เชิญธง “ทางอีศาน”
เชิญธงแล้วจ้วงเหล้าจากไหใหญ่ เหล้านี้ต้มด้วยใจรสเข้มข้น จอกแรกถวายแถนเบื้องบน สาดจอกสองบูชาบรรพชนคนสร้างไท ตำจอกสามกับมวลมิตรสหาย กินดื่มให้ชุ่มใจกายเพื่องานใหญ่ อิ่มหนำแล้วเราออกเคลื่อนขบวนไกล ไปเฮาไปไปแปงสร้างทางอีศาน...
“หมาเก้าหาง”
วงดนตรี “หมาเก้าหาง” หยั่งลึกรากเหง้าวัฒนธรรม “อีศาน” แสดงออกผ่านการบรรเลงดนตรี ร้อง ลำ มีเนื้อหาสะท้อน “อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต” บนพื้นฐานคีตศิลป์ที่หนักแน่นในความเป็นพื้นถิ่น และต่อยอดสู่สากล
วงดนตรีอีศานคลาสสิกคณะ”หมาเก้าหาง” สังกัด“มูลนิธิทางอีศาน” สมาชิกของวงเป็นศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของ “วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์” ชาวคณะถือคติประจำใจว่า “ฝึกฝนเพื่อความเชี่ยวชาญ สำนึกนำสร้างพลังการอุทิศ”
บันทึกการเดินทางในลาว ครั้งยังเป็นภาคอีสาน : เอเจียน แอมอนิเย ตอนที่ 6
เจ้าบ่าวถือว่าเงิน 16 บาท ที่พ่อแม่เจ้าสาวเรียกร้องนั้นสูงเกินไป เงินสินสอดที่มอบให้แม่เจ้าสาวนั้น แม่เจ้าสาวจะมอบให้ลูกสาวเพียงครึ่งหนึ่ง หากมีการผิดเถียงกัน พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะทวงเอาเงินสินสอดนั้นจากลูกเขย หากหย่าร้างกันเด็กอายุยังน้อยจะอยู่กับแม่
นทีสีทันดร
คำว่า นทีสีทันดร ประกอบด้วยคำว่า นที กับคำว่า สีทันดร.คำว่า นที แปลว่า แม่น้ำ.ส่วน สีทันดร คือสายน้ำทั้ง ๗ สาย ที่อยู่รอบเขาพระสุเมรุ และคั่นอยู่ระหว่างภูเขา ๗ เทือก ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุอยู่. สายน้ำ ๗ สาย นั้น คั่นอยู่ระหว่างเทือกเขาเทือกหนึ่งกับอีกเทือกหนึ่ง ซึ่งเรียงซ้อนกันมาเป็นชั้น ๆ.
ต้อง บุตรศรีชา
ทัวร์วัฒนธรรมอีศาน - ผู้ใหญ่บ้าน | ผู้จัดการ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม
เคยปฏบัติหน้าที่ผู้จัดการส่วนบุคคล บจก.อุตสาหกรรมไหมไทย มานานนับสิบปี
เมื่อครั้ง จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม มีแนวคิดเปิดฟาร์มให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างจริงจัง ต้อง บุตรศรีชา เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้เข้าร่วมระดมความคิดกับผู้รู้ทั้งไทยและเทศ
ด้วยพื้นฐานลูกอีสานขนานแท้ อดีตศิษย์วัด ร่ำเรียนมาทางรัฐศาสตร์ สนใจงานวัฒนธรรม เมื่อคุยกันในประเด็นอีสานศึกษาเขาสามารถอภิปรายได้ทะลุปรุโปร่ง
ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๕)
ความต่อจากครั้งที่แล้ว เมื่อรัชกาลที่๑ โปรดให้เจ้าอินทวงศ์ไปครองเวียงจันทน์หลังจากเจ้านันทเสนสิ้นพระชนม์ที่กรุงเทพฯ ในปีพ.ศ.๒๓๓๘ ในระหว่างนี้เจ้าอนุวงศ์ผู้เป็นอนุชาได้แสดงความสามารถในการรบให้เป็นที่ประจักษ์ และทำความชอบให้กับสยามไม่น้อย จึงเป็นที่โปรดปรานของรัชกาลที่๑ ทั้งยังเป็นพระสหายกับเจ้าฟ้าฉิม(ต่อมาคือรัชกาลที่๒)