[๑๐] ถํ้าเป็ดทอง และจารึกปฏิวัติ

ถํ้าเป็ดทอง อยู่ในเส้นทางขันหมาก หากเราศึกษาในระดับตำนาน ก็จะได้เพียงเรื่องเล่าที่ดูเหมือนไม่มีมูลความเป็นจริง ที่ว่าเป็นสถานที่ที่พระปาจิตนำส่วนหนึ่งของขันหมากคือ เป็ดทองมาไกลถึงที่แห่งนี้ เพราะอยู่ในเขตลำนํ้ามาศเหมือนกันกับ ลำปลายมาศ และบ้านกงรถ แต่เมื่อได้เดินทางไปสำรวจ ศึกษาเอกสาร และสถานที่ในบริเวณนี้กลับกลายเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญด้านโบราณคดีในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเป็นที่ตั้งของร่องรอยประวัติศาสตร์และโบราณคดีของการตั้งถิ่นฐานก่อนสมัยนครวัด

คำผญา (๑๘)

“ความตายนี่แขวนคอทุกบาดย่าง ไผก็แขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว” ความตายนี้แขวนคอทุกย่างก้าว ใครก็แขวนไว้เสมอว่าเป็นสิ่งเดียวกัน

จาก “หมา” สู่ “สิงมอม” ?

คติความเชื่อของชนในตระกูลภาษาไท กะได เกี่ยวกับ “ข้าว” เชื่อกันว่า “หมา” (สุนัข) เป็นผู้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวมาให้มนุษย์ ชาวจ้วง (ในกวางสี) มีนิทานเรื่อง “หมาเก้าหาง” เล่าว่า หมาเก้าหางไปขโมยเมล็ดพันธุ์ข้าวจาก “ตัวฟ้า” (โตเปี๊ยะ ในภาษาจ้วง) “ตัวฟ้า” ใช้อาวุธ (สายฟ้าผ่า) ขว้างใส่หมาเก้าหาง สายฟ้าผ่าตัดหางหมาไปแปดหาง แต่หมาเก้าหางรอดชีวิต นำพันธุ์ข้าวที่ติดมากับหาง (ที่ยังเหลืออยู่หนึ่งหาง) มาให้มนุษย์ มนุษย์จึงปลูกข้าวกินได้

มื้อนี้…มันค่ำแล้ว!

“มึงซักผ้าคนเดียวอย่างนี้ทุกวันเหรอ” มันตอบ “กูผลัดกันทำ” วันต่อมา ก็เห็นมันทำกับข้าวให้ลูกเมียกินอีก ถามมัน มันก็ตอบว่า “กูผลัดกันทำ” และวันหลังมาอีก เห็นมันกวาดบ้านถูบ้าน จัดเก็บสิ่งของอยู่คนเดียวจนเหงื่อโชกท่วมกาย ถามมันก็ได้คำตอบ “กูผลัดกันทำ” อีกตามเคยก็เลยซักถามเอาความจริงจากมันให้ได้ “ที่มึงว่าผลัดกันทำน่ะ กูยังไม่เห็นเมียมึงทำอะไรให้กูเห็นเลย มึงผลัดกันทำยังไงวะ?” เพื่อนมันก็ตอบแบบสบาย ๆ ว่า “ที่ผลัดกันทำน่ะคือ ชาตินี้กูทำ ชาติหน้ากูผลัดให้เมียทำ!”

ฮีตเดือนสิบเอ็ด (๑) วันปวารณาเปิดโอกาสชี้แนะ

คำว่า ปวารณา หมายถึง การยอมให้ใช้ ยอมให้ขอ ยอมให้ว่ากล่าว ยอมให้ตักเตือน วันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น ๑๕ คํ่าเดือน ๑๑ เป็นประเพณีนิยมที่สืบทอดกันมานาน เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา ออกจากที่อยู่ประจำในฤดูฝนของพระสงฆ์ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งตามกำหนดไม่ไปค้างแรมที่อื่น ตั้งแต่วันเข้าพรรษา แรม ๑ คํ่า เดือน ๘ จนถึงวันขึ้น ๑๕ คํ่าเดือน ๑๑ เมื่ออยู่ครบ ๓ เดือนเรียกว่า ไตรมาส วันออกพรรษาเรียกอีกอย่างว่า วันปวารณา ในวันนี้พระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระสงฆ์ทำปวารณาแทนอุโบสถสังฆกรรมคือ ไม่ต้องสวดพระปาฏิโมกข์

นิทาน : นางเต่าคำ

เมื่อสามีทอดแหได้ปลา ก็แบ่งให้นางสาลีบ้าง ให้นางจิตตาบ้าง เท่าๆ กัน ทั้งสอง ก็จะเอาปลาใส่ในข้องของตน... แต่นางสาลี เนื่องจากเป็นเป้า.. ได้แอบจับปลาในข้องกินไปตลอดทาง เมื่อตอนขากลับ นางสาลีเห็นว่า ปลาในข้องของตนเหลือน้อย ก็หาโอกาสเปลี่ยนสลับข้องของตนกับของนางจิตตา
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com