พื้นสืบ
“พื้นสืบ” ในภาษาลาว หมายถึง เรื่องเล่าพื้นบ้าน มีเนื้อหาเล่าถึงประวัติของ บุคคล, เหตุการณ์, สถานที่, ชุมชน, บ้านเมือง ฯลฯ ดั้งเดิมเป็นวรรณกรรม “มุขปาฐะ” คือเรื่องเล่า ต่อมาเมื่อเริ่มมีการเขียนบันทึกเชิงประวัติศาสตร์ เนื้อหาของพื้นสืบถูกปรับปรุง ถูกตัดทอน ให้ดูเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ทางอีสานบ้านเรา เรียกวรรณกรรมประเภทนี้ว่า “หนังสือพื้น”
ฤกษ์งาม ยามดี : โลกเก่าที่เล่าซํ้าบนโลกใหม่
การแสดงจุดยืนด้วยท้องถิ่นนิยมที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในสังคมอีสานปัจจุบัน เช่น การรณรงค์อาหารอีสาน การเที่ยวเมืองอีสาน การรื้อฟื้นประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน ตลอดถึงการฟื้นฟูภูมิปัญญาอีสาน
ภูมิใจ
พ่อเฒ่าสีโห ผัวแม่เฒ่าสีกา ไทบ้านท่ามะโก มีลูกเขยชื่อว่า ทิดโท “บักทิดโท” มันเป็นคนดี มีสัมมาคารวะ อยู่ในกรอบของฮีตเก่าคองหลังบ่คือพ่อเฒ่าสีโห ซึ่งมีนิสัยมักม่วน หยอกผู้สาวสํ่าน้อย เว้าเล่นแกมอีหลี จนผู้คนชาวบ้านคึดว่าเรื่องมาจากปากพ่อเฒ่าสีโหนั้นเป็นความจริงไปทั้งหมด! ทั้ง ๆ ที่บางเรื่องไม่เป็นความจริงเหมือนที่แกว่าเลย
กลอนบทละคร (๑๕-๑๖)
บทพากย์ นางลอย ยุคอยุธยา เทียบกับพระราชนิพนธ์ ร.2 ขนบการประพันธ์ของไทยโบราณ ผู้ประพันธ์จะถ่อมตน บางเรื่องไม่แถลงนามผู้ประพันธ์ หลายเรื่องที่ลงท้ายเชิญให้ผู้ที่มีความสามารถสูงกว่าช่วยแก้ไขปรับปรุงให้ด้วย
ผู้หญิงแนวหลัง
ผู้หญิงแนวหลังที่ผมขอเอ่ยนามไว้ คือท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์ นางนิวาศน์ ศิริขันธ์ นางบังอร ภูริพัฒน์ นางทองคำ ดาวเรือง นางบุญทัน อุดล และ นางแตงอ่อน จันดาวงศ์ ภรรยาของ นายครอง จันดาวงศ์ ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และถูกประหารชีวิตโดยการยิงเป้าที่ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ผู้หญิงแนวหลังกลุ่มนี้ เป็นผู้หญิงอีสานทั้งหมด ยกเว้นท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์ ต้องมีชีวิตที่ต้องต่อสู้ความรู้สึกทั้งภายใน และภายนอก
กินข้าวป่า (๑)
“กินข้าวป่า” เป็นธรรมเนียม ประเพณีของชาวอีสานมาแต่โบราณ “กินข้าวป่า” คือการนัดแนะเปลี่ยนบรรยากาศไปกินข้าวนอกบ้านโดยจะนัดแนะกันในหมู่เพื่อนฝูงหนุ่มสาว หรือกลุ่มญาติ ๆ ไปจนถึงชุมชน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมาแต่ดึกดำบรรพ์ ทำให้สังคมชุมชนได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์ ร่วมกิจกรรมให้เกิดความสามัคคีผูกพันในหมู่คณะ ถ้าเปรียบสมัยนี้ก็เหมือนกับนัดกันไปกินข้าวนอกบ้าน หรือไปปิกนิกแบบชาวตะวันตก