ปิดเล่ม ทางอีศาน 125
บรรยากาศการเมืองช่วงหนึ่งเดือนกว่านี้ จากวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๕ ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องเพื่อวินิจฉัยเวลาการทำงานของนายกรัฐมนตรีว่าครบ ๘ ปีหรือยัง ไปจนถึงภายในเดือนกันยายน ๒๕๖๕ เรียกได้ว่าอยู่ในภาวะแย่งยื้อไขว่คว้าอำนาจนำของกลุ่มฝ่ายต่าง ๆ
นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 126
“สมคิด สิงสง ๖ รอบวงปีนักษัตร กึ่งศตวรรษคนกับควาย” นิตยสาร “ทางอีศาน” ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๒๖ ประจำเดือนตุลาคม ๒๕๖๕ ภาพปก : สมคิด สิงสง
ภ า ษ า : มงกุฎวัฒนธรรม
ภาษาคือสุดยอดการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมของผู้คน ในแต่ละยุคแต่ละชุมชนทางการค้าผู้คนจากหลากหลายเผ่าพันธุ์จะรับรองใช้ภาษาหลักสื่อสารร่วมกัน เจ้าอาณานิคมเข้าครอบครองแผ่นดินใดได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดก็ด้วยการลบกลืนภาษาถิ่นนั้นให้สิ้นซาก อารยชนใดด้อยค่าปล่อยทิ้งภาษาของตนก็จะเป็นเช่นผงธุลีที่ปลิวคลุ้งให้คนต่างด้าวท้าวต่างแดนเข้าเหยียบย่ำ
คำนำสำนักพิมพ์ – เสบียงความคิดฝัน
เรื่องราวของชีวิต ความคิด จินตนาการ แบบอย่างปฏิบัติของมนุษย์ที่เกิดมารุ่นแล้วรุ่นเล่าบนโลกนี้ ล้วนแต่เป็นบทเรียนชีวิตสอนชีวิตที่แท้จริง
“ข้ามภพ ข้ามชาติ ข้ามศาสตร์ ข้ามตัวบท” : เต้าตามทางอาจารย์ชลธิรา เรียนรู้วิธีวิทยาการศึกษาใน มหากาพย์ชนชาติไท บรรพสอง (3) – ธัญญา สังขพันธานนท์
งานสืบค้นความเป็นมาของชุมชนคนไท/ไต ไม่เพียงแต่นำเสนอให้เห็นวิธีการศึกษาแบบสหวิทยาการและบูรณาการของหลักคิดและองค์ความรู้แบบข้ามศาสตร์ข้ามสาย แต่ยังแสดงให้เห็นถึงการใช้เครื่องมือ (tool) และวิธีวิทยาสำคัญ ๆ ของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องซึ่งถูกคัดเลือกและระดมมาใช้ศึกษา วิเคราะห์ ตีความตัวบทประเภทต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายชัดเจนในการตอบคำถามและสร้างมุมมอง/องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับรกราก ความเป็นมาของชนชาติไท
จากใจสำนักพิมพ์แม่คำผาง
เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา คุณทองแถม นาถจำนง ได้พบหนังสือ “ทิพยนิมิต” ฉบับร้อยกรองบทละคร ประพันธ์โดย พลอากาศตรี นายแพทย์ทิพย์ นาถสุภา และเมื่อมีโอกาสจึงนำไปมอบให้อาจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ผู้เป็นบุตรคนเดียวของผู้ประพันธ์ พร้อมทั้งขออนุญาตจัดพิมพ์ อาจารย์ฉัตรทิพย์ดีใจมากที่คุณทองแถมเห็นคุณค่า ประกอบกับท่านกำลังจะจัดพิมพ์หนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงอาจารย์ฉลวย นาถสุภา ผู้เป็นมารดา จึงขอจัดพิมพ์หนังสือ “ทิพยนิมิต” เอง เป็นหนังสือแจกเล่มหนึ่งในงานนั้น