นอ เครื่องคํ้าของคูณแห่งลุ่มแม่นํ้าโขง

“คํ้าคูณ” หมายถึง เป็นมงคล หรือบังเกิดความสุขความเจริญ สิ่งใดที่มีแล้วเชื่อกันว่าจะนำมาซึ่งความเป็นมงคล ทำให้บังเกิดความสุขความเจริญแก่เจ้าของคนสองฝั่งแม่นํ้าโขงเรียก สิ่งนั้นว่า “เครื่องคํ้าของคูณ” ซึ่ง คุณพ่อ ปรีชา พิณทอง ปราชญ์แห่งเมืองอุบลราชธานีได้สาธยายเรื่องเครื่องคํ้าของคูณไว้ใน “สารานุกรมภาษา อีสาน-ไทย-อังกฤษ” ว่าเป็นสิ่งที่คนโบราณถือว่าใครมีไว้ในบ้านเรือนจะสมบูรณ์พูนสุขด้วยลาภยศ

บุญคูนลานเดือนยี่ : ทำนาปลูกข้าว บุญก็ได้หัวใจก็ม่วนซื่น

ครูคำมูนว่าคาถาตีข้าว อาคัจฉาหิ อภิชาตสหมมะ ว่า ๗ ครั้ง ตีข้าว ๗ หน จากนั้นเริ่มต้นคนแรก ใช้เครื่องมือจับมัดฟ่อนข้าวแล้วยกให้สูงเหนือหัว แล้วฟาดลงไปที่ลานข้าว ข้าวร่วงออกจากรวง ตีข้าวอยู่สองสามหนจนข้าวร่วงหมดจากมัดฟ่อนข้าวแล้ว คราวนี้ก็เป็นการโยนมัดฟ่อนข้าวไปเก็บกองไว้อีกที่ แล้วการละเล่นสนุกสนานก็เกิดขึ้น

“บักหุ่ง” – “ตำบักหุ่ง”

“บักหุ่ง ” พืชพื้นถิ่นแถบอเมริกากลางโน้นอพยพแพร่พันธุ์ไปทั่วโลก เพิ่งมาถึงเมืองไทยเมื่อยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี่เอง ครั้นเมื่อเดินทางถึงภาคอีสาน “บักหุ่ง” ผูกเสี่ยวกับปลาแดกแล้ว ไม่เคยแยกจากกันอีกเลย เป็นคู่ฮักแพงทุกมื้ออาหาร แถมเป็นของว่างได้ทั้งยามเช้ายันคํ่าคืนดึกดื่น

ที่ บ้ า น ก็ มี

บักน้อยจอมกะล่อน มันว่างงานอยู่บ้านกับพ่อเฒ่านมสองต่อสอง “พ่อเฒ่า...ช่วงนี้รถข้อยว่าง บ่ค่อยมีงานไปหากินเหล้า เว้าหยอกสาวน้อยกับข้อยบ่?” บักน้อยเอ่ย “ไปกินอยู่ไสล่ะ” เข้าทางพ่อเฒ่านมอีกแล้ว “ร้านหลบเมีย! ร้านนี้ลับตาคนดีมาก ผมเคยไปมาแล้ว มีสาวน้อยจากประเทศเพื่อนบ้านบางคนอ๊อฟได้เด้อ สิบอกให้...เฮามาพากันหลอยไป ดีไหม?”

พุทธศาสนาเข้าสู่อีสาน…ในตำนานอุรังคธาตุ

ในดินแดนอีสานปัจจุบัน มีการนับถือศาสนาที่หลากหลาย เนื่องจากมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมจากต่างถิ่น เพราะศาสนาเหล่านั้นล้วนมีต้นกำเนิดจากแดนไกล ที่ไหลบ่าเข้ามาแทนที่และซ้อนทับศาสนาผีดั้งเดิมที่มีอยู่ในแผ่นดินอีสาน ศาสนาที่ปักหลักมั่นและแพร่ขยายอย่างกว้างขวางคือ “พุทธศาสนา” จึงเป็นที่น่าสนใจว่า ตั้งแต่ยุคต้นพุทธกาลจนถึงหลังจากพุทธปรินิพพานเมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีก่อน ดินแดนอีสานและลุ่มแม่นํ้าโขงได้มีการซึมซับรับเอาพุทธศาสนาเข้ามาอย่างไร?

เชิญร่วม ทัวร์สายธารวัฒนธรรมฯอีศาน ครั้งที่ 2

เชิญร่วมทัวร์สายธารวัฒนธรรมฯอีศาน ครั้งที่ 2 *มหาสารคาม-กาฬสินธุ์-ร่วมงานสายธารวัฒนธรรมเพื่อชีวิตฯ* 28 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม 2562 (กำหนดการ/เส้นทางฉบับร่าง)
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com