมเทศนา
“คิดจากชิ้นเล็กก่อน คือเราตัวใหญ่ มุมมองสามารถมองแบบเครื่องบินที่บินวนเห็นรอบด้าน แม้ขนาดยังทำรายละเอียดได้ไม่เต็มที่ แต่จะเข้าใจเรื่องสัดส่วนเบื้องต้…
- พื้นสืบ
“พื้นสืบ” ในภาษาลาว หมายถึง เรื่องเล่าพื้นบ้าน มีเนื้อหาเล่าถึงประวัติของ บุคคล, เหตุการณ์, สถานที่, ชุมชน, บ้านเมือง ฯลฯ ดั้งเดิมเป็นวรรณกรรม “มุขปาฐ…