เนียง ด็อฮ ทม นางนมใหญ่
ตำนานเรื่อง “เนียง ด็อฮ ทม” (นางนมใหญ่) แพร่หลายอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ มีนิทานเกี่ยวกับนางนมใหญ่ (ด็อฮ ทม หรือ เดาะทม) อยู่สองเรื่อง คือเรื่องเกี่ยวกับเมืองภูมิโปน กับเรื่องเกี่ยวกับเมืองสุรพินทนิคม เดือนนี้ขอเล่าเรื่องแรกก่อนครับ
น่าเสียดายที่ผู้คนผ่านไปผ่านมาทางสุรินทร์โดยไม่รู้ว่า ที่อำเภอสังขะมีโบราณสถานปราสาทวัฒนธรรมเจนละที่เก่าแก่ที่สุดในดินแดนไทยตั้งอยู่ นั่นคือปราสาทภูมิโปน
เพลงรำโทน มาจนถึงเพลงรำวง
กลองโทนของภาคอีสานที่ใช้กันประจำมีอยู่ ๒ แบบ ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หนังหน้ากลองจะใช้หนังวัว โทนชนิดนี้เวลาตีจะมีเสียงดังแน่นและเป็น ที่นิยมใช้ เพราะใช้ได้ทนนานคุ้มค่า
นิทานประจำถิ่น ปาจิต อรพิม และฉบับตำนานเมืองพิมาย [๓]
คำว่า ปาจิต อรพิม เป็นคำที่ผู้เขียนเลือกใช้เพื่อแสดงความเป็นกลาง ท่ามกลางความหลากหลายของการสะกดชื่อตัวละครเอกของนิทานเรื่องนี้ ในปัญญาสชาดก เรียก พระปาจิตตนางอรพิมพ์ ในวรรณกรรมคำกลอน เรียก พระปาจิตต นางออระภิม
ฝูงซอมบี้ ฟุตปาธ ชะตากรรม
หยดหยาดเข้มข้นนั้น
ไหลหลั่งลงมาจากใบหน้าฉัน
สีแดงไม่ต่างจากสีแดงของแถบสีขาวแดง
ของสัญญาณห้ามจอดที่ทาไว้ขอบฟุตปาธ
ตรงที่หน้าฉันถูกกระแทกอย่างแรง
ของชิ้นเอกเมืองอุบลฯ
ผมควรจะเขียนเรื่องนี้ก่อนเป็นปฐมแต่ก็ไม่ได้เขียน เพราะไปเขียนเรื่องของชิ้นเอกแต่ละชิ้นแต่ละแห่งของเมืองอุบลฯ ที่ตัวเองชอบชื่นชม ตระเวนไปแบบไร้ระบบ คิดถึงที่ไหนก็ไปที่นั่น แยกแยะกันไปตามความชอบ บางแห่งก็ผ่านเลยไปในขณะที่มันมีความสำคัญมากมากซึ่งต้องดูก่อนที่อื่นอื่นเพื่อความเข้าใจและสะดวกในการติดตาม แต่ผมก็ไม่ได้ทำกลับพาไปดูงานศิลปกรรมอันลํ้าค่าทางความงามอย่างตามใจตัวเอง ที่มาเขียนเรื่องของชิ้นเอกเมืองอุบลฯ ตามหลังนี่ก็เพราะคิดถึงความงามของชิ้นงานอันสำคัญที่พาผมให้รู้จักบ้านเกิดตัวเองดีขึ้น
ศีลธรรมกับวัฒนธรรม
ศีลธรรม ในคำวัดหมายถึง เบญจศีล และเบญจธรรม คือ ศีล ๕ และธรรม ๕ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมระดับต้นสำหรับให้สมาชิกสังคมประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบสุข ไม่สะดุ้งกลัว ไม่หวาดระแวงภัย เป็นหลักประกันสังคมที่สำคัญสังคมที่สงบสุข ไว้วางใจกันได้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันไม่เบียดเบียน ไม่ทะเลาะ ไม่กดขี่ข่มเหง ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นต้น ก็เพราะสมาชิกของสังคมยึดมั่นอยู่ในหลักศีลธรรมนี้
ขี้เมากับขอทาน
ณ วงเหล้าที่ร้านข้าวต้มแห่งหนึ่ง เวลาประมาณ ๖ ทุ่ม ขี้เมา ๔-๕ นาย กำลังรํ่าสุรากันอย่างสนุกสนาน ขณะนั้น ก็มีชายขอทานคนหนึ่งเข้ามายกมือไหว้ พร้อมกับกล่าวว่า
ขอทาน “อ้ายครับ ผมขอเงินแหน่คับ จั๊ก ๒๐ บาท”
ขี้เมา “โตสิเอาเงินไปเฮ็ดอิหยัง”
ขอทาน “ตั้งแต่เช้า ผมบ่ทันได้กินข้าวเลยครับ ผมสิขอเอาไปซื้อข้าวกิน”
ขี้เมา “โตบ่ต้องเอาเงินดอก บักหล้า เอาเก้าอี้มานั่ง มากินเหล้ากินข้าวกับอ้ายโลด...มานั่ง ๆ ”
ขอทาน “บ่ดอกครับ ตั้งแต่เกิดมา ผมบ่เคยกินเหล้าเลยครับ”