นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 129
"ยิ้มรับปีใหม่ ๒๕๖๖"
นิตยสาร “ทางอีศาน” ปีที่ ๑๑
ฉบับที่ ๑๒๙ ประจำเดือนมกราคม ๒๕๖๖
ภาพปก : ไพบูลย์ ธรรมเรืองฤทธิ์
#บทเรียนชีวิต (บทที่ ๒) ฉบับที่ ๑๔ ท่าแร่
พ่อคิดว่า งานวัฒนธรรมควรให้ผลทางจิตใจแก่ชุมชน แก่คนที่ไปเยือนมากกว่าเพื่อแสดงความอลังการของงานที่อ้างงว่าเป็นศิลปวัฒนธรรม ก็ดูแต่การจัดการแห่ดาวก็ให้คนเดินตามรถที่ประดับประดาด้วยดาวและดอกไม้ ปีหนึ่งเห็นมีหญิงสาวแต่งตัวสวยงามนั่งมาคนเดียว คล้ายกับขบวนแห่ในงานบุพชาติ งานสงกรานต์
#บทเรียนชีวิต (บทที่ ๒) ฉบับที่ ๑๓ ท่าแร่
ภาษา คำพูด มีอำนาจ กำหนดภาพลักษณ์ คุณค่า ความหมาย เมื่อได้ยินคำว่า “ท่าแร่” คนมักคิดถึงเนื้อสุนัข เหมือนคนเยอรมันสมัยก่อนที่พูดคำว่า “สาวไทย” (Thai Maedchen) ก็คิดถึงหญิงบริการ เพราะภาพลักษณ์เป็นเช่นนั้น หรือวันนี้คำว่า “หมอนวด” คนยังคิดถึงหญิงบริการในที่ “อาบ อบ นวด” แม้ว่ามีคนนวดแผนโบราณที่ไม่ได้เป็นแบบนั้นทั่วไปในสังคม
#บันทึกชีวิต (บทที่ ๒) ฉบับที่ ๑๒ ท่าแร่
ฉบับที่แล้วเล่าไปไกลเพราะล้วนเกี่ยวพันกันไปหมด คณะมิซซังต่างประเทศกรุงปารีสประจำอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาและภาคกลาง เมื่อปี 1881 ได้เดินทางไปอีสาน ขี่ม้าไปถึงโคราช แล้วนั่งเรือล่องแม่น้ำมูลไปถึงอุบลฯ ปี 1883 ล่องแม่น้ำโขงขึ้นไปถึงนครพนม แล้วต่อมาไปที่สกลนคร เพราะได้ข่าวว่ามีคนเวียดนามที่เป็นคริสต์จำนวนหนึ่งขอให้ไปตั้งวัดที่นั่น
#บทเรียนชีวิต (บทที่ ๒) ฉบับที่ ๑๑ ญาติพี่น้อง
จดหมายฉบับที่แล้ว พ่อพูดถึงรากเหง้ากับคีรีวง ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกันมาก อยากเล่าให้ฟังเพื่อจะได้เป็นพื้นฐานในการเข้าใจว่า ทำไมพ่อจึงอยากเขียนถึงท่าแร่ บ้านเกิดของพ่อ
#บทเรียนชีวิต (บทที่ ๒) ฉบับที่ ๑๐ ญาติพี่น้อง
พูดถึงญาติทางปู่จำนงค์ไปแล้ว ทางด้านของย่าคำปุนนั้น ญาติพี่น้องของทวดหนูนาที่สกลนครมีมากก็จริง แต่เราก็ไม่ได้สนิทกับใคร เพราะไม่ได้มีความสัมพันธ์หรือติดต่อกันมาตั้งแต่ต้น เคยมี พล.ต.ต.ชาติชาย อุปพงษ์เท่านั้น เพราะนามสกุลอุปพงษ์กับศรีวรกุลเป็นลูกหลานเจ้าเมืองสกลนครเหมือนกัน