ภาพที่วาดไม่เสร็จ
ภาพของข้า, ทาสีดำทับท้องฟ้า ทับทะเลเหมือนคาดตา, ให้หลับใหล
ตัดเส้นขอบฟ้า, กรีดเส้นขอบน้ำ ให้ความมืดร่ายรำ, ไปตามใจ ทาสีดำทับทุ่งนา, ท้องถนน ทับหมู่บ้าน, ตำบล, ทับต้นไม้ ทับอำเภอ, ทับเมือง, ทับประเทศ ทับไปทั่ว อาณาเขต, ทุกเคลื่อนไหว ไม่มีสีแสงให้แรงเงา ความมืดเล่าความเขลา, ให้เข้าใจ
เมื่อม้ากัณฐกะไม่ได้มีสีขาวปลอดและม้าเฝ้าอุรังคธาตุน่ะมีสี
ม้าและมนุษย์มีความผูกพันกันมากว่า ๕,๐๐๐ ปีแล้ว ในวรรณกรรมต่าง ๆ ม้ายังเป็นตัวละครที่ช่วยเสริมอรรถรสด้วย เห็นในแต่ละเรื่องมีอภินิหารเป็นสุดยอดอาชาที่เก่งกล้าสามารถ แต่ก็ใช่ผู้แต่งจะเขียนบรรยายลักษณะกันเรื่อยเปื่อยนะ เชื่อไหมว่าเขามีการอ้างอิงตำราไม่ต่างจากนักเขียนนิยายสมัยใหม่เลยเชียว ตำราที่ว่านั่นคือ “ตำราม้าของเก่า” และ “ตำราม้าคำโคลง”
ดอกขะเจียวจากโคกขี้แลน ตอนที่ 9
วันหนึ่ง, เมื่อคณะของหลวงสากลกิจฯเสร็จการตรวจตราการทำแผนที่แล้วเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ แต่ฉันยังมีคำสั่งให้ช่วยพระยอดเมืองขวางทางด้านนี้อยู่ หมื่นประจักษ์สนิทนึกก็ชักชวนฉันขึ้นท่าที่เมืองนครพนม
“ผมรู้ว่าท่านห่างบ้านห่างครอบครัวมานานชวนไปแสวงหาความสำราญคงไม่ว่าอะไร?”
“จะว่าอะไรได้” ฉันบอก “นั่งดื่มเหล้าเว้าความลาวแล้วเมาหลับไป ทำกันอยู่บ่อย ๆ”
“หามิได้ขอรับ บริวารผมที่นครพนมมีความสำราญอย่างใหม่”
“บอกได้มั้ย ว่าความสำราญนั้นเป็นอย่างใด?”
“ท่านต้องไปพิสูจน์ด้วยตัวท่านเองขอรับ”
มังมูน บุญข้าว : เสาค้ำวัฒนธรรมอีสาน
มนุษย์ที่อาศัยในแผ่นดินอีสานค้นพบข้าวป่าและนำมาเป็นอาหาร จากยุคเก็บหาจนสามารถนำมาเพาะปลูกในผืนนาที่จัดการระบบนํ้าอย่างชาญฉลาด บนเส้นเวลาทอดยาวกว่าหมื่นปีที่วิถีข้าวและวิถีคนปรับปนจนเป็นเนื้อเดียวกัน ผูกพันก่อเกิดเรื่องราวของการผลิต การแปรรูป ความเชื่อ และประเพณี ที่สะท้อนถึงความสมบูรณ์มั่งคั่งโดยมีข้าวเป็นแก่นสารของการก่อเกิดวัฒนธรรม
โอ้ นารายณ์ขายาวผู้ลือเลื่อง
ในตำนานอุรังคธาตุ เล่าว่าเมื่อพระมหากัสสปะอัญเชิญพระอุรังคธาตุมา
จากอินเดีย พระยาสุวรรณภิงคารประสงค์จะขอแบ่งพระธาตุมาบ้าง จึงมีกุศโลบายชักชวนราษฎรชายและหญิง สร้างปราสาทแข่งกัน ของ
ใครเสร็จก่อนจะได้เป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ ฝ่ายชายจึงสร้างปราสาทภูเพ็กขึ้นแข่งกับฝ่ายหญิงที่สร้างปราสาทนารายณ์เจงเวง
ลั บ มี ด
“วันอาทิตย์ อย่าได้เข่นพร้า ตีหอก หลาวแหลน มันสิกลายเป็นผี พากโพย ฟันเจ้า” นั่นก็หมายความว่า ของมีคมทุกประเภท ไม่ควรจัดซื้อจัดหาในวันอาทิตย์ เพราะจะเกิดภัยแก่ผู้ใช้เอง ...