ภาพจำลองอุตตรกุรุทวีปในพิธีศพชาวอีสาน
ประเพณีงานศพที่น่าสนใจในวัฒนธรรมชาวพุทธที่สะท้อนให้เห็นว่า เป็นการจำลองถึงพิธีศพอันเกิดในอุตตรกุรุทวีป อันเป็นดินแดนอุดมคติของมนุษย์ตามคติไตรภูมิ ที่จะนำมาเปิดผ้าม่านกั้งเรื่องราวการตายที่สัมพันธ์กับประเพณีของคนอีสานในครั้งนี้
นิทานหมู่บ้าน
คนหมู่บ้านอยู่กินกับดิน กับห้วยละหาน ภูเขาและป่าดง เบิกพงไพรเป็นไร่นา รอบบ้านปลูกพืชผักสวนครัว
อนุสรณ์รัฐธรรมนูญสุรินทร์
เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙ พลเมืองชาวสุรินทร์และจังหวัดใกล้เคียงจากหลากหลายอาชีพ ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ อันเป็นตัวอย่างหนึ่งของความตื่นตัวทางการเมืองและความกระตือรือร้นของพลเมืองอีสานที่จะเชื่อมโยงท้องถิ่นของตนเข้าสู่ระบอบใหม่
มุ่งสู่เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา
ช่องแคบซุนดาในค่ำคืนเดือนมืด ๒ ทุ่มกว่า ไม่เห็นแม้กระทั่งริ้วคลื่น หากทว่าแสงระยิบระยับจากเรือบางลำที่ยังคงสัญจรผ่านน่านน้ำแห่งนี้ ขับเน้นให้ภาพอดีตของเมืองยุคเรืองโรจน์ปรากฏฉายโชน ก่อนอาณาจักรศรีวิชัยจะกุมอำนาจและเคลื่อนเส้นทางข้ามสมุทรเชื่อมโลกเข้าด้วยกัน จาก “ช่องแคบซุนดา” สู่ “ช่องแคบมะละกา”
การบูชา “ฟ้าหลวง พูราหลวง” ของไทอาหม
พิธีกรรมสวดพูราหลวงนี้เป็นพิธีสาธารณะที่มีการชุมนุมกัน สวดขับร่วมกัน เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อฟ้าหลวงและเทพเจ้าทั้งปวงของชาวอาหม บางครั้งจัดขึ้นเพื่อเป็นการสวดต้อนรับบรรดาแขกคนสำคัญที่มาเยือนชุมชน และทำพิธีสวดเรียกขวัญ ให้พร กระทำพิธีขึ้นที่อาคารทรงแปดเหลี่ยมที่เรียกว่า “หอผี”
การส่งส่วยในภาคอีสาน
การส่งส่วย คือ การส่งภาษีของไพร่หลวงที่อยู่ห่างไกลเมืองหลวงให้รัฐบาลนั่นเอง ภาคอีสานมีความสำคัญต่อรัฐบาลมากที่สุดในการส่งส่วย เพราะมีเมืองที่ส่งส่วยมากที่สุดในประเทศ กล่าวคือมีถึง ๗๒ เมือง ในขณะที่ภาคกลางมี ๓๗ เมือง ภาคตะวันออก ๑๕ เมือง ภาคใต้ ๑๒ เมือง ภาคตะวันตก ๘ เมือง ภาคเหนือ ๖ เมือง (สุวิทย์ ธีรศาศวัต ๒๕๔๘:๑๒๖)