จากอีสานถึงเอมีเลีย
ทางเลือกเพื่อการเกษตรมีหลายทาง อีสานมีปราชญ์ชาวบ้านมากมายที่ทำการเกษตรเพื่อการพึ่งตนเองไว้เป็นแบบอย่าง ตั้งแต่พ่อมหาอยู่สุนทรธัย พ่อเชียง ไทยดี ที่สุรินทร์ คุณสุทธินันท์ปรัชญพฤทธิ์ คุณคำเดื่อง ภาษี และอีกหลายคนที่บุรีรัมย์ และในทุกจังหวัดในภาคอีสาน
ของขวัญหน้าฝน
อ่อมปูนา เป็นอาหารเรียบง่ายประจำท้องถิ่นของคนอีสาน สามารถหามาได้จากแหล่งน้ำในนาข้าวช่วงต้นฤดูฝน โดยมีนางเอกของงานคือ
ปูนา อ่อมปูนา อาหารพื้นบ้านประจำท้องถิ่นอีกจานหนึ่งที่อยากนำมาเสนอในเล่มนี้
น้ำเต้า
“วัฒนธรรม” ก่อกำเนิดมาจากวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งมีรูปแบบการผลิตเป็นตัวหลัก คนเราทำมาหากินอย่างไร วัฒนธรรมก็งอกเงยจากสภาวะนั้น
ชนเผ่าในอาเซียนเลี้ยงชีพด้วยการเพาะปลูกข้าวเป็นหลัก
“มา นา เด้อ” : ร้านกาแฟเทรนใหม่ชานเมืองดอกบัว
มาเด้อ มาจิบกาแฟกลางทุ่งนากันเด้อ! คำเชิญชวนจากมิตรสหายของผู้เขียนหลายครั้งผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ทีแรกผู้เขียนก็อดสงสัยไม่ได้ว่า “ไปทานกาแฟอะไรกันที่กลางทุ่งนา ทำไมไม่ทานในห้องแอร์เย็น ๆ เหมือนที่คนในสังคมเมืองเขาทำกัน” แต่พอมาถึง ความคิดของผู้เขียนกลับเปลี่ยนไปในทันที กลิ่นดินและโคลน สาบควายที่หลายคนคิดถึง ในวันนี้บรรยากาศเหล่านั้นได้กลายมาเป็นคาเฟ่สุดชิคที่มีบรรยากาศชวนให้คิดถึงในวัยเด็กกันแล้ว
ทำไมจึงมีพิธีบวงสรวงเสาเอกบ้าน (เสาขวัญ) และแตดหอย
รุ่งเช้าจารย์สีทองก็ไปหาไม้ไผ่มาสานไซ (เครื่องมือดักสัตว์น้ำเป็นปลาขนาดเล็ก ใช้งานในแหล่งน้ำไหลไม่ลึก ตรงช่องระบายน้ำเข้าออกตาม
ห้วย บึง ลำคลอง คันนา) และหากวักเตรียมไว้ (กวัก คืออุปกรณ์กรอด้ายสมัยโบราณ) ภรรยาจึงถามว่า “พ่อไม่ปลูกเรือนหรือวันนี้ไหนว่าจะปลูกบ้านวันนี้ล่ะ...?” จารย์สีทองบอกภรรยาว่า “ไม่... วันนี้ยังไม่ปลูกดอก นอนเมื่อคืนนี้ได้ฝันว่า พระอินทร์ท่านได้
มาบอกวิธีปลูกบ้านใหม่แล้ว ท่านบอกว่าให้สานไซและหากวักเอาไว้ที่เสาแรกเสาขวัญก่อน ความเป็นมงคลจึงเกิดกับผู้อยู่อาศัยในเรือนหลังนี้ เคารพและเชื่อไว้ก่อนก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร”
ดอกขะเจียวจากโคกขี้แลน ตอนที่ 7
นายจำรัส ดนัยมนัสราษฎร์ เปิดบันทึกจางวางดนัยมนัสราษฎร์อ่านต่อไปแบบวางไม่ลง ท่านเจ้าคุณปู่ได้วางโครงวางแนวไว้ชวนติดตามแทรกเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ พร้อมทั้งวิเคราะห์และวิจารณ์อย่างผู้ทรงภูมิรู้ เมื่อเอาข้อความของผู้ใดมาจะบอกไว้ว่าอ้างอิงจากหนังสือเล่มนั้นและเล่ม
นี้ แสดงให้เห็นว่าท่านเป็นผู้เคารพผู้อื่น ถ้าอ้างถึงคนอื่นว่ากล่าวถ้อยร้อยความอย่างใด ท่านก็จับใจความ
มาแต่เฉพาะความจริง ไม่ใช่นำมาตีไข่ใส่น้ำทำให้เลอะเทอะเปรอะเปื้อนและเป็นเท็จ แสดงให้เห็นว่าท่านเป็นผู้มีความเป็นธรรม จึงรักษายุติธรรมไว้ได้