By

ยุทธพงศ์ มาตย์วิเศษ

ตํานานพระธาตุในลุ่มแม่นํ้าโขง

ความตั้งใจในการเสนอให้องค์ “พระธาตุพนม” ศาสนสถานสําคัญแห่งลุ่มแม่นํ้าโขงเป็น “มรดกโลก” เป็นกระแสที่น่าจับตามองและทําความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของพระธาตุพนม ศาสนสถานที่ตั้งตระหง่าน ณ ดอยกัปปนคีรีหรือ ภูกําพร้า ตามที่ปรากฏใน “ตํานานอุรังคธาตุ”

บุญบั้งไฟ : ไร้รากเหง้า แต่จะเอาดอกผล

บุญบั้งไฟ เป็นบุญประเพณีประจำเดือน ๖ ตามฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสาน แต่เดิมนิยมเรียกกันว่า “บุญเดือนหก” ซึ่งหากท่านไปร่วมชมขบวนแห่บั้งไฟในปัจจุบัน นอกจากจะตระการตากับบั้งไฟที่ประดับตกแต่งอย่างยิ่งใหญ่สวยงามแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ประกอบขบวนคือ “ท้าวผาแดงกับนางไอ่คํา” ที่นั่งมาบนม้าบักสามตามนิทานพื้นบ้านเรื่อง “ผาแดง – นางไอ่” ที่อธิบายสาเหตุการล่มสลายของเมืองหนองหารหลวง ดูเหมือนว่าวรรณกรรมเรื่องผาแดงนางไอ่ จะเป็นเรื่องเล่าคู่กับบุญบั้งไฟอย่างแยกไม่ออก

ยกอ้อ ยอคาย ไหว้ครู บูชาคุณ

เมื่อกาลเวลาผ่านเข้ามาสู่เดือนมกราคม ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีตามปฏิทินสุริยคติสากล ในเดือนมกราคมนี้มีวันสําคัญหลายวัน รวมถึง “วันครู” ที่กําหนดให้ตรงกับวันที่ ๑๖ มกราคม ของทุกปีทางอีศานฉบับนี้จะได้ชวนท่านผู้อ่าน “เปิดผ้าม่านกั้ง” เรื่องราวการบูชาพระคุณครูตามอริยะประเพณีอีสานโบราณ

ปัญจอันตรธาน : สาระสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในงานบุญผะเหวด

บุญผะเหวด ไม่ใช่งานบุญที่เน้นเนื้อหาเรื่องการสร้างทานบารมีเท่านั้น เพราะทุกชาติพระโพธิสัตว์ต่างทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ อย่าง เรียกว่า "ทศบารมี"

ภูมินามแม่นํ้าโขง : หลันชางเจียง กิวลุ่งเกียง เก้าลวง กาหลง

เรื่องราวของแม่นํ้าโขงเป็นมหากาพย์หลากสีสันที่เล่าขานไม่มีวันจบสิ้น ไม่ว่าจะหยิบยกประเด็นใดที่เกี่ยวกับแม่น้ำโขงขึ้นเสวนาล้วนแต่สร้างสีสันอันน่าติดตามทั้งสิ้น สายน้ำที่มีความยาวถึง ๔,๙๐๙ กิโลเมตรที่พาดผ่านจากจีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา ถึงเวียดนาม ย่อมทําให้แต่ละท้องถิ่นมีนามเรียกขานแม่น้ำโขงที่แตกต่างกันออกไป และต่างมีเรื่องเล่าที่พยายามอธิบายความหมายของแม่นํ้าโขงตามทัศนะของตน ดังที่จะได้ร่วมกัน “เปิดผ้าม่านกั้ง” เรื่องราวของ “ภูมินามแม่นํ้าโขง”

งันเฮือนดี : พิธีสนุกสนานในงานศพ

งานศพในปัจจุบันเป็นงานเศร้าโศกกับการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งโลกทัศน์ดังกล่าวน่าจะเริ่มมีมาพร้อมกับการเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกในช่วงรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา แต่ร่องรอยหลักฐานที่ปรากฏเกี่ยวกับงานศพในอุษาคเนย์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์กลับให้โลกทัศน์ที่แตกต่างกันออกไปโดยสิ้นเชิง

อโยธยาในสายตาคนลุ่มแม่นํ้าโขง

ภาพสะท้อนถึงเรื่องราวบ้านเมืองในสายตาของคนลุ่มนํ้าโขงที่มีต่อเมืองอโยธยา ซึ่งเป็นเมืองสําคัญในลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยา ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ปรากฏผ่านตํานานอุรังคธาตุที่ถือว่าเป็นวรรณกรรมตำนานที่สำคัญของลุ่มแม่นํ้าโขง

“แคนโหล” แคนซิ่งอีสาน

“ไผว่าเมืองอีสานฮ้าง อยากจูงแขนท่านไปเบิ่ง เสียงพิณยังกล่อมแดน เสียงแคนยังกล่อมบ้าน สิเพฮ้างบ่อนจั่งได๋” ผญาบทนี้เป็นผญาที่บอกกล่าวถึงความไม่ร้างไร้ของแผ่นดินอีสาน โดยบรรยายถึงเรื่องราวของเสียงดนตรีที่มีอยู่คู่กับผืนแผ่นดินถิ่นอีสาน เสียงแคนเสียงพิณได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งทางวัฒนธรรมของแผ่นดินอีสานที่คนทั้งหลายไม่อาจปฏิเสธได้

อักษรในอีสาน…ต้นธารประวัติศาสตร์

เพ่งพินิจสรรพสาระอันว่าด้วย “ประวัติศาสตร์” คงมีประเด็นเห็นพ้องและเห็นต่างกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งนี้ด้วยเหตุที่การอธิบายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ต้องอาศัยทั้งข้อมูลโบราณคดี ตำนาน พงศาวดาร เรื่องเล่า มาเป็นข้อมูลรองรับข้อสันนิษฐานของผู้รู้ในสำนักคิดต่าง ๆ

“เมรุนกหัสดีลิงค์” อริยะประเพณีในแผ่นดินอีสาน

คติการปลงศพด้วยนกของชาวอุษาคเนย์ มีหลักฐานทางโบราณคดียืนยันได้ว่ามีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฏภาพพิธีกรรมส่งผีขวัญที่มีองค์ประกอบภาพที่สำคัญ คือภาพนกอยู่บนหน้ามโหระทึก ด้วยเหตุที่คนโบราณเชื่อว่า นกเป็นสัตว์ที่สามารถเดินทางไปบนฟ้า อันเป็นดินแดนที่มนุษย์ในยุคบรรพกาลเชื่อว่าเป็นที่ตั้งของเมืองแถน ซึ่งเป็นโลกศักดิ์สิทธิ์ในคติทวิภูมิ ก่อนที่คติไตรภูมิจากชมพูทวีปจะแพร่เข้ามาในดินแดนอุษาคเนย์เมื่อประมาณ พ.ศ.๑๐๐๐

สงกรานต์ ผ่าน เคลื่อน ย้าย : อะไรผ่าน อะไรเคลื่อน อะไรย้าย

เมื่อถึงโอกาสเดือนห้าเมษายนของทุกปี สิ่งที่ผู้เขียนต้องทำเป็นหน้าที่เสมอมาคือการประกาศสงกรานต์ตามอริยประเพณีอีสานโบราณ ตามที่ได้สืบทอดภูมิปัญญาด้านโหราศาสตร์จากนักปราชญ์อาจารย์รุ่นก่อน

พิธีกรรมหลังความตายในครั้งบรรพกาลของชาวอุษาคเนย์

เรื่องราวพิธีกรรมหลังความตายในอดีตของชาวอุษาคเนย์ ถูกบันทึกไว้ในนิทานน้ำเต้าปุ้ง กล่าวถึงการปลงศพด้วยการเผาและการฝังมีการส่งข้าวปลาอาหารให้ผู้ตายเหมือนครั้งยังมีชีวิต

“บุญผะเหวด เทศน์มหาชาติ ประเพณีโบราณอีสาน สะท้อนพลังศรัทธาอันยิ่งใหญ่ผ่านผืนผ้า”

“ผะเหวด” เป็นคำสำเนียงอีสาน ตรงกับคำว่า “พระเวส” หมายถึง พระเวสสัดร อดีตชาติของพระพุทธเจ้าเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดร เรียกว่า “เวสสันดรชาดก” ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก

ผ้าผะเหวด : บันทึกอีสานบนงานทอ

งานศิลปะที่เป็นการบันทึกเรื่องราวทางศาสนาของชาวสุวรรณทวีปในอดีต ไม่ว่าจะบนหลักหิน หรือบนผืนผ้า ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่นำไปสู่การศึกษาตีความเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนในอดีต ที่ปรากฏเป็นองค์ประกอบอยู่ในงานศิลปะนั้น บนพื้นที่อีสานมีงานศิลปะแห่งศรัทธาที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง คือ ผ้าผะเหวด

ชาวเมืองฟ้าแดดสงยางเมื่อ 1200 ปีที่ผ่านมา สื่อสารด้วยภาษามอญโบราณ

ชาวเมืองฟ้าแดดสงยางเมื่อ 1200 ปีที่ผ่านมา (พุทธศตวรรษที่ ๑๔) สื่อสารด้วย ภาษามอญโบราณ ใช้อักษรหลังปัลลวะ จากหลักฐานจารึก พระพิมพ์เมืองฟ้าแดดสงยาง
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com